ตัวกรองผลการค้นหา
ตัวคูณร่วมน้อย
หมายถึงน. จำนวนเต็มบวกที่มีค่าน้อยที่สุดซึ่งนำไปหารด้วยจำนวนเต็มบวกอื่น ๆ ตั้งแต่ ๒ จำนวนขึ้นไป แล้วจะได้ผลลัพธ์ลงตัวพอดี เช่น ๗๐ เป็นตัวคูณร่วมน้อยของ ๑๔ และ ๓๕, ใช้อักษรย่อว่า ค.ร.น.
กมล
หมายถึงน. ชื่อฉันท์วรรณพฤติ กำหนดด้วย ๔ คณะสลับกัน คือ ส คณะ ย คณะ ส คณะ ย คณะ (ตามแบบว่า กมลาติ เณยฺยา สยเสหิ โย เจ) ตัวอย่างว่า จะวิสัชนาสาร พิสดารก็หลายเลบง เรียกว่า กมลฉันท์ หรือ กมลาฉันท์. (ป. ว่า นางงาม; ส. ว่า พระลักษมี).
กบเต้น
หมายถึงน. ชื่อเพลงไทยร้องรำ ๒ ชั้นสมัยกรุงศรีอยุธยา หน้าทับสองไม้ คือ ชั้นต้นมีทำนองช้าก่อนแล้วก็เร็วเข้ากำกับกันไป ใช้กับบทโศกหรือรัญจวน เช่นตอนรจนาครํ่าครวญน้อยใจที่สังข์ทองจะไม่ช่วยตีคลี. (ดึกดำบรรพ์).
คืบ
หมายถึงน. มาตราวัดตามวิธีประเพณี ๑ คืบ เท่ากับ ๑๒ นิ้ว, อักษรย่อว่า ค. ก. เขยิบตัวไปข้างหน้าอย่างหนอน, ก้าวหน้า เช่น ข่าวคืบหน้า ทำงานไม่คืบหน้า.
มหาวงศ์
หมายถึงน. ชื่อหนังสือพงศาวดารลังกา แต่งเป็นภาษาบาลีโดยพระมหานาม เพื่อเรียบเรียงตำนานพระพุทธศาสนาและเหตุการณ์บ้านเมืองของลังกาทวีปตั้งแต่สมัยแรกเริ่มจนถึงรัชสมัยพระเจ้าคชพาหุ.
ทุนจดทะเบียน
หมายถึง(กฎ) น. จำนวนเงินทุนของบริษัทที่ได้จดทะเบียนไว้ตามกฎหมาย และได้กำหนดไว้ในหนังสือบริคณฑ์สนธิของบริษัท โดยแยกออกเป็นหุ้นพร้อมทั้งระบุมูลค่าหุ้นที่ตราไว้ และจำนวนสูงสุดของหุ้นที่จะออกจำหน่ายได้. (อ. authorized capital).
สมุห์
หมายถึง[สะหฺมุ] น. หมู่, กอง, พวก. (ป.; ส. สมูห); หัวหน้าในตำแหน่งหน้าที่ เช่น สมุหพระราชพิธี สมุหราชองครักษ์ สมุห์บัญชี; ตำแหน่งพระฐานานุกรมเหนือใบฎีกา เช่น พระสมุห์ พระครูสมุห์.
คณาธิปไตย
หมายถึง[คะนาทิปะไต, คะนาทิบปะไต] น. ระบอบการปกครองแบบหนึ่ง ซึ่งปกครองโดยคณะบุคคลจำนวนน้อยของสังคม มักได้แก่ กลุ่มผู้อาวุโส กลุ่มทหาร หรือ กลุ่มปฏิวัติ. (ป. คณ + อธิปเตยฺย).
ดิรัจฉาน
หมายถึง[-รัดฉาน] น. สัตว์เว้นจากมนุษย์ เช่นหมู หมา วัว ควาย (มักใช้เป็นคำด่า), ใช้ว่า เดรัจฉาน หรือ เดียรัจฉาน ก็มี. (ป. ติรจฺฉาน ว่า ขวาง, ติรจฺฉานคต ว่า สัตว์มีร่างกายเจริญโดยขวาง).
เดียรัจฉาน
หมายถึง[-รัดฉาน] น. สัตว์เว้นจากมนุษย์ เช่นหมู หมา วัว ควาย (มักใช้เป็นคำด่า), ใช้ว่า ดิรัจฉาน หรือ เดรัจฉาน ก็มี. (ป. ติรจฺฉาน ว่า ขวาง, ติรจฺฉานคต ว่า สัตว์มีร่างกายเจริญโดยขวาง).
กมล-
หมายถึง[กะมะละ-] น. ชื่อฉันท์วรรณพฤติ กำหนดด้วย ๔ คณะสลับกัน คือ ส คณะ ย คณะ ส คณะ ย คณะ (ตามแบบว่า กมลาติ เณยฺยา สยเสหิ โย เจ) ตัวอย่างว่า จะวิสัชนาสาร พิสดารก็หลายเลบง เรียกว่า กมลฉันท์ หรือ กมลาฉันท์. (ป. ว่า นางงาม; ส. ว่า พระลักษมี).
สังโยค
หมายถึงน. การประกอบกัน, การอยู่ร่วมกัน, การผูกรัด; (ไว) ตัวพยัญชนะ ๒ ตัวที่เรียงกัน ตัวหน้าเป็นตัวสะกด ตัวหลังเป็นตัวตาม พยัญชนะที่เป็นตัวสะกด เรียกว่า พยัญชนะสังโยค เช่น มนุสฺส สตฺต พุทฺธ รฏฺ. (ป. สํโยค, สญฺโค; ส. สํโยค).