ตัวกรองผลการค้นหา
ชนกกรรม
หมายถึง[ชะนะกะกำ] น. กรรมอันนำให้เกิดหรือกรรมอันเป็นต้นเค้าทั้งข้างดีหรือข้างชั่ว เช่น กรรมอันทำให้เกิดเป็นคนชั้นสูง เป็นชนกกรรมฝ่ายกุศล. (อรรถศาสน์).
ชาลกรรม
หมายถึงน. การจับปลา. (ส.).
ตามยถากรรม
หมายถึง(สำ) ว. เป็นไปตามกรรม, สุดแต่จะเป็นไป.
ถึงมรณกรรม
หมายถึงก. ตาย (ใช้แก่คนทั่วไปในคำพูดที่สุภาพ), ถึงแก่กรรม หรือ ถึงแก่มรณกรรม ก็ว่า.
ทรมาทรกรรม
หมายถึง[ทอระมาทอระกำ] (ปาก) ก. ทำให้ทนทุกข์ทรมานไม่รู้จักจบจักสิ้น, ทำให้ทนทุกข์ทรมานอย่างยืดเยื้อ.
คชกรรม
หมายถึงน. กิจการในทางปฏิบัติอันเกี่ยวกับช้าง เช่น การขี่ การฟันขอ, ประเภทตำราว่าด้วยทางปฏิบัติอันเกี่ยวกับช้าง.
ครุกรรม
หมายถึง[คะรุกำ] น. กรรมหนัก มีทั้งฝ่ายกุศลและอกุศล, การได้บรรลุฌานสมาบัติเป็นครุกรรมฝ่ายกุศล การกระทำอนันตริยกรรมเป็นครุกรรมฝ่ายอกุศล.
จิตรกรรม
หมายถึงน. ศิลปะประเภทหนึ่งในทัศนศิลป์เกี่ยวกับการเขียนภาพวาดภาพ, รูปภาพที่เขียนหรือวาดขึ้น. (ส.).
กรร-
หมายถึง[กัน-] ใช้เป็นพยางค์หน้า (ซึ่งโบราณเขียนเป็น กนน หรือ กัน ก็มี) แทน กระ เช่น กรรชิง - กันชิง - กระชิง, กรรเช้า - กรนนเช้า - กระเช้า, กรรเชอ - กนนเชอ - กระเชอ, กรรโชก - กันโชก - กระโชก, กรรพุ่ม - กระพุ่ม, กรรลึง - กระลึง.
กรรณ-
หมายถึง[กันนะ-] น. หู, ใบหู, กลอน ใช้เป็น กรรณา ก็มี เช่น กรรณาคือกลีบกาญจ- นปัทม์. (สมุทรโฆษ), ราชาศัพท์ใช้ว่า พระกรรณ. (ส. กรฺณ).
หมดเวรหมดกรรม
หมายถึงก. สิ้นสุดในการที่ต้องรับทุกข์อีกต่อไป, สิ้นกรรม สิ้นกรรมสิ้นเวร สิ้นเวร หรือ สิ้นเวรสิ้นกรรม ก็ว่า; (ปาก) ตาย.
วจีกรรม
หมายถึงน. การพูด, การกระทำทางวาจา, เช่น การกล่าวเท็จเป็นการทำผิดทางวจีกรรม. (ป. วจีกมฺม).