ตัวกรองผลการค้นหา
กระลายกระลอก
หมายถึง[-หฺลอก] (โบ; กลอน; แผลงมาจาก กลายกลอก) ก. สับสน เช่น เสือสีห์หมีควาย กระลายกระลอกซอกซอน. (สมุทรโฆษ).
กระหย่อน
หมายถึง(โบ) ก. ขย้อน คือ อาการขยับขึ้นขยับลง เช่น พระยานั่งอยู่แลกระหย่อนองค์โลดขึ้นทั้งนั้นก็ดี ขึ้นสูงได้ ๑๘ ศอก. (ไตรภูมิ; สรรพสิทธิ์; พงศ. เหนือ), กระย่อน ก็ว่า.
กระเหน็จ
หมายถึง(โบ) น. วิธี, อย่าง, อุบาย, เช่น กลกระเหน็จต่าง ๆ. (ม. คำหลวง นครกัณฑ์).
กรัก
หมายถึง[กฺรัก] น. แก่นขนุนใช้ย้อมผ้า; (โบ) โรงกรัก คือ โรงที่ต้มกรักในวัด. (ตะเลง ว่า แก่นไม้; ข. กราก่ ว่า แก่นขนุน).
กราบ
หมายถึง[กฺราบ] (โบ) ว. ตราบ เช่น กราบเท่ากัลปาวสาน. (พงศ. อยุธยา).
กราบพระ
หมายถึง(โบ) น. ผ้ากราบ.
กรามพลู
หมายถึง[กฺรามพฺลู] (โบ) น. กานพลู เช่น แห้วหมูพิชกรามพลูก็มี. (ม. คำหลวง มหาพน). (เทียบทมิฬ กฺรามปู).
กราล
หมายถึง[กฺราน] (โบ) ดู กราน ๒.
กรึกถอง
หมายถึง[กรึกฺถองฺ] (โบ) ว. มากมาย, ตรึกถอง ก็ใช้.
กฤดา,กฤดาการ
หมายถึง[กฺริดา, กฺริดากาน] (โบ; กลอน) น. บารมีอันยิ่งที่ทำไว้ (กร่อนมาจาก กฤดาธิการ) เช่น ทรงพระกฤดาเดชานุภาพยิ่งทวีขึ้น. (พงศ. อยุธยา), ผู้ใดมีบุญญากฤดาการ. (เสภาสุนทรภู่).
กฤษฎีกา
หมายถึง[กฺริดสะ-] น. แผลงมาจาก กติกา เช่น ก็รับพระกฤษฎีกากำหนดแห่งพระดาบสว่าสาธุแล. (ม. คำหลวง วนปเวสน์); (กฎ) บทกฎหมายซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงตราขึ้น เพื่อใช้ในการบริหาร เรียกว่า พระราชกฤษฎีกา; ชื่อคณะกรรมการประกอบด้วยกรรมการร่างกฎหมายและกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์ รวมเรียกว่า คณะกรรมการกฤษฎีกา; (กฎ; โบ) พระราชโองการที่มีลักษณะเป็นกฎหมาย.
กลู่
หมายถึง[กฺลู่] (โบ; กลอน) ก. เกลื่อน, ใช้เข้าคู่กับคำ กลาด เช่น โกยกลู่กลาดคือลาญใน. (ม. คำหลวง จุลพน).