ตัวกรองผลการค้นหา
ขันหมาก
หมายถึงน. ขันใส่หมากพลูเป็นต้นซึ่งเชิญไปพร้อมกับของอื่น ๆ ในพิธีหมั้นหรือแต่งงาน เป็นเครื่องคำนับผู้ปกครองฝ่ายหญิง.
ดอง
หมายถึง(ถิ่น-อีสาน) น. การแต่งงาน เช่น กินดอง = กินเลี้ยงในพิธีแต่งงาน เกี่ยวดอง = เกี่ยวข้องกันโดยการแต่งงาน. ว. เนื่องกันในทางเขยหรือสะใภ้ เช่น เกี่ยวดอง เป็นดองกัน.
เพลงหน้าพาทย์
หมายถึงน. เพลงประเภทที่ใช้บรรเลงในการแสดงกิริยาอาการเคลื่อนไหวของตัวโขนละครเป็นต้น หรือสำหรับอัญเชิญเทพเจ้า ฤๅษี หรือบูรพาจารย์ ให้มาร่วมชุมนุมในพิธีไหว้ครูหรือพิธีมงคลต่าง ๆ เช่น เชิด ใช้ในการเดินทางไกล เสมอ ใช้ในการเดินระยะใกล้ เสมอมาร สำหรับยักษ์เดิน เสมอเถร สำหรับฤๅษีเดิน สาธุการ ใช้ในการเริ่มพิธีต่าง ๆ ตระเชิญ ใช้อัญเชิญเทพเจ้าและสิ่งศักดิ์สิทธิ์.
หมอขวัญ
หมายถึงน. ผู้รู้พิธีทำขวัญ, หมอทำขวัญ ก็เรียก; ผู้มีความรู้ทางคชศาสตร์และเป็นหัวหน้าในการจับช้าง, หมอเฒ่า ก็เรียก.
เบิกพระเนตร
หมายถึงก. เปิดตา, เป็นคำใช้สำหรับพิธีฝังหรือเขียนพระเนตรพระพุทธรูป ซึ่งถือว่าเมื่อได้เบิกพระเนตรแล้วจึงเป็นองค์พระโดยสมบูรณ์.
ราชครู
หมายถึงน. พราหมณ์ผู้รับราชการเป็นหัวหน้าพิธีฝ่ายพราหมณ์ เรียกว่า พระราชครู เช่น พระราชครูวามเทพมุนี. (ส. ราชคุรุ).
ลาข้าวพระ
หมายถึงก. ทำพิธีอย่างหนึ่งเมื่อถอนสำรับพระพุทธ โดยยกมือประนมกล่าวคำว่า เสสํ มงฺคลํ ยาจามิ แล้วยกสำรับออกมา.
วาชเปยะ
หมายถึง[วาชะ-] น. การดื่มเพื่อพลัง; ชื่อพิธีบูชาอย่างหนึ่งในอินเดียโบราณที่จัดทำสำหรับบุคคลในวรรณะกษัตริย์และวรรณะพราหมณ์. (ส.).
ฆ้องชัย
หมายถึงน. ฆ้องขนาดใหญ่ สมัยโบราณใช้ตีเป็นสัญญาณในกองทัพ ในปัจจุบันใช้ตีในงานพิธีมงคลต่าง ๆ, ฆ้องหุ่ย ก็เรียก.
โอละพ่อ
หมายถึงว. กลับตรงกันข้าม อย่างกลับหน้ามือเป็นหลังมือ. น. คำขึ้นต้นที่พวกระเบ็งร้องและรำในการมหรสพของหลวงเช่นพระราชพิธีโสกันต์.
ชทึง
หมายถึง[ชะ-] (กลอน) น. แม่นํ้า เช่น ชลชทึงบึงบาง. (ประกาศพระราชพิธี), ใช้ว่า จทึง ฉทึง ชรทึง สทิง สทึง หรือ สรทึง ก็มี. (ข. สฺทิง ว่า คลอง).
เรือนไฟ
หมายถึงน. กระจุกตะเกียงหรือโคม; ขนาดของไฟในตะเกียงหรือโคม; ครัวสำหรับหุงต้มอาหาร; โรงพิธีสำหรับบูชาไฟ; (โบ) ประภาคาร.