ค้นเจอ 315 รายการ

กลอง

หมายถึง[กฺลอง] น. ชื่อเพลงชนิดหนึ่งเป็นเพลงแขก ใช้ปี่ชวาและกลองแขก ทำนองเล่นกระบี่กระบอง ที่เรียกว่า สะระหม่า, ทำตอนที่เล่นกีฬาท่าต่าง ๆ มีรำดาบ รำง้าว เป็นต้น เรียกว่า เพลงกลองแขก ก็ได้, อีกอย่างหนึ่งเมื่อรำเป็นท่ามลายู ซึ่งเรียกว่า สะระหม่าแขก ใช้เพลง เรียกว่า กลองมลายู เครื่องและทำนองอย่างเดียวกับเพลงกลองแขก แต่ในตอนนี้รำกริช.

เกริ่น

หมายถึง[เกฺริ่น] ก. บอกข่าวให้รู้ล่วงหน้า เช่น เกริ่นข่าว, อาการที่ฝ่ายชายร้องนำในเพลงพื้นเมือง เช่น เพลงฉ่อย เพลงเกี่ยวข้าว เพื่อเชื้อเชิญฝ่ายหญิงให้ร้องตอบ; ร้องหา, เรียกหา, เช่น นกเขาขันเกริ่น ผีกู่เกริ่น.

ลูกหมด

หมายถึงน. เพลงสั้น ๆ จังหวะเร็ว บรรเลงต่อท้ายเพลง ๓ ชั้นเป็นต้น แสดงว่าจบการบรรเลงชุดนั้น ๆ เรียกว่า ลูกหมดคือจบหรือหมดไปชุดหนึ่ง.

กำปอ

หมายถึงน. ชื่อเพลงเขมรชนิดหนึ่ง เรียกว่า เขมรกำปอ. (วิวาห์พระสมุทร).

ตะนาว

หมายถึงน. ชื่อเพลงไทยจำพวกหนึ่ง มีชื่อขึ้นต้นด้วยคำว่า ตะนาว เช่น ตะนาวแปลง.

ปีน

หมายถึงน. ชื่อเพลงที่ขึ้นต้นด้วยคำ ปีน เช่น ปีนตลิ่งนอก ปีนตลิ่งใน.

สังคีต

หมายถึง[-คีด] น. การร้องรำทำเพลง เช่น สังคีตศิลป์. (ป.; ส. สํคีต).

ฟังได้

หมายถึงว. พอเชื่อถือได้ เช่น ที่พยานให้การมานั้นฟังได้, ไม่ขัดหู เช่น เพลงไพเราะพอฟังได้.

ฉ่า

หมายถึงว. เสียงนํ้ามันเดือดเมื่อเวลาทอดของ; เสียงลูกคู่เพลงร้องรับจังหวะพ่อเพลงแม่เพลง; เสียงอื้ออึง เช่น จะชุมฉ่าชายจะมาก. (ม. ร่ายยาว ชูชก); เสียงนํ้าดังเช่นนั้น เช่น พรายสายชลฉ่าเพียง สินธุ์สวรรค์. (เฉลิมพระเกียรติพระนารายณ์).

ปะวะหลิ่ม

หมายถึงน. ชื่อเพลงไทยทำนองหนึ่ง, บหลิ่ม ปลิม ปลิ่ม ประหลิ่ม ปะหลิ่ม หรือ มะหลิ่ม ก็ว่า.

ปะหลิ่ม

หมายถึงน. ชื่อเพลงไทยทำนองหนึ่ง, บหลิ่ม ปลิม ปลิ่ม ประหลิ่ม ปะวะหลิ่ม หรือ มะหลิ่ม ก็ว่า.

ลูกตอด

หมายถึงน. การบรรเลงที่ทำเสียงกระตุกสั้น ๆ สลับจังหวะทำนองเพลง.

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ