ตัวกรองผลการค้นหา
รัษฎากร
หมายถึง[รัดสะ-] น. รายได้ของแผ่นดิน; (กฎ) ภาษีอากรประเภทต่าง ๆ ที่เรียกเก็บตามประมวลรัษฎากร. (เพี้ยนมาจาก ส. ราษฺฏฺร + อากร หมายความว่า อากรของประเทศ).
มหาบพิตร
หมายถึง[-บอพิด] น. เดิมเป็นคำพระสงฆ์ใช้สำหรับแทนพระนามพระเจ้าแผ่นดินหรือพระมเหสี, ปัจจุบันใช้ว่า บรมบพิตร หรือ สมเด็จบรมบพิตร.
สมสัก
หมายถึง(โบ) น. เรียกชายที่มีอายุตั้งแต่ ๑๘ ปี นับว่าเป็นชายฉกรรจ์ควรจะสักข้อมือประจำการรับราชการแผ่นดินว่า เลกสมสัก.
เสด็จ
หมายถึง[สะเด็ด] น. คำเรียกเจ้านายชั้นพระองค์เจ้าที่เป็นลูกเธอและหลานเธอซึ่งพระอัยกาเป็นพระเจ้าแผ่นดิน. (ราชา) ก. ไป เช่น เสด็จประพาส, อยู่ เช่น เสด็จประทับ.
บาทบงกช
หมายถึง[บาดทะบงกด, บาดบงกด] น. บัวบาท, บัวรองเท้า, หมายความว่า เท้าพระพุทธเจ้าหรือพระเจ้าแผ่นดิน. (ป., ส. ปาทปงฺกช).
ปราบดาภิเษก
หมายถึง[ปฺราบดาพิเสก] ว. มีอภิเษกอันถึงแล้ว. น. พระราชพิธีอภิเษกของพระเจ้าแผ่นดินซึ่งได้ราชสมบัติมาด้วยการรบชนะข้าศึก. (ส. ปฺราปฺต + อภิเษก).
ท้าว
หมายถึงน. ผู้เป็นใหญ่, พระเจ้าแผ่นดิน, (โดยมากใช้ในบทกลอน); ตำแหน่งบรรดาศักดิ์ข้าราชการฝ่ายใน; (ถิ่น-อีสาน) คำประกอบชื่อผู้ชายที่เป็นเชื้อสายเจ้าหรือขุนนาง.
ที่ดิน
หมายถึงน. ผืนแผ่นดินหรือพื้นดิน; (กฎ) พื้นที่ดินทั่วไป และหมายความรวมถึง ภูเขา ห้วย หนอง คลอง บึง บาง ลำนํ้า ทะเลสาบ เกาะ และที่ชายทะเลด้วย.
บรมบพิตร
หมายถึง[บอรมมะบอพิด] น. คำที่พระสงฆ์ใช้สำหรับแทนพระนามพระเจ้าแผ่นดินหรือพระมเหสี, เดิมใช้ว่า มหาบพิตร.
มหาอุปราช
หมายถึง[มะหาอุปะหฺราด, -อุบปะหฺราด] (โบ) น. ตำแหน่งรองพระเจ้าแผ่นดิน, เรียกกันอย่างสามัญว่า วังหน้า; ตำแหน่งขุนนางทำหน้าที่มุขมนตรี.
แยก
หมายถึงก. ทำให้สิ่งที่รวมกันอยู่หรือประกอบกันอยู่ออกจากกัน เช่น แยกกลุ่มประชุม แยกกล้วยไม้, กิริยาของสิ่งที่รวมกันอยู่หรือประกอบกันอยู่แตกออกจากกัน เช่น แผ่นดินแยก, แตกหรือทำให้แตกออกเป็นทาง เช่น แม่นํ้าแยก ทางแยก, ไม่รวมกัน เช่น แยกกันอยู่.
ไอศวรรย์
หมายถึง[ไอสะหฺวัน] น. ความเป็นเจ้าเป็นใหญ่, ความเป็นพระเจ้าแผ่นดิน; อำนาจ; (กลอน) สมบัติแห่งพระราชาธิบดี, ใช้ว่า ไอศุริย หรือ ไอศูรย์ ก็มี. (ส. ไอศฺวรฺย; ป. อิสฺสริย).