ค้นเจอ 230 รายการ

ปล่อย

หมายถึง[ปฺล่อย] ก. ทำให้ออกจากสิ่งที่ติดอยู่ ผูกอยู่ หรือข้องอยู่ เป็นต้น เช่น ปล่อยนักโทษ ปล่อยนก; ยอมให้ เช่น ปล่อยให้เข้ามา; ละเลย เช่น ปล่อยให้บ้านรกรุงรัง ปล่อยให้นํ้าล้น; (ปาก) โดยปริยายหมายถึง ขาย เช่น ที่ที่ซื้อไว้ปล่อยไปแล้วราคา ๕ ล้านบาท.

อิทธิพล

หมายถึงน. กำลังที่ยังผลให้สำเร็จ, อำนาจซึ่งแฝงอยู่ในบุคคลหรือรัฐ ซึ่งสามารถบันดาลให้เป็นไปตามความประสงค์, อำนาจที่สามารถบันดาลให้ผู้อื่นต้องคล้อยตามหรือทำตาม, อำนาจที่สามารถบันดาลให้เป็นไปได้ต่าง ๆ เช่น อิทธิพลของดวงดาว, อำนาจนอกเหนือหน้าที่ เช่น ใช้อิทธิพลบังคับให้ยอม.

เสียน้อยเสียยาก เสียมากเสียง่าย

หมายถึง(สำ) ก. เสียเพียงเล็กน้อยไม่ยอมเสีย ทำให้ต้องเสียมากกว่าเดิม เช่น ตอนที่เบรกรถยนต์เริ่มไม่ดี ก็ไม่รีบไปซ่อม พอเบรกแตกไปชนต้นไม้เข้า เลยต้องเสียค่าซ่อมมาก เข้าทำนองเสียน้อยเสียยาก เสียมากเสียง่าย.

สินสอด

หมายถึงน. เงินที่ฝ่ายชายให้แก่บิดามารดาหญิงที่จะแต่งงานเป็นค่านํ้านม ข้าวป้อน; (กฎ) ทรัพย์สินซึ่งฝ่ายชายให้แก่บิดามารดา ผู้รับบุตรบุญธรรมหรือผู้ปกครองฝ่ายหญิง แล้วแต่กรณี เพื่อตอบแทนการที่หญิงยอมสมรส; (โบ) สินบน.

เสือซ่อนเล็บ

หมายถึง(สำ) น. ผู้ที่มีความเก่งกล้าสามารถแต่ไม่ยอมแสดงออกมาให้ปรากฏ, ผู้มีเล่ห์กลอยู่ในใจ, ผู้เก็บความรู้สึกไว้ได้ดี; ชื่อเรียกอาวุธชนิดหนึ่ง อย่างมีดพก ๒ เล่ม สอดประกบกันสนิทดูเหมือนว่าเป็นไม้แท่งเดียว.

ฟาดเคราะห์

หมายถึงก. ทำพิธีปัดสิ่งชั่วร้ายให้ไปจากตัว, สละสิ่งใดสิ่งหนึ่งเพื่อให้เคราะห์สูญหายไป; (ปาก) ตัดใจยอมเสียสิ่งใดสิ่งหนึ่งไปเพื่อให้หมดเคราะห์ หรือตัดใจคิดว่าสิ่งที่เสียไปแล้วเป็นการทำให้หมดเคราะห์ ในความเช่น นึกว่าฟาดเคราะห์.

อุบ

หมายถึงก. นิ่งไว้ไม่เปิดเผย เช่น เรื่องนี้อุบไว้ก่อน; ถือเอา, ริบเอา, เช่น อุบเอามาเป็นของตน, ไม่ยอมให้เปลี่ยนแปลง เช่น ที่รับปากไว้แล้ว อุบละนะ. ว. อาการที่พูดหรือบ่นเบา ๆ เป็นต้น เช่น ด่าอุบ บ่นอุบ, อุบอิบ อุบอิบ ๆ หรือ อุบ ๆ อิบ ๆ ก็ว่า.

วางทรัพย์

หมายถึง(กฎ) น. การที่บุคคลผู้ชำระหนี้นำทรัพย์อันเป็นวัตถุแห่งหนี้ไปวางไว้ ณ สำนักงานวางทรัพย์ประจำตำบลที่จะต้องชำระหนี้เพื่อประโยชน์แก่เจ้าหนี้ ในกรณีที่เจ้าหนี้บอกปัดไม่ยอมรับชำระหนี้หรือไม่สามารถจะรับชำระหนี้ได้ เพื่อให้หลุดพ้นจากหนี้นั้น.

จ๊อก

หมายถึงว. เสียงร้องของไก่เมื่อเวลาเจ็บหรือใกล้จะตาย, เสียงร้องของไก่ชนตัวที่แพ้, โดยปริยายหมายความว่า ยอมแพ้, ใช้ตามสำนวนนักเลงไก่ เพราะไก่ตัวใดร้องจ๊อก ก็แสดงว่าไก่ตัวนั้นแพ้; เสียงท้องร้องเวลาหิว, จ๊อก ๆ ก็ว่า.

แข็ง

หมายถึงว. กระด้าง เช่น ลิ้นแข็ง; ไม่อ่อน, ไม่นิ่ม, เช่น เนื้อแข็ง ของแข็ง; กล้า เช่น แดดแข็ง; ไม่ยอมง่าย ๆ, ไม่รู้สึกสงสาร, เช่น ใจแข็ง; แรง เช่น วันแข็ง ชะตาแข็ง, เข้มแข็ง, ทนทาน, เก่ง, เช่น ทำงานแข็ง วิ่งแข็ง; ว่ายาก เช่น เด็กคนนี้แข็ง; นิ่งไม่ไหวติง, ไม่กระดิกกระเดี้ย, เช่น ขาแข็ง ตัวแข็ง.

อ่อน

หมายถึงว. ไม่กระด้าง เช่น ลิ้นอ่อน; นิ่ม เช่น เนื้ออ่อน; ไม่จัด เช่น แดดอ่อน; ไม่แข็ง, ยอมง่าย ๆ, รู้สึกสงสาร, เช่น ใจอ่อน; ไม่แก่ เช่น มะพร้าวอ่อน; หย่อน เช่น อ่อนเค็ม, น้อย เช่น เหลืองอ่อน, ไม่แรง เช่น ไฟอ่อน, อายุยังน้อย เช่น ไก่อ่อน, ยังเล็กอยู่ เช่น เด็กอ่อน; ละมุนละม่อม, ดัดง่าย, เปลี่ยนแปลงง่าย.

ผ่าน

หมายถึงก. ล่วงจุดใดจุดหนึ่งไป เช่น รถผ่านสนามหลวง, อาการที่เคลื่อนจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่ง เช่น รถสายนี้ผ่านสามย่าน สีลม, ล่วงเลย เช่น เวลาผ่านไป ๕ ปี; โดยปริยายหมายความว่า เคย เช่น ผ่านตามาแล้ว ผ่านหูมาก่อน หรือ ชำนาญเชี่ยวชาญ เช่น ผ่านงานมามาก ผ่านศึกมาหลายครั้ง, ยอมให้ก่อน เช่น ผ่านไปก่อน, ยอมให้ล่วงเข้าไปได้ เช่น บัตรผ่านประตู, สอบได้ เช่น ผ่านชั้นประถมปีที่ ๑ แล้ว, ได้รับความเห็นชอบ เช่น พระราชบัญญัติงบประมาณผ่านสภาแล้ว, ตัดทาง, ลัดทาง, เช่น ห้ามเดินผ่านสนาม, ข้าม เช่น ไฟแดงห้ามผ่าน มองผ่านไป, เปลี่ยน เช่น ผ่านมือ, ครอบครอง เช่น ผ่านเมือง, บอกราคาสูงเกินไป ในความว่า บอกราคาผ่านมากไป, ล่วงพ้นไป เช่น เวลาผ่านไป. ว. เรียกม้าที่มีลายขาวขวางพาดตัวว่า ม้าผ่าน; ถ้าประกอบหน้านามบางคำหมายความว่า พระเจ้าแผ่นดิน เช่น ผ่านเกล้าฯ ผ่านเผ้า ผ่านพิภพ ผ่านฟ้า.

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ