ค้นเจอ 287 รายการ

อามัย

หมายถึงน. ความป่วยไข้, โรค, ความไม่สบาย, ตรงข้ามกับ อนามัย คือ ความสบาย ความไม่มีโรค. (ป., ส.).

อามิษ,อามิส,อามิส-

หมายถึง[อามิด, อามิดสะ-] น. สิ่งของวัตถุเครื่องล่อใจมีเงินเป็นต้น, เช่น อย่าเห็นแก่อามิสสินจ้าง. (ส. อามิษ; ป. อามิส).

อามิสบูชา

หมายถึงน. การบูชาด้วยสิ่งของ, คู่กับ ปฏิบัติบูชา ซึ่งเป็นการบูชาด้วยการปฏิบัติตามคำสั่งสอน.

อายัด

หมายถึง(กฎ) ก. ห้ามจำหน่ายจ่ายโอนทรัพย์สินหรือสิทธิเรียกร้อง.

อายุความ

หมายถึง(กฎ) น. ระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดให้ใช้สิทธิเรียกร้อง บังคับฟ้อง หรือร้องทุกข์.

อายุรศาสตร์

หมายถึงน. ตำราหมอ, วิชาการรักษาโรคทางยา.

อารมณ์

หมายถึงน. สิ่งที่ยึดหน่วงจิตโดยผ่านทางตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ เช่น รูปเป็นอารมณ์ของตา เสียงเป็นอารมณ์ของหู, เครื่องยึดถือเป็นจริงเป็นจัง เช่น เรื่องนี้อย่าเอามาเป็นอารมณ์เลย; ความรู้สึกทางใจที่เปลี่ยนแปลงไปตามสิ่งเร้า เช่น อารมณ์รัก อารมณ์โกรธ อารมณ์ดี อารมณ์ร้าย; อัธยาศัย, ปรกตินิสัย, เช่น อารมณ์ขัน อารมณ์เยือกเย็น อารมณ์ร้อน; ความรู้สึก เช่น อารมณ์ค้าง ใส่อารมณ์, ความรู้สึกซึ่งมักใช้ไปในทางกามารมณ์ เช่น อารมณ์เปลี่ยว เกิดอารมณ์. ว. มีอัธยาศัย, มีปรกตินิสัย, เช่น เขาเป็นคนอารมณ์เยือกเย็น เขาเป็นคนอารมณ์ร้อน. (ป. อารมฺมณ).

อารยชน

หมายถึงน. ชนที่มีอารยธรรม.

อารักขา

หมายถึงก. ป้องกัน, คุ้มครอง, ดูแล. น. การป้องกัน, ความคุ้มครอง, ความดูแล. (ป.).

อารัณยกะ

หมายถึง[-รันยะกะ] น. ชื่อคัมภีร์ศาสนาพราหมณ์คู่กับคัมภีร์พราหมณะ สำหรับผู้ที่สละทางโลกเข้ามาปฏิบัติธรรมในป่า ลักษณะเนื้อหาไม่แตกต่างกับคัมภีร์พราหมณะมากนัก.

อารัติ

หมายถึง[-รัด] น. การเว้น, การเลิก, การหยุด, อารดี หรือ อารติ ก็ว่า. (ป., ส. อารติ).

อารามิก

หมายถึงน. เกี่ยวกับวัด, ชาววัด. (ป.).

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ