ตัวกรองผลการค้นหา
ประแอก
หมายถึงน. เชือกหรือลวดหนังตีเป็นเกลียวหุ้มผ้าแดง ปลายสายทั้ง ๒ ข้างผูกกับสายสำอางคร่อมอยู่ทางท้ายสันหลังช้าง สำหรับควาญช้างจับเมื่อเวลาคับขัน, กระแซง หรือ กระแอก ก็เรียก.
สายพาน
หมายถึงน. เส้นด้ายที่คล้องโยงในเครื่องไนหูก, สายหนังหรือสายยางเป็นต้นสำหรับคล้องโยงเครื่องยนต์ต่าง ๆ เพื่อพาให้หมุนไปด้วยกัน เช่น สายพานจักรเย็บผ้า สายพานพัดลมเป่าหม้อน้ำรถยนต์.
ตระบอง
หมายถึง[ตฺระ-] น. ตะบอง เช่น ครั้นพ้นขึ้นมาเปนเปรตถือตระบองเหลกลุกเปนเปลวเพลิง. (สามดวง), กระบอง ก็ว่า.
กระแอก
หมายถึงน. เชือกหรือลวดหนังตีเป็นเกลียวหุ้มผ้าแดง ปลายสายทั้ง ๒ ข้างผูกกับสายสำอางคร่อมอยู่ทางท้ายสันหลังช้าง สำหรับควาญช้างจับเมื่อเวลาคับขัน, กระแซง หรือ ประแอก ก็เรียก.
ผ่อน
หมายถึงก. ทำให้หย่อนหรือคลายความตึง เช่น ผ่อนสายป่านว่าว ผ่อนหนี้ ผ่อนอารมณ์.
สายระเดียง
หมายถึงน. หวายหรือสายลวดเป็นต้นที่ขึงสำหรับตากผ้า (ใช้แก่ภิกษุสามเณร).
กลางทาสี
หมายถึง(กฎ; โบ) น. เรียกหญิงที่มีทุกข์ยาก ชายช่วยไถ่มาเลี้ยงเป็นเมีย ว่า เมียกลางทาสี. (สามดวง).
สะพัด
หมายถึง(วรรณ) ก. ผูก, คาด, ล้อม, เช่น ครั้นราตรีดึกสงัด เขาก็สะพัดสามรอบ. (ลอ), กระพัด ก็ว่า.
กระแซง
หมายถึงน. เชือกหรือลวดหนังตีเป็นเกลียวหุ้มผ้าแดง ปลายสายทั้ง ๒ ข้างผูกกับสายสำอางคร่อมอยู่ทางท้ายสันหลังช้าง สำหรับควาญช้างจับเมื่อเวลาคับขัน, กระแอก หรือ ประแอก ก็เรียก.
ตองเปรียง
หมายถึง[-เปฺรียง] น. จองเปรียง คือพิธีอย่างหนึ่งของพราหมณ์ เป็นพิธีจุดโคมรับพระเจ้า ทำในวันเพ็ญเดือน ๑๒. (สามดวง).
สามเส้า
หมายถึงก. อาการที่นกเขาขันคูเป็น ๓ จังหวะ, สามกุก ก็ว่า. (พจน. ๒๔๙๓); ชื่อเพลงไทยทำนองหนึ่ง.
เข้าเครื่อง
หมายถึงก. สวมใส่เครื่องแต่งตัวโขน ละคร ลิเกตัวสำคัญ ๆ; คำพูดสำหรับว่าว หมายความว่า ผูกเหนียง ผูกติ่ง, ถ้าสายป่านของว่าวปักเป้าตรงช่วงสายเหนียงติดเครื่อง คือ ติดเหนียงและติ่ง เรียกว่า เหนียงเข้าเครื่อง, ถ้าสายป่านของว่าวจุฬาติดจำปา เรียกว่า ป่านเข้าเครื่อง.