ตัวกรองผลการค้นหา
วินัยปิฎก
หมายถึง[วิไนยะปิดก, วิไนปิดก] น. ชื่อปิฎก ๑ ในพระไตรปิฎก.
อินทรีย
หมายถึง[-ซียะ-] น. ร่างกายและจิตใจ เช่น สำรวมอินทรีย์; สติปัญญา เช่น อินทรีย์แก่กล้า; สิ่งมีชีวิต. (ป., ส. อินฺทฺริย).
อินทรีย-
บุษย,บุษย-,บุษย์,บุษยะ,ปุษยะ,ปุสสะ
หมายถึง[บุดสะยะ-, บุด, บุดสะยะ, ปุดสะยะ, ปุดสะ] น. ดาวฤกษ์ที่ ๘ มี ๕ ดวง เห็นเป็นรูปปุยฝ้าย พวงดอกไม้ ดอกบัว หรือ โลง, ดาวปุยฝ้าย ดาวพวงดอกไม้ ดาวดอกบัว ดาวโลง ดาวปู ดาวสมอสำเภา หรือ ดาวสิธยะ ก็เรียก. (ส. ปุษฺย; ป. ปุสฺส); แก้วสีขาว; บัว.
นายประเพณี
หมายถึง(โบ) น. หัวหน้ารักษาประโยชน์ของวัดและบำรุงวัดได้บังคับว่ากล่าวทั่วไป (ทำนองมรรคนายก). (ประชุมพงศ.).
จำเบศ
หมายถึงความหมายอย่างเดียวกับ จำบัง แต่เพื่อประโยชน์ในกลอนจึงใช้ ศ เข้าลิลิต เช่น หมู่โยธาโยเธศ รู้จำเบศจำบัง. (ม. คำหลวง มหาราช).
หางข้าว
หมายถึงน. ข้าวเปลือกที่ยังมีข้าวลีบปนอยู่มาก; (โบ) จำนวนข้าวที่หลวงเรียกเก็บเป็นภาษี. (พงศ. ร. ๒).
กระจร
หมายถึง(กลอน) น. ต้นสลิด เช่น กระทุ่มกระจรแล้ คชน้าวกาหลง. (พงศ. เหนือ). (แผลงมาจาก ขจร).
ผย่ำเผยอ
หมายถึง[ผะหฺยํ่าผะเหฺยอ] ก. ปํ้า ๆ เป๋อ ๆ เช่น ทำหาวเรอพูดผยํ่าเผยอ. (พงศ. เลขา).
สัมปชัญญะ
หมายถึง[สำปะชันยะ] น. ความรู้ตัวอยู่เสมอ, ความไม่เผลอตัว, มักใช้เข้าคู่กับคำ สติ เป็น สติสัมปชัญญะ. (ป.).
บริณายกรัตน์
หมายถึง[บอรินายะกะ-] น. ขุนพลแก้ว, เป็นสมบัติประการ ๑ ในสมบัติ ๗ ประการของพระเจ้าจักรพรรดิ.
ศักย์,ศักยะ
หมายถึง[สัก, สักกะยะ] (ไฟฟ้า) น. พลังงานที่ใช้ดันกระแสไฟฟ้า ณ จุดใดจุดหนึ่ง มีหน่วยเป็นโวลต์.