ค้นเจอ 198 รายการ

นวนิยาย

หมายถึงน. บันเทิงคดีร้อยแก้วขนาดยาวรูปแบบหนึ่ง มีตัวละคร โครงเรื่อง เหตุการณ์ในเรื่อง และสถานที่ ที่ทำให้เนื้อเรื่องมีความสมจริง เช่น เรื่องหญิงคนชั่ว ของ ก. สุรางคนางค์ เรื่องผู้ชนะสิบทิศ ของ ยาขอบ เรื่องสี่แผ่นดิน ของ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช เรื่องเรือมนุษย์ ของ กฤษณา อโศกสิน, ถ้ามีขนาดสั้น เรียกว่า นวนิยายขนาดสั้น เช่น เรื่องดรรชนีนาง ของ อิงอร เรื่องสร้อยทอง ของ นิมิต ภูมิถาวร.

ยืม

หมายถึงก. ขอสิ่งของ เงิน เป็นต้น มาใช้ชั่วระยะเวลาหนึ่งแล้วคืนให้หรือใช้คืน, นำของของผู้อื่นมาใช้เป็นของตน เช่น ยืมคำในภาษาบาลีมาใช้ ยืมวัฒนธรรมตะวันตกมาใช้ ยืมความคิด; (คณิต) ในการลบเลข ถ้าเลขตัวตั้งในหลักใดน้อยกว่าเลขที่จะนำมาลบ ให้นำเลขจากหลักสูงถัดไปมาเพิ่มเลขตัวตั้งเพื่อให้มากพอที่จะลบได้ เช่น ๔๓ - ๕ ในที่นี้ ๕ ลบจาก ๓ ไม่ได้ ๓ ต้องยืม ๔ ซึ่งเป็นหลักสิบมา ๑ รวมเป็น ๑๓ แล้วลบออกเสีย ๕ เหลือ ๘ ๔ เมื่อถูกยืมไป ๑ ก็เหลือ ๓ ผลลัพธ์ ๓๘, ขอยืม ก็ว่า.

ขอยืม

หมายถึงก. ขอสิ่งของ เงิน เป็นต้นมาใช้ชั่วระยะเวลาหนึ่งแล้วคืนให้หรือใช้คืน, นำของของผู้อื่นมาใช้เป็นของของตน เช่น ขอยืมคำในภาษาบาลีมาใช้ ขอยืมวัฒนธรรมตะวันตกมาใช้ ขอยืมความคิด, (คณิต) ในการลบเลข ถ้าเลขตัวตั้งในหลักใดน้อยกว่าเลขที่จะนำมาลบ ให้นำเลขจากหลักสูงถัดไปมาเพิ่มเลขตัวตั้งเพื่อให้มากพอที่จะลบได้ เช่น ๔๓ - ๕ ในที่นี้ ๕ ลบจาก ๓ ไม่ได้ ๓ ต้องขอยืม ๔ ซึ่งเป็นหลักสิบมา ๑ รวมเป็น ๑๓ แล้วลบออกเสีย ๕ เหลือ ๘ ๔ เมื่อถูกขอยืมไป ๑ ก็เหลือ ๓ ผลลัพธ์ ๓๘, ยืม ก็ว่า.

สุรางคนา

หมายถึงน. ชื่อกาพย์และฉันท์ มี ๒๘ คำ คือ มี ๗ วรรค วรรคละ ๔ คำ เช่น ตัวอย่างกาพย์ อย่าเยี่ยงหญิงชั่ว ไป่รู้คุณผัว ไม่กลัวความอาย ลิ้นลมข่มคำ ห่อนยำเยงชาย จงจิตรคิดหมาย มุ่งร้ายภรรดา. (กฤษณา), ตัวอย่างฉันท์ ชะอมชะบา มะกอกมะกา มะค่าและแค ตะขบตะค้อ สมอแสม มะกล่ำสะแก ก็แลไสว. (หลักภาษาไทย), ถ้าเป็นกาพย์ขับไม้มี ๓๖ คำ เช่น กรุงเทพเทียมทัด เทพไทเธอจัด สร้างสิ้นทั้งหลาย แทบทางวางรุกข์ ร่มเย็นเป็นสุข แซ่ซร้องหญิงชาย ไปมาค้าขาย ออกร้านเรียงราย รื่นเริงสำราญ. (กาพย์ขับไม้ กล่อมพระเศวตรัตนกรีฯ).

สุรางคนางค์

หมายถึงน. ชื่อกาพย์และฉันท์ มี ๒๘ คำ คือ มี ๗ วรรค วรรคละ ๔ คำ เช่น ตัวอย่างกาพย์ อย่าเยี่ยงหญิงชั่ว ไป่รู้คุณผัว ไม่กลัวความอาย ลิ้นลมข่มคำ ห่อนยำเยงชาย จงจิตรคิดหมาย มุ่งร้ายภรรดา. (กฤษณา), ตัวอย่างฉันท์ ชะอมชะบา มะกอกมะกา มะค่าและแค ตะขบตะค้อ สมอแสม มะกล่ำสะแก ก็แลไสว. (หลักภาษาไทย), ถ้าเป็นกาพย์ขับไม้มี ๓๖ คำ เช่น กรุงเทพเทียมทัด เทพไทเธอจัด สร้างสิ้นทั้งหลาย แทบทางวางรุกข์ ร่มเย็นเป็นสุข แซ่ซร้องหญิงชาย ไปมาค้าขาย ออกร้านเรียงราย รื่นเริงสำราญ. (กาพย์ขับไม้ กล่อมพระเศวตรัตนกรีฯ).

ทรง

หมายถึง[ซง] น. รูปร่าง เช่น ทรงกระบอก ทรงปั้นหยา ทรงกระสอบ ทรงกระทาย (ลักษณะชามหรือถ้วยมีรูปคล้ายกระทาย), แบบ เช่น ทรงผม. ก. ตั้งอยู่ได้ เช่น ทรงตัว; จำ เช่น ทรงพระไตรปิฎก; รองรับ เช่น ธรรมย่อมทรงผู้ประพฤติธรรมไม่ให้ตกไปในที่ชั่ว; มี เช่น ทรงคุณวุฒิ; คงอยู่ เช่น ไข้ยังทรงอยู่ นํ้าทรง; ในราชาศัพท์มีความหมายว่า ขี่ หรือ ถือ เป็นต้น ตามเนื้อความของคำที่ตามหลัง เช่น ทรงม้า ว่า ขี่ม้า ทรงช้าง ว่า ขี่ช้าง ทรงศร ว่า ถือศร ทรงศีล ว่า รับศีล ทรงธรรม ว่า ฟังเทศน์ ทรงบาตร ว่า ตักบาตร ทรงราชย์ ว่า ครองราชสมบัติ; ถ้าประกอบหน้านามบางคำ เช่น ชัย ภพ ศรี ศักดิ์ ธรรม เป็น พระทรงชัย พระทรงภพ พระทรงศรี พระทรงศักดิ์ พระทรงธรรม หมายถึง กษัตริย์; ถ้าประกอบหน้านามที่เป็นพาหนะหรืออาวุธเป็นต้นของพระเป็นเจ้า หมายถึง พระเป็นเจ้านั้น ๆ เช่น พระทรงโค หมายถึง พระอิศวร พระทรงครุฑ พระทรงศร พระทรงสังข์ หมายถึง พระนารายณ์ พระทรงหงส์ หมายถึง พระพรหม; ใช้นำหน้าคำกริยาสามัญให้เป็นราชาศัพท์ เช่น ทรงทราบ ทรงยินดี ทรงขอบใจ; ใช้นำหน้าคำนามราชาศัพท์ให้เป็นกริยาราชาศัพท์ เช่น ทรงพระสรวล ทรงพระเมตตา ทรงพระประชวร, ในลักษณะนี้จะหมายความว่า มี ก็ได้ เช่น ทรงพระปรีชาสามารถ ทรงพระคุณ ทรงพระนาม, เมื่อกริยาเป็นราชาศัพท์อยู่แล้วไม่นิยมใช้คำว่า ทรง นำหน้าซ้อนลงไปอีก เช่นไม่ใช้ว่า ทรงตรัส ทรงประทับ ทรงพระราชทาน. (ราชา) ว. เรียกช้าง ม้า ที่ขึ้นระวางแล้วว่า ช้างทรง ม้าทรง.

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ