ค้นเจอ 221 รายการ

เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์

หมายถึง(กฎ) น. บุคคลซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมแต่งตั้งโดยเฉพาะตัว หรือโดยตำแหน่งหน้าที่ ให้ปฏิบัติหน้าที่พิทักษ์ทรัพย์สิน และจัดการเกี่ยวกับทรัพย์สินของลูกหนี้ในคดีล้มละลายเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์นี้ถือว่าเป็นเจ้าพนักงานของศาล.

ศาลอาญา

หมายถึง(กฎ) น. ศาลยุติธรรมชั้นต้นซึ่งมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีอาญาทั้งปวงที่มิได้อยู่ในอำนาจของศาลยุติธรรมอื่น รวมทั้งคดีอื่นใดที่มีกฎหมายบัญญัติให้อยู่ในอำนาจของศาลที่มีอำนาจพิจารณาคดีอาญาแล้วแต่กรณี.

อภัยโทษ

หมายถึง[อะไพยะโทด] (กฎ) ก. ยกโทษหรือเปลี่ยนโทษหนักเป็นเบาหรือลดโทษให้แก่ผู้ต้องคำพิพากษาให้ต้องรับโทษทางอาญาเมื่อคดีถึงที่สุดแล้ว เป็นพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ตามรัฐธรรมนูญ.

อาชญา

หมายถึง[อาดยา, อาดชะยา] น. อำนาจ; โทษ (มักใช้สำหรับพระเจ้าแผ่นดินหรือเจ้านาย) เช่น พระราชอาชญา. (ส.; ป. อาณา); (กฎ; โบ; เลิก) คดีที่เกี่ยวกับโทษหลวง เรียกว่า คดีอาชญา หรือ ความอาชญา, คู่กับ ความแพ่ง ซึ่งไม่เกี่ยวด้วยโทษหลวง เช่นความมรดก; ศาลที่ชำระความเกี่ยวกับโทษหลวง เรียกว่า ศาลอาชญา คู่กับ ศาลแพ่ง ซึ่งชำระความแพ่ง; คำ อาชญา นี้ปัจจุบันนิยมใช้คำ อาญา เป็นพื้น.

อุทลุม

หมายถึง[อุดทะ-] ว. ผิดประเพณี, ผิดธรรมะ, นอกแบบ, นอกทาง, เช่น คดีอุทลุม คือคดีที่ลูกหลานฟ้องบุพการีของตนต่อศาล, เรียกลูกหลานที่ฟ้องบุพการีของตนต่อศาลว่า คนอุทลุม เช่น ผู้ใดเปนคนอุทลุมหมีได้รู้คุณบิดามานดาปู่หญ้าตายาย แลมันมาฟ้องร้องให้เรียกบิดามานดาปู่ญ่าตายายมัน ท่านให้มีโทษทวนมันด้วยลวดหนังโดยฉกัน. (สามดวง).

ยอกย้อน

หมายถึงก. ซับซ้อนซ่อนเงื่อน เช่น ทำกลอุบายยอกย้อน, กลับไปกลับมาอย่างมีเงื่อนงำ เช่น พยานให้การยอกย้อน, ยุ่งยากซับซ้อนสะสางยาก เช่น คดียอกย้อน. ว. ย้อนให้เจ็บอกเจ็บใจ เช่น พูดจายอกย้อน, ย้อนยอก ก็ว่า.

ศาลโปริสภา

หมายถึง[สานโปริดสะพา] (กฎ; เลิก) น. ศาลชั้นต้นที่จัดตั้งขึ้นในสมัยรัชกาลที่ ๕ แทนศาลกองตระเวนเมื่อ ร.ศ. ๑๑๒ มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีทำนองเดียวกับศาลแขวงปัจจุบัน.

ศาลภาษีอากร

หมายถึง(กฎ) น. ศาลยุติธรรมชั้นต้นซึ่งเป็นศาลชำนัญพิเศษมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีแพ่งที่กฎหมายบัญญัติให้อยู่ในอำนาจของศาลภาษีอากร เช่น คดีอุทธรณ์คำวินิจฉัยของเจ้าพนักงานหรือคณะกรรมการตามกฎหมายเกี่ยวกับภาษีอากร.

คดีอนาถา

หมายถึง(กฎ) น. คดีแพ่งที่คู่ความอ้างว่าเป็นคนยากจนไม่สามารถเสียค่าธรรมเนียมศาลในศาลชั้นต้น หรือชั้นอุทธรณ์ หรือชั้นฎีกา เมื่อศาลได้ไต่สวนเป็นที่เชื่อได้ว่าคู่ความนั้นเป็นคนยากจน ไม่มีทรัพย์สินพอจะเสียค่าธรรมเนียม ศาลจะอนุญาตให้คู่ความนั้นฟ้องหรือต่อสู้คดีอย่างคนอนาถาได้ แต่การขอเช่นว่านี้ถ้าผู้ขอเป็นโจทก์ ผู้ขอจะต้องแสดงให้เป็นที่พอใจศาลด้วยว่าคดีของตนมีมูลที่จะฟ้องร้อง หรือในกรณีอุทธรณ์หรือฎีกา ศาลเห็นว่ามีเหตุผลอันสมควรที่จะอุทธรณ์หรือฎีกาแล้วแต่กรณี.

ผู้พิพากษาสมทบ

หมายถึง(กฎ) น. บุคคลซึ่งได้รับแต่งตั้งตามกฎหมายจัดตั้งศาลชำนัญพิเศษ ให้เป็นองค์คณะร่วมกับผู้พิพากษาซึ่งเป็นข้าราชการตุลาการ มีอำนาจและหน้าที่ในการพิจารณาพิพากษาคดี เช่น ผู้พิพากษาสมทบในศาลเยาวชนและครอบครัว ผู้พิพากษาสมทบในศาลแรงงาน.

กด

หมายถึงก. บังคับลง, ข่ม, ใช้กำลังดันให้ลง, โดยปริยายหมายความว่า แกล้งกักไว้ เช่น กดคดี; ทำให้มีค่าน้อยลงกว่าที่ควรจะเป็น เช่น กดราคา กดคะแนน; (กลอน) สะกด, ขืน, เช่น อย่ากดใจฟั้นย่า นานนัก. (ลอ).

ผู้ชำนาญการพิเศษ

หมายถึง(กฎ) น. ผู้มีความชำนาญพิเศษในการใด ๆ เช่น ในทางวิทยาศาสตร์ ศิลปะ ฝีมือ พาณิชยการ การแพทย์ หรือกฎหมายต่างประเทศ ซึ่งความเห็นของผู้นั้นอาจมีประโยชน์ในการวินิจฉัยคดีในการสอบสวน ไต่สวนมูลฟ้องหรือพิจารณาคดีอาญาไม่ว่าผู้นั้นจะมีอาชีพในการนั้นหรือไม่ก็ตาม.

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ