ตัวกรองผลการค้นหา
นิคหิต
หมายถึง[นิกคะหิด] (โบ) น. ชื่อเครื่องหมายรูปดังนี้ ํ ในภาษาบาลีและสันสกฤตมีเสียงอ่านเหมือนตัว ง และ ม สะกด ในภาษาไทยก็อนุโลมใช้ตาม เช่น จํหัน อ่านว่า จังหัน อ่านว่า ชุมนุม, นฤคหิต หรือ หยาดนํ้าค้าง ก็เรียก. (ป. นิคฺคหีต; ส. นิคฺฤหีต).
ปรัสสบท
หมายถึง[ปะรัดสะบด] น. “บทเพื่อผู้อื่น”, ในตำราไวยากรณ์บาลีและสันสกฤตใช้เป็นเครื่องหมายให้ทราบว่าเป็นกริยากัตตุวาจก เช่น สูโท โอทนํ ปจติ = พ่อครัวหุงอยู่ซึ่งข้าวสุก ปจติ เป็นกริยาปรัสสบท, ตรงข้ามกับ อัตตโนบท.
ทุ่น
หมายถึงน. สิ่งที่ลอยนํ้าสำหรับให้สิ่งอื่นเกาะหรือเพื่อพยุงสิ่งอื่นให้ลอยนํ้า เช่น ทุ่นแพ ทุ่นทอดสะพาน หรือสำหรับเป็นที่ผูกจอดเรือ เช่น ทุ่นสมอ หรือสำหรับเป็นเครื่องหมายในการเดินเรือ เช่น ทุ่นนำร่อง, โดยปริยายหมายถึงพยัญชนะ อ ที่เป็นทุ่นให้สระเกาะ เช่น อา อี อู. ก. ผ่อนหรือช่วยให้สิ้นเปลืองน้อยลง เช่น ทุ่นแรง ทุ่นเวลา ทุ่นสตางค์.
เข็ม
หมายถึงน. เหล็กแหลมใช้เย็บผ้าเป็นต้นหรือกลัดสิ่งของ, ของอื่น ๆ ที่มีรูปร่างคล้ายเข็ม เช่น เข็มนาฬิกา เข็มฉีดยา; ไม้ที่เสี้ยมให้แหลมหรือวัตถุอื่นที่มีลักษณะเช่นนั้นสำหรับฝังเป็นรากสิ่งก่อสร้างกันทรุด, เสาเข็ม ก็ว่า; เครื่องประดับสำหรับกลัดเป็นเครื่องหมาย เช่น เข็มข้าหลวงเดิม; โดยปริยายหมายความว่า จุดมุ่งหมาย เช่น ตั้งเข็มชีวิต.
จุด
หมายถึงน. รอยหรือแต้มที่มีลักษณะกลม ๆ ปรากฏที่ผิวพื้น; ขีด, ระดับ, ขั้น, เช่น จุดเดือด จุดเยือกแข็ง, ที่ เช่น จุดหมาย จุดประสงค์; ประเด็นสำคัญของเรื่องที่พูดหรือถกเถียงกันเป็นต้น เช่น พูดไม่ถูกจุด ตอบไม่ตรงจุด. ก. ทำเครื่องหมายเช่นนั้น เช่น เอาปลายดินสอจุดไว้; ทำให้ไฟติด เช่น จุดบุหรี่ จุดไฟ.
อาขยาต
หมายถึง[-ขะหฺยาด] ว. กล่าวแล้ว. น. ชื่อคำกริยาประเภทหนึ่งในไวยากรณ์บาลีและสันสกฤต ประกอบด้วย ธาตุ วิภัตติ กาล บท พจน์ บุรุษ วาจก ปัจจัย เพื่อเป็นเครื่องหมายบอกเนื้อความให้ชัดเจน เช่น กโรติ = ย่อมกระทำ ประกอบด้วย กรฺธาตุ ติวิภัตติ ปัจจุบันกาล ปรัสสบท เอกพจน์ ปฐมบุรุษ กัตตุวาจก โอปัจจัย. (ป., ส.).
ตีนกา,ตีนกา,ตีนครุ
หมายถึง[-คฺรุ] น. ชื่อเครื่องหมายรูปดังนี้ + สำหรับบอกจำนวนเงิน เส้นดิ่งข้างบนเป็นหลักชั่ง เส้นดิ่งข้างล่างเป็นหลักไพ มุมบนด้านซ้ายเป็นหลักตำลึง มุมบนด้านขวาเป็นหลักบาท มุมล่างด้านซ้ายเป็นหลักเฟื้อง มุมล่างด้านขวาเป็นหลักสลึง เช่น อ่านว่า ๕ ชั่ง ๔ ตำลึง ๓ บาท ๒ สลึง ๑ เฟื้อง ๒ ไพ, เฉพาะจำนวนตำลึง บาท สลึง เฟื้อง อาจเขียนย่อแต่เพียงมุมใดมุมหนึ่งที่ต้องการก็ได้ เช่น = ๔ ตำลึง = ๓ บาท = ๒ สลึง = ๑ เฟื้อง, ปัจจุบัน แพทย์แผนโบราณยังใช้เครื่องหมายตีนกาหรือตีนครุเป็นมาตราชั่งเฉพาะที่เกี่ยวกับเครื่องยาเท่านั้น.
นักษัตร
หมายถึง[นักสัด] น. ชื่อรอบเวลา กำหนด ๑๒ ปี เป็น ๑ รอบ เรียกว่า ๑๒ นักษัตร โดยกำหนดให้สัตว์เป็นเครื่องหมายในปีนั้น ๆ คือ ชวด-หนู ฉลู-วัว ขาล-เสือ เถาะ-กระต่าย มะโรง-งูใหญ่ มะเส็ง-งูเล็ก มะเมีย-ม้า มะแม-แพะ วอก-ลิง ระกา-ไก่ จอ-หมา กุน-หมู.
เสากระโดง
หมายถึงน. เสาสำหรับกางใบเรือ, เสาในเรือเดินทะเลใหญ่ ๆ ที่ไม่ใช้ใบเช่นเรือรบ สำหรับติดไฟ ธงเครื่องหมาย ธงสัญญาณ และธงรหัสต่าง ๆ ติดเรดาร์ ติดเสาอากาศสำหรับรับส่งคลื่นวิทยุ บนยอดเสามีรังกาเป็นที่สำหรับยามยืนเฝ้าตรวจสิ่งต่าง ๆ มีข้าศึก หินโสโครก เรืออื่น ๆ เป็นต้น.
รหัส
หมายถึง[-หัด] น. เครื่องหมายหรือสัญญาณลับซึ่งรู้เฉพาะผู้ที่ตกลงกันไว้, ข้อความที่เปลี่ยนตัวอักษรอื่นแทนอักษรที่ต้องการจะใช้ หรือสลับตำแหน่งอักษรของข้อความนั้น หรือใช้สัญลักษณ์แทน เป็นต้น ซึ่งรู้กันเฉพาะผู้ที่รู้เกณฑ์การเปลี่ยนแปลงนั้น ๆ, ระบบสัญลักษณ์ที่ใช้ในเครื่องมือเครื่องใช้อย่างกุญแจหรือตู้นิรภัยเป็นต้น เช่น เลขรหัสบัตรเครดิต. (ป. รหสฺส; ส. รหสฺย).
เปอร์เซ็นต์
หมายถึงน. จำนวนที่เทียบเป็นส่วนร้อยหรือร้อยละ, การคิดเทียบเป็นส่วนร้อย เรียกว่า ร้อยละ หรือ ต่อร้อย ใช้เครื่องหมาย % แทน เช่น นักเรียนโรงเรียนนี้สอบได้ ๗๐ % คือ สอบได้ ๗๐ คน จากจำนวนนักเรียนทั้งหมด ๑๐๐ คน เด็กคนนี้สอบได้ ๘๐ % คือ ได้คะแนน ๘๐ คะแนน จากคะแนนเต็ม ๑๐๐ คะแนน; (ปาก) ค่านายหน้า, ค่าตอบแทนในการติดต่อซื้อขายเป็นต้น, เช่น ได้เปอร์เซ็นต์ ให้เปอร์เซ็นต์.
ส่ง
หมายถึงก. ทำให้สิ่งใดสิ่งหนึ่งเคลื่อนพ้นจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง เพื่อให้ถึงผู้รับหรือเป้าหมายด้วยอาการต่าง ๆ กัน เช่น ส่งข้าม ส่งผ่าน ส่งต่อ; หนุน ดัน หรือเสริมให้สูงขึ้น เช่น คนอยู่ข้างล่างช่วยส่งก้นคนข้างบนให้ปีนพ้นกำแพง ติดไม้ปั้นลมส่งหลังคาเรือน; แสดงอัธยาศัยในเมื่อมีผู้จะจากไป เช่น ไปส่ง เลี้ยงส่ง; อาการที่ส่งเครื่องหมาย ข้อความ ข่าวสาร หรือภาพ เป็นต้น ไปให้อีกฝ่ายหนึ่งโดยอาศัยกรรมวิธีต่าง ๆ เช่น ส่งสัญญาณ ส่งรหัส ส่งโทรเลข ส่งวิทยุ ส่งโทรภาพ.