ค้นเจอ 216 รายการ

พิมพ,พิมพ-,พิมพ์

หมายถึง[พิมพะ-] น. รูป, รูปร่าง, แบบ, เช่น หยอดวุ้นลงในพิมพ์ หน้าตาเป็นพิมพ์เดียวกัน. ก. ถ่ายแบบ, ใช้เครื่องจักรกดตัวหนังสือหรือภาพเป็นต้นให้ติดบนวัตถุ เช่นแผ่นกระดาษ ผ้า, เช่น พิมพ์ผ้า พิมพ์ขนมเป็นรูปต่าง ๆ, (กฎ) ทำให้เป็นตัวหนังสือหรือรูปรอยอย่างใด ๆ โดยการกดหรือการใช้พิมพ์หิน เครื่องกล วิธีเคมี หรือวิธีอื่นใดอันอาจให้เกิดเป็นสิ่งพิมพ์ขึ้นหลายสำเนา. (ป., ส.).

กฎ

หมายถึง[กด] (โบ) ก. จดไว้เป็นหลักฐาน เช่น ให้นายยกกระบัตรกฎปากหลากคำไว้. (กฎหมายอายัดทาส), ตรา เช่น ตรัสแก่ขุนศรีภูริปรีชาให้กฎเป็นตำราไว้. (อัยการเบ็ดเสร็จ), “พระมหาธรรมราชาก็ตรัสให้กฎลงมาให้เอาพระยารามเป็นพระยาพิชัย”. (พงศ. ๑๑๓๖). (เทียบ ข. กต่ ว่า จด). น. คำบังคับ เช่น จึ่งสมเด็จพระมหินทราธิราชเจ้าแผ่นดินก็ตรัสให้ทำตามกฎให้ลงมานั้นทุกประการ. (พงศ. ๑๑๓๖); (กฎ) ข้อกำหนดหรือข้อบัญญัติที่บังคับให้ต้องมีการปฏิบัติตาม เช่น กฎกระทรวง กฎหมาย; (วิทยา) ข้อกำหนดในเรื่องธรรมชาติตามที่ค้นคว้าได้. (อ. law).

แบบ

หมายถึงน. สิ่งที่กำหนดให้ถือเป็นหลักหรือเป็นแนวดำเนิน, ตัวอย่าง เช่น ลอกแบบ เลียนแบบ; อย่าง เช่น คนแบบนี้; ตำรา เช่น แบบเรียน; รูปลักษณะ เช่น แบบเสื้อ แบบบ้าน; สิ่งที่แกะหรือสลักเป็นต้นให้เป็นรอยลึกลงไป หรือนูนขึ้นมาเพื่อใช้เป็นแม่พิมพ์; ใบตองซ้อนกันหลาย ๆ ชั้น แล้วใช้มีดเจียนให้เป็นแผ่นกลม ใช้ไม้กลัดกลัดไว้ สำหรับรองขนมบางชนิด เช่น ขนมลืมกลืน หรือตัดให้เป็นรูปต่าง ๆ ใช้รองเย็บกลีบดอกไม้มีดอกบานบุรีเป็นต้น เย็บเป็นดอกไม้ประดิษฐ์.

ดวง

หมายถึงน. คำเรียกสิ่งที่มีลักษณะเป็นรูปกลม ๆ หรือที่เห็นเป็นวง ๆ เช่น ดวงดาว ดวงไฟ ดวงตรา ดวงกสิณ, และบางสิ่งที่ไม่มีรูป เช่น ดวงชีวิต ดวงวิญญาณ; ลักษณนามเรียก จิต วิญญาณ หรือสิ่งที่มีแสงสว่าง เช่น ดาว ไฟฟ้า ตะเกียง ว่า ดวง; ใช้ประกอบคำอื่นเป็นคำเปรียบเทียบ เช่น ดวงใจ ดวงตา ดวงสมร หมายความถึงสิ่งที่เป็นที่รักยิ่ง หญิงที่รัก หรือ ลูกที่รัก; แบบรูปราศีที่บอกดาวพระเคราะห์เดินถึงราศีนั้น ๆ ในเวลาเกิดของคนหรือเวลาสร้างสิ่งสำคัญ เช่นบ้านเมืองเป็นต้นที่โหรคำนวณไว้โดยแบ่งเป็น ๑๒ ราศี เรียกว่า ดวง ซึ่งเป็นคำตัดมาจาก ดวงชะตา.

ตี

หมายถึงก. เอามือหรือไม้เป็นต้นฟาดหรือเข่นลงไป เช่น ตีเด็ก ตีดาบ, ตบเบา ๆ เช่น นอนตีพุง; บุให้เข้ารูป เช่น ตีขัน ตีบาตร; แผ่ให้แบน เช่น ตีทอง; ทำให้เกิดเสียง เช่น ตีระฆัง; กด, ประทับ, เช่น ตีพิมพ์ ตีตรา; ทำให้เข้ากัน เช่น ตีเกลียวเชือก ตีไข่; กำหนด เช่น ตีราคา; ทิ้งให้เห็น เช่น ตีไพ่; ชักว่าวให้ไปในทิศทางที่ตนต้องการ เช่น ตีว่าวไปทางซ้าย ตีว่าวหนี ตีว่าวแยกกัน. น. วิธีนับเวลาตามประเพณีในเวลากลางคืน หลังเที่ยงคืน ตั้งแต่ ๑ นาฬิกา ถึง ๖ นาฬิกา เรียกว่า ตี ๑ ถึง ตี ๖, แต่ตี ๖ นิยมเรียกว่า ยํ่ารุ่ง.

มอด

หมายถึงน. ชื่อแมลงขนาดเล็กหลายชนิดในหลายวงศ์ที่เจาะกินเข้าไปในวัสดุต่าง ๆ ทำให้เกิดเป็นรูพรุนทั่วไปกับทั้งมีวัสดุผสมมูลขับถ่ายออกมาเป็นขุยเป็นเม็ดเล็ก ๆ เรียก ขี้มอด ส่วนใหญ่เป็นแมลงปีกแข็ง เช่น มอดข้าวสาร (Sitophilus oryzae) ในวงศ์ Curculionidae ทำลายข้าวสาร, มอดไม้ไผ่ (Dinoderus minutus) ในวงศ์ Bostrychidae เจาะไม้ไผ่แห้งเป็นรูเท่ารูเข็มกระจายทั่วไป; เรียกหน้าที่เป็นรอย ๆ อย่างมอดเจาะเช่นหน้าคนที่เป็นฝีดาษว่า หน้ามอด.

สัก

หมายถึงก. เอาของแหลมแทงลงด้วยวิธีการหรือเพื่อประโยชน์ต่าง ๆ กัน เช่น สักปลาไหล สักหาของในนํ้า สักรอยชํ้าเพื่อรีดเอาเลือดที่คั่งออก, ใช้เหล็กแหลมจุ้มหมึกหรือนํ้ามันแทงที่ผิวหนังให้เป็นอักขระเครื่องหมาย หรือลวดลาย, ถ้าใช้หมึก เรียกว่า สักหมึก, ถ้าใช้นํ้ามัน เรียกว่า สักนํ้ามัน, (โบ) ทำเครื่องหมายโดยใช้เหล็กแหลมจุ้มหมึกแทงที่ผิวหนังเพื่อแสดงเป็นหลักฐาน เช่น สักข้อมือ แสดงว่าได้ขึ้นทะเบียนเป็นชายฉกรรจ์หรือเป็นเลกมีสังกัดกรมกองแล้ว สักหน้า แสดงว่าเป็นผู้ที่ต้องโทษปาราชิกเป็นต้น.

ปั๊ม

หมายถึงก. ใช้เครื่องที่เป็นแบบพิมพ์ตอกลงหรือกดลงบนกระดาษหรือโลหะเป็นต้นให้มีรูปหรือลวดลายตามแบบพิมพ์นั้น เช่น ปั๊มตรา ปั๊มกระดุม, โดยปริยายหมายถึงอาการที่คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น ปั๊มแบงก์ ปั๊มเงิน; ใช้เครื่องสูบหรือดูดของเหลวหรือแก๊ส เช่น ปั๊มน้ำ ปั๊มลม, ใช้เครื่องช่วยทำให้หัวใจกลับเต้นเป็นปรกติ เรียกว่า ปั๊มหัวใจ. น. เรียกเครื่องยนต์สำหรับสูบน้ำว่า เครื่องปั๊มน้ำ, เรียกเครื่องยนต์สำหรับสูบลมหรือแก๊สว่า เครื่องปั๊มลม, เรียกเครื่องอุปกรณ์ที่ช่วยทำให้หัวใจกลับเต้นเป็นปรกติว่า เครื่องปั๊มหัวใจ; (ปาก) สถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิง, เรียกเต็มว่า ปั๊มน้ำมัน.

เลีย

หมายถึงก. แลบลิ้นกวาดบนสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เช่น เลียริมฝีปาก หมาเลียแผล แมวเลียขน; เรียกอาการของความร้อนหรือสิ่งที่เป็นเปลวเช่นไฟที่แลบออกมากระทบสิ่งใดแล้วทำให้สิ่งนั้นไหม้ แห้ง หรือซีดเผือดไป เช่น ผ้าถูกแดดเลียสี ฝาบ้านถูกไฟเลียเป็นรอยไหม้; เรียกผมตอนเหนือท้ายทอยของเด็กอ่อนที่นอนพลิกตะแคงตัวยังไม่ได้ มีลักษณะแหว่งเป็นแถบยาวตามขวาง คล้ายมีอะไรมากัดแทะไป ว่า ถูกผ้าอ้อมเลีย หรือ ผ้าอ้อมกัด; (ปาก) โดยปริยายเรียกกิริยาประจบประแจงด้วยอาการดูประหนึ่งว่าเป็นอย่างสุนัขเลียแข้งเลียขาเพื่อให้นายรัก.

ติด

หมายถึงก. อาการที่ข้องอยู่ เช่น ติดอยู่ในโลก ติดอยู่ในกิเลส; ประดับ เช่น ติดเหรียญ ติดตรา เอาดอกไม้ติดผม; แนบอยู่ เช่น เนื้อติดมัน เนื้อติดกระดูก; ทำให้เกิดขัดอยู่หรือข้องอยู่จนไม่อาจให้เคลื่อนไปได้ เช่น ติดขบวนแห่ ติดไฟแดง ติดฝน; ชอบอย่างขาดไม่ได้ เช่น ติดบุหรี่ ติดฝิ่น; อาศัยไปด้วยหรือมาด้วย เช่น ติดรถไปด้วย; ผนึก เช่น ติดแสตมป์ ติดประกาศ ติดกาว; จุด เช่น ติดไฟ ติดตะเกียง ติดเตาฟู่; ต่อเนื่องอย่างใกล้ชิด เช่น ห้องติดกัน; ได้รับเชื้อโรค เช่น ติดหิด; คงอยู่หรือทำให้คงอยู่ เช่น สีติดเสื้อ เสื้อติดสี; ไม่ร่วง, ไม่หลุด, (ใช้แก่ผลไม้) เช่น มะม่วงปีนี้ติดมาก; อยู่ในที่คุมขัง เช่น ติดคุก ติดตะราง; กักบริเวณ เช่น ติดสนม; คล้าย, ใกล้ข้าง, เช่น หน้าตาติดไปทางพ่อ; (ปาก) มีหนี้สินติดค้างกันอยู่ เช่น ติดเงิน.

ขมวน

หมายถึง[ขะหฺมวน] น. ชื่อหนอนของแมลงพวกด้วงปีกแข็งที่กินปลาแห้ง เนื้อแห้ง และอาหารแห้งอื่น ๆ โดยทิ้งรอยให้เห็นเป็นขุยเล็ก ๆ ออกมา เรียกว่า ขี้ขมวน ตัวหนอนมักจะมีสีครีมหรือนํ้าตาลอ่อน ที่พบบ่อยได้แก่ ชนิด Dermestes maculatus ในวงศ์ Dermestidae ซึ่งเมื่อเป็นตัวเต็มวัยจะเป็นด้วงที่มีลำตัวยาวประมาณ ๗ มิลลิเมตร ตัวสีดำ ท้องสีขาวหม่นและมีเส้นสีดำเป็นลายพาดตามขวาง. ว. ผุ, ยุ่ย, ใช้แก่เนื้อแห้งปลาแห้งเป็นต้นที่เก็บไว้นาน ๆ ซึ่งเกิดจากเชื้อราหรือตัวขมวนกัดกิน เช่น ปลาเป็นขมวน เนื้อเป็นขมวน.

กระหม่อม

หมายถึงน. ส่วนของกะโหลกอยู่ตรงแนวศีรษะแต่ตํ่ากว่าส่วนสูงสุดลงมาใกล้หน้าผาก ในเด็กแรกเกิดจนถึง ๒ ขวบส่วนนี้จะมีเนื้อเยื่ออ่อนปิดรอยประสานกะโหลกที่ยังเปิดอยู่ หลังจากนั้นเนื้อเยื่ออ่อนนี้จะกลายเป็นกระดูก, โดยปริยายหมายรวม ๆ ว่า หัว เช่น เป่ากระหม่อม ลงกระหม่อม, ขม่อม ก็ว่า; คำสำหรับใช้ควบกับคำที่ขึ้นต้น ว่า “เกล้า” เช่น ทราบเกล้าทราบกระหม่อม ทูลเกล้าทูลกระหม่อม ในการเขียนหนังสือใช้ไปยาลน้อยแทน เช่น ทราบเกล้าฯ ทูลเกล้าฯ. ส. คำใช้แทนตัวผู้พูด เพศชาย เพ็ดทูลเจ้านายชั้นหม่อมเจ้า และพระวรวงศ์เธอที่มิได้ทรงกรม, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๑. (ราชา) ว. คำรับหรือคำลงท้ายที่ผู้ชายใช้เพ็ดทูลเจ้านายชั้นหม่อมเจ้า. (ย่อมาจาก ขอรับกระหม่อม). (แผลงมาจาก ขม่อม).

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ