ค้นเจอ 358 รายการ

ขับขี่

หมายถึงว. (ปาก) เรียกใบอนุญาตให้ขับรถได้ว่า ใบขับขี่, (กฎ) ใช้ว่า ใบอนุญาตขับขี่. ก. สามารถบังคับเครื่องยนต์ให้ยานพาหนะเคลื่อนที่ไปได้.

วิกัติการก

หมายถึง[วิกัดติ-] (ไว) น. คำที่อธิบายตำแหน่งของบทการกข้างหน้าให้ชัดเจนยิ่งขึ้น เช่น เด็กนักเรียนนอน เขาเดินมากับนายมีคนใช้, คำที่เป็นบทช่วยวิกตรรถกริยาและเรียงไว้หลังวิกตรรถกริยา “เป็น” หรือ “คือ” เช่น เขาเป็นนักกีฬา เขาคือนักกีฬา.

เมา

หมายถึงก. อาการที่มึนจนลืมตัวขาดสติเพราะฤทธิ์เหล้าฤทธิ์ยาเป็นต้น เช่น เมาเหล้า เมากัญชา, มีอาการวิงเวียนคลื่นเหียนอาเจียนเพราะโดยสารเรือ รถ เครื่องบิน เป็นต้น เช่น เมาเรือ เมารถ เมาเครื่องบิน, ลุ่มหลงจนลืมตัวเพราะมียศมีอำนาจเป็นต้น เช่น เมายศ เมาอำนาจ.

สุดกู่

หมายถึงว. ไกลมากจนไม่ได้ยินเสียงกู่ เช่น เขาไปปลูกบ้านเสียจนสุดกู่, อยู่ท้าย ๆ เช่น สอบได้ที่สุดกู่ จอดรถไว้สุดกู่.

โดยสาร

หมายถึงก. อาศัยไปด้วย เช่น โดยสารเรือ, เดินทางไปโดยยานพาหนะโดยเสียค่าโดยสาร, เรียกคนที่ใช้รถหรือเรือรับจ้างว่า คนโดยสาร. (ข.).

เห่อ

หมายถึงก. แสดงอาการตื่นเต้นยินดีมากจนออกนอกหน้า เช่น เห่อรถ เห่อเสื้อผ้าใหม่, ลำพองใจ เช่น เห่อยศ เห่ออำนาจ.

ทึบ

หมายถึงว. มีลมอากาศหรือแสงสว่างเข้าออกไม่ได้หรือไม่เพียงพอ เช่น ห้องทึบ ผนังทึบ ตู้ทึบ ป่าทึบ, ไม่โปร่งแสง เช่น เป็นแท่งทึบ; ไม่โปร่ง, หนาแน่น, เช่น ลายทึบ; โดยปริยายหมายความว่า โง่มาก เช่น ปัญญาทึบ สมองทึบ.

กัก

หมายถึงก. ไม่ให้ล่วงพ้นเขตที่กำหนดไว้, กำหนดเขตให้อยู่, เช่น กักตัว, กักกัน ก็ว่า; ยึดไว้, ไม่ปล่อยไป, เช่น กักรถ กักนํ้า. ว. หยุดชะงัก เช่น หยุดกัก.

อีโหลกโขลกเขลก

หมายถึง[-โหฺลกโขฺลกเขฺลก] ว. อาการที่ยานพาหนะเป็นต้นเคลื่อนที่ไปอย่างทุลักทุเล เช่น นั่งรถอีโหลกโขลกเขลกมาทั้งวัน, ไม่เป็นโล้เป็นพาย, ไม่เป็นชิ้นเป็นอัน, เช่น ใช้ชีวิตอีโหลกโขลกเขลกไปวันหนึ่ง ๆ.

เจ้ากรรม

หมายถึงน. ผู้เคยมีกรรมมีเวรต่อกันมาแต่ชาติก่อน, เจ้ากรรมนายเวร ก็ว่า. ว. ที่ทำให้ผิดหวังหรือได้รับความเดือดร้อน เช่น รถเจ้ากรรมเกิดเสียขึ้นกลางทางเลยไปไม่ทัน เด็กเจ้ากรรมวิ่งมาชนเกือบหกล้ม. อ. คำกล่าวแสดงความผิดหวังเพราะเกิดอุบัติเหตุโดยไม่คาดคิดมาก่อนเป็นต้น เช่น เจ้ากรรมแท้ ๆ รถมาเสียเอาตอนฝนตกเสียด้วย.

เม็ดมะยม

หมายถึงน. ปุ่มสำหรับตั้งเวลาหรือบางทีก็ใช้ไขลานนาฬิกาข้อมือหรือนาฬิกาพกด้วย; ปุ่มมีลักษณะเป็นพู ๆ โดยรอบคล้ายลูกมะยม สำหรับมือจับปิดเปิดประตูตู้หรือลิ้นชัก.

ลงขัน

หมายถึงก. เอาเงินใส่ลงในขันเป็นต้นเพื่อช่วยในงานต่าง ๆ เช่น งานตัดจุก, ช่วยกันออกเงินเพื่อการใดการหนึ่ง เช่น ลงขันซื้อตู้เย็นไว้ใช้เป็นส่วนกลาง ลงขันเพื่อรวมเงินเป็นค่าอาหารในเวลาเดินทาง.

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ