ค้นเจอ 549 รายการ

สำเริง

หมายถึงก. รื่นเริง, ร่าเริง, เช่น นวนิยายให้ความสำเริงอารมณ์, มักใช้เข้าคู่กับคำ สำราญ เป็น สำเริงสำราญ หรือ สำราญสำเริง.

เสบียง

หมายถึง[สะเบียง] น. อาหารที่จะเอาไปกินระหว่างเดินทางไกล, อาหารที่เก็บไว้สำหรับบริโภค, มักใช้เข้าคู่กับคำ อาหาร เป็น เสบียงอาหาร, เขียนว่า สะเบียง ก็มี.

หลาย

หมายถึงว. มาก, บางทีใช้คู่กับคำ มาก เป็น มากหลาย.

หัวเราะ

หมายถึงก. เปล่งเสียงแสดงความขบขัน ดีใจ ชอบใจ เป็นต้น, ใช้เข้าคู่กับคำ หัวไห้ เป็น หัวเราะหัวไห้ ก็มี, หัวร่อ ก็ว่า, (โบ) เขียนเป็น หวัวเราะ ก็มี.

หัวล้านได้หวี

หมายถึง(สำ) น. ผู้ที่ได้สิ่งซึ่งไม่เป็นประโยชน์แก่ตน มักพูดเข้าคู่กับ ตาบอดได้แว่น เป็น หัวล้านได้หวี ตาบอดได้แว่น.

หัวหงอก

หมายถึง[-หฺงอก] น. หัวที่มีผมเปลี่ยนจากสีเดิมเป็นสีขาว, โดยปริยายหมายถึงคนแก่, เมื่อใช้เข้าคู่กับคำ หัวดำ เป็น หัวหงอกหัวดำ หมายถึง ทั้งผู้ใหญ่และผู้น้อย.

หายหน้า

หมายถึงก. ไม่ได้พบหน้ากัน เช่น ไม่ได้พบกันเสียนาน หายหน้าไปไหนมา, หลบลี้หนีหน้า เช่น ตั้งแต่ยืมเงินไปแล้ว เขาก็หายหน้าไปเลย, หายตัว ก็ว่า; บางทีก็ใช้เข้าคู่กับคำ หายตา เป็น หายหน้าหายตา, หายหัว ก็ว่า.

หินชาติ

หมายถึง[หินนะชาด] ว. มีกำเนิดตํ่า, เมื่อใช้เข้าคู่กับคำ ทมิฬ เป็น ทมิฬหินชาติ หมายความว่า โหดเหี้ยม เช่น ใจทมิฬหินชาติ.

เหียน,เหียน,เหียน ๆ

หมายถึงก. มีอาการพะอืดพะอมคล้ายจะคลื่นไส้ เช่น รู้สึกเหียน ๆ, มักใช้เข้าคู่กับคำ คลื่น เป็น คลื่นเหียน.

อบรม

หมายถึงก. แนะนำพรํ่าสอนให้ซึมซาบเข้าไปจนติดเป็นนิสัย, แนะนำชี้แจงให้เข้าใจในเรื่องที่ต้องการ, ขัดเกลานิสัย, บางทีก็ใช้เข้าคู่กับ บ่มนิสัย เป็น อบรมบ่มนิสัย.

อายุ

หมายถึงน. เวลาที่ดำรงชีวิตอยู่, เวลาชั่วชีวิต, ช่วงเวลานับตั้งแต่เกิดหรือมีมาจนถึงเวลาที่กล่าวถึง, ระยะเวลาที่กำหนดไว้ เช่น อายุใบอนุญาต ยานี้หมดอายุแล้ว, ระยะเวลาที่กำหนดรู้ความยั่งยืนของสิ่งนั้น ๆ เช่น อายุของหิน. (ป.; ส. อายุสฺ หรือ อายุษฺ เมื่อนำหน้าบางคำ, แต่เมื่อนำหน้าอักษรตํ่ากับตัว ห เปลี่ยน สฺ เป็น รฺ เช่น อายุรเวท, แต่ถ้าใช้อย่างบาลีก็ไม่ต้องมี ส หรือ ร).

อาฬหก

หมายถึง[อาละหก] น. ชื่อมาตราตวงในบาลี คือ ๔ นาฬี เป็น ๑ อาฬหก; เสาตะลุง. (ป.; ส. อาฒก).

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ