ตัวกรองผลการค้นหา
ศีลธรรม
หมายถึง[สีนทำ, สีนละทำ] น. ความประพฤติที่ดีที่ชอบ, ศีลและธรรม, ธรรมในระดับศีล.
สีสวรรค์
หมายถึงน. สีสำหรับย้อมผ้าหรือกระดาษ ลักษณะเป็นผงละเอียด ละลายนํ้าได้ มีสมบัติติดทน และสีสดใส.
โซ่ง
หมายถึงน. ชาวไทยพวกหนึ่ง ผู้ชายนุ่งกางเกงสีดำหรือสีครามแก่ขาสั้นใต้เข่าเล็กน้อยและแคบ ผู้หญิงนุ่งซิ่นสีดำหรือสีครามแก่มีลายขาวเป็นทาง ๆ ลงมา, ซ่ง ซงดำ หรือ ไทยดำ ก็เรียก.
พญาลอ
หมายถึงน. ชื่อนกชนิด Lophura diardi ในวงศ์ Phasianidae ตัวผู้สีเทา ตะโพกสีแดงสด ขนหางยาวสีดำเหลือบเขียว ตัวเมียสีนํ้าตาล มีลายขวางสีดำ นกชนิดนี้ถือเป็นแบบฉบับของนกไก่ฟ้าในประเทศไทยมีชื่อสามัญว่า Siamese Fireback Pheasant, ไก่ฟ้าพญาลอ ก็เรียก.
ใบทอง
หมายถึงน. ชื่อเรียกใบเงินชนิด Graptophyllum pictum (L.) Griff. ที่ใบสีเขียว กลางใบสีเหลือง.
ธงเยาวราชใหญ่
หมายถึง(กฎ) น. ธงสำหรับองค์สมเด็จพระยุพราช มีลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส พื้นธงมี ๒ สี รอบนอกสีขาบ รอบในสีเหลืองกว้างยาวครึ่งหนึ่งของรอบนอก มีรูปพระครุฑพ่าห์สีแดงอยู่ตรงกลาง.
ละมุด
หมายถึงน. (๑) ชื่อไม้ต้น ๒ ชนิดในสกุล Manilkara วงศ์ Sapotaceae ผลสุกรสหวาน กินได้ คือ ละมุดฝรั่ง [M. zapota (L.) P. Royen] ผลสุกสีนํ้าตาล, ละมุดสีดา หรือ ละมุดไทย [M. kauki (L.) Dubard] ผลสุกสีแดงคลํ้า. (๒) เรียกขนุนพันธุ์ที่มียวงสีเหลือง เนื้อเหลว ว่า ขนุนละมุด. (ดู ขนุน ๑).
ไก่บ้าน
หมายถึงน. ชื่อไก่ชนิด Gallus gallus ในวงศ์ Phasianidae เป็นไก่ที่มีสายพันธุ์มาจากไก่ป่า แตกต่างจากไก่ป่าที่ขนลำตัวมีสีต่าง ๆ กัน เช่น สีดำ ขาว น้ำตาลอมแดง มีแข้งสีแตกต่างกัน เช่น สีเหลือง ขาว โดยที่ไก่ป่ามีสีเทาเข้ม การคัดและผสมพันธุ์ทำให้มีสายพันธุ์แตกต่างกันมาก เลี้ยงไว้ตามบ้านเพื่อเป็นอาหาร.
กสิณ
หมายถึง[กะสิน] น. สมถกรรมฐานหมวดหนึ่งว่าด้วยอารมณ์ที่กำหนดธาตุ ๔ คือ ปฐวี (ดิน) อาโป (นํ้า) เตโช (ไฟ) วาโย (ลม), ว่าด้วยวรรณะ (สี) ๔ คือ นีล (สีเขียว) ปีต (สีเหลือง) โลหิต (สีแดง) โอทาต (สีขาว), ว่าด้วยอากาศ (ที่ว่าง) และ อาโลก (แสงสว่าง) รวมเป็น ๑๐ อย่าง. (ป.).
ม้า
หมายถึงน. ชื่อปูทะเลชนิด Portunus pelagicus ในวงศ์ Portunidae กระดองสาก ตัวผู้สีออกนํ้าเงิน ตัวเมียสีออกนํ้าตาล.
มุตตา
หมายถึง[มุด-] น. ไข่มุก, โบราณหมายถึงแก้วชนิดหนึ่ง สีหมอกอ่อน ๆ คล้ายสีไข่มุก. (ป.; ส. มุกฺตา).
ระบายสี
หมายถึงก. ลงสี, แต้มสี, ป้ายสี, เช่น ระบายสีภาพทิวทัศน์ด้วยสีน้ำ; เสริมแต่งเกินความจริง เช่น เขาระบายสีข่าวเสียจนเชื่อไม่ลง. ว. ที่เสริมแต่งเกินความจริง เช่น ข่าวระบายสี.