ค้นเจอ 229 รายการ

ถวาย

หมายถึง[ถะหฺวาย] ก. ให้, มอบให้, เช่น ถวายของ (ใช้แก่พระสงฆ์หรือเจ้านาย); ให้ดู, ให้ชม, เช่น รำถวายมือ เล่นถวายตัว, แผลงเป็น ดงวาย หรือ ตังวาย ก็ได้.

กระจาย

หมายถึงก. ทำให้แพร่หรือแตกแยกออกจากกันไปในที่ต่าง ๆ, แพร่หรือแตกแยกออกจากกันไปในที่ต่าง ๆ; แผ่ซ่าน, จางออก, นิยมใช้เข้าคู่กับคำ กระจัด กระจุย เป็น กระจัดกระจาย กระจุยกระจาย. (แผลงมาจาก ขจาย).

กระษิร

หมายถึง[-สิน, -สิระ] (โบ; แผลงมาจาก ส. กฺษิร) น. นํ้านม เช่น มาจากวารินกระษิรสมุทร. (รามเกียรติ์ ร. ๒), กระษิรสินธุสาคร. (สรรพสิทธิ์).

กฤดาภินิหาร

หมายถึง[กฺริดาพินิหาน] น. อภินิหาร (บุญอันยิ่ง) ที่ทำไว้. ว. มีอภินิหารที่ทำไว้, (ส.; ป. กตาภินิหาร), ในบทกลอนใช้แผลงเป็น กฤษฎา หรือ กฤษฎาภินิหาร ก็มี.

กฤดีกา,กฤตยฎีกา

หมายถึง[กฺริ-, กฺริดตะยะ-] แผลงมาจาก กติกา เช่น อันว่าความกฤดีกา แต่สองราแรกทรงพรต. (ม. คำหลวง กุมาร), ชำระกฤตยฎีกา. (ไวพจน์พิจารณ์).

ดำรัส

หมายถึง[-หฺรัด] น. คำพูดของเจ้านาย ใช้ว่า พระดำรัส, คำพูดของพระมหากษัตริย์ ใช้ว่า พระราชดำรัส. ก. พูด (ใช้แก่เจ้านาย). (แผลงมาจาก ตรัส).

กะละออม

หมายถึงน. ภาชนะสานด้วยไม้ไผ่ ยาชัน รูปคล้ายกระบุง ไม่มีคอ ใช้ใส่น้ำ, กระออม กะออม หรือ กัลออม ก็ว่า. (ทมิฬ กะละยัม แผลงมาจาก ส. กลศ).

กระหมิบ

หมายถึงก. ทำปากหรือช่องทวารหนักทวารเบาให้เม้มอยู่; อาการที่กล้ามเนื้อขอบปากทวารรัดตัวเข้ามา. (แผลงมาจาก ขมิบ). ว. บางทีก็ใช้เข้าคู่กับคำ กระหมุบ เป็น กระหมุบกระหมิบ.

โขม,โขม-

หมายถึง[โขมะ-] (แบบ) น. โกษม, ผ้าใยไหม (ผ้าลินิน), ผ้าขาว, ผ้าป่าน, ใช้เป็นศัพท์ประกอบว่า โขมพัตถ์ โขมพัสตร์ และแผลงเป็น โขษมพัสตร์ ก็มี. (ป.; ส. เกฺษาม).

จำหัน

หมายถึงว. ฉัน, มีแสงกล้า; เฉกเช่น, ดังเช่น; โบราณเขียนเป็น จำหนน ก็มี เช่น จำหายแสงส่องตรวัน จำหนนแสงส่องฟ้า. (ม. คำหลวง มหาราช). (แผลงมาจาก ฉัน).

ไกรศร,ไกรสร

หมายถึง[ไกฺรสอน] (กลอน) น. สิงโต เช่น เสือคร่งเสือแผ้วเอนกาไลยไกรสรสีหส่งเสียงแขง. (ม. ร่ายยาว มหาพน). (แผลงมาจาก เกสรี).

กระลอก

หมายถึง[-หฺลอก] (กลอน) แผลงมาจาก กลอก เช่น พื้นบรรพตเลื่อมล้วนมณีผา กระลอกรุ่งพรุ่งพรายถึงเมฆา. (สมบัติอมรินทร์), ใช้เข้าคู่กับคำ กระลับ หรือ กระลาย เป็น กระลับกระลอก หรือ กระลายกระลอก.

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ