ตัวกรองผลการค้นหา
กฤดายุค
หมายถึง[กฺริดา-] น. ชื่อยุคแรกของจตุรยุคตามคติของพราหมณ์ ในยุคนี้มนุษย์มีธรรมะสูงสุด คือ เต็ม ๔ ใน ๔ ส่วน และมีอายุยืนยาวที่สุด. (ส. กฺฤตยุค). (ดู จตุรยุค).
ก้อย
หมายถึงน. นิ้วเล็กที่สุดของนิ้วทั้ง ๕ เรียกว่า นิ้วก้อย; ในการเล่นปั่นแปะหรือโยนหัวโยนก้อย เรียกสมมุติด้านหนึ่งของสตางค์หรือเหรียญกระษาปณ์ว่า ด้านก้อย, คู่กับ ด้านหัว; โดยปริยายหมายความว่า เล็ก เช่น หัวเท่ากิ่งก้อย คือ หัวเล็กนิดเดียว, ไม่รู้จักนิ้วก้อยหัวแม่มือ หมายความว่า ไม่รู้จักเด็กไม่รู้จักผู้ใหญ่ หรือ ไม่รู้จักตํ่าสูง.
กัณหปักษ์
หมายถึงน. ฝ่ายดำ คือ ข้างแรม.
กัตติกมาส
หมายถึง[กัดติกะมาด] น. เดือนอันมีพระจันทร์เพ็ญเสวยฤกษ์กัตติกา คือ เดือน ๑๒ ตามจันทรคติ ตกในราวเดือนพฤศจิกายน. (ป.).
กุ
หมายถึง(โบ) ก. กรุ เช่น กุกดดดาน คือ กรุกระดาน. (จารึกสยาม).
กุ้ง
หมายถึงว. โกงน้อย ๆ, ใช้แก่หลังว่า หลังกุ้ง คือ หลังโกงน้อย ๆ.
กูด
หมายถึง(ถิ่น-พายัพ, อีสาน, ปักษ์ใต้) ว. หงิก เช่น ผักกูด คือ ผักยอดใบหงิก.
เกี๋ยง
หมายถึง(ถิ่น-พายัพ) น. เดือนแรกของปีนับทางจันทรคติ คือ เดือนอ้าย.
แกลบ
หมายถึง[แกฺลบ] น. ชื่อแมลงพวกเดียวกับแมลงสาบ แต่มีขนาดเล็กกว่า คือ ยาว ๑.๓-๑.๕ เซนติเมตร กว้าง ๕-๑๐ มิลลิเมตร ลำตัวแบน รูปไข่ ขอบหน้าด้านหลังของปล้องอกยื่นออกไปคลุมหัว หนวดยาว ขายาวมีหนามคลุมเต็ม บางชนิดอาศัยอยู่ตามขี้เลื่อย หรือกองแกลบที่ผุพัง เช่น ชนิด Pycnocelis surinamensis ในวงศ์ Blaberidae แต่บางชนิดอาศัยอยู่ในบ้านเรือน ตามกองกระดาษหรือเศษขยะมูลฝอย เช่น ชนิด Blattella germanica, Supella supellectilium ในวงศ์ Blattellidae.
ขว้างค้อน
หมายถึงน. ชื่องู ๒ ชนิด คือ งูกะปะ (Calloselasma rhodostoma) ในวงศ์ Viperidae และ งูปลิง (Enhydris plumbea) ในวงศ์ Colubridae ทั้ง ๒ ชนิดเมื่อตกใจจะดีดตัวไปได้ในระยะสั้น ๆ แทนการเลื้อย.
ข้าวฟ่าง
หมายถึงน. ชื่อไม้ล้มลุก ๒ ชนิด ในวงศ์ Gramineae คือ ข้าวฟ่างหางหมา [Setaria italica (L.) Pal.] ต้นสูงประมาณ ๑ เมตร เมล็ดขนาดเมล็ดงา และข้าวฟ่างสมุทรโคดม หรือข้าวฟ่างหางช้าง [Sorghum bicolor (L.) Moench.] ต้นสูงประมาณ ๒ เมตร เมล็ดขนาดเมล็ดพริกไทย.
ขุนทอง
หมายถึงน. ชื่อนกในวงศ์ Sturnidae ซึ่งเป็นวงศ์เดียวกับนกเอี้ยงและนกกิ้งโครง ขนดำเลื่อมเป็นมัน ที่ปีกมีขนสีขาวแซม และมีติ่งหรือเหนียงสีเหลืองติดอยู่ทางหางตาทั้ง ๒ ข้าง ปากสีแสด ขาและตีนสีเหลืองจัด ร้องเลียนเสียงคนหรือเสียงอื่น ๆ บางอย่างได้ ในประเทศไทยมี ๒ ชนิดย่อย คือ ขุนทองเหนือ (Gracula religiosa intermedia) และ ขุนทองใต้ หรือ ขุนทองควาย (G. r. religiosa) ซึ่งมีขนาดใหญ่กว่าชนิดย่อยแรก, พายัพเรียก เอี้ยงคำ.