ค้นเจอ 304 รายการ

เสาตะลุง

หมายถึงน. ไม้ท่อนกลม หัวเสากลึงเป็นรูปหัวเม็ดทรงมัณฑ์ ปักเป็นหลักคู่หนึ่ง สำหรับล่ามช้างหรือผูกช้างเครื่องยืนแท่น, ตะลุง ก็ว่า.

รื้อถอน

หมายถึงก. รื้อและถอนสิ่งปลูกสร้างแล้วโยกย้ายไป เช่น รื้อถอนบ้านเรือน; (กฎ) รื้อส่วนอันเป็นโครงสร้างของอาคาร เช่น เสา คาน ตง ออกไปให้หมด เช่น รื้อถอนบ้านเรือน.

ตะลุง

หมายถึงน. เรียกไม้ท่อนกลม หัวเสากลึงเป็นรูปหัวเม็ดทรงมัณฑ์ ปักเป็นหลักคู่หนึ่ง สำหรับล่ามช้างหรือผูกช้างเครื่องยืนแท่น ว่า เสาตะลุง.

นางแนบ

หมายถึงน. เสาหินคู่หนึ่ง สลักลวดลายตั้งแนบกรอบเช็ดหน้า สำหรับประดับตกแต่ง ๒ ข้างประตูปราสาทหินให้ดูงดงาม และมีส่วนช่วยค้ำจุนทับหลังด้วย, บังอวด ก็ว่า.

กะลาสี

หมายถึงน. ลูกเรือ. ว. อย่างเครื่องแต่งกายกะลาสีสมัยโบราณหรือพลทหารเรือปัจจุบัน เช่น หมวกกะลาสี เงื่อนกะลาสี คอเสื้อกะลาสี. (มลายู กะลาสิ จากคำอิหร่าน ขะลาสิ).

โพงพาง

หมายถึงน. เครื่องมือดักปลาชนิดหนึ่ง เป็นถุงตาข่ายรูปยาวรี ใช้ผูกกับเสาใหญ่ ๒ ต้นที่ปักขวางลำนํ้า สำหรับจับปลากุ้งทุกขนาด.

หัวเทียน

หมายถึงน. เดือยหัวเสาสำหรับรับขื่อ; กลอุปกรณ์ของเครื่องยนต์ซึ่งทำหน้าที่ให้ประกายไฟฟ้าในการจุดระเบิด เพื่อให้เกิดการเผาไหม้ไอเชื้อเพลิง ผสมอากาศภายในกระบอกสูบ.

ยึดหัวหาด

หมายถึงก. ยึดชายฝั่งทะเลซึ่งอยู่ในความครอบครองของข้าศึกเพื่อสะดวกในการยกพลขึ้นบก, โดยปริยายหมายถึงยึดจุดสำคัญหรือบุคคลสำคัญเป็นต้นเพื่อที่จะทำให้แผนการขั้นต่อไปประสบความสำเร็จ เช่น ต้องยึดหัวหาดในพรรคให้ได้ก่อน.

เรือเท้ง

หมายถึงน. เรือชนิดหนึ่งรูปร่างคล้ายเรือกำปั่น ตอนหัวหนาและงุ้มเป็นปากนก ท้ายเรือปาดลงเป็นรูปแตงโม มีเสาหัวและเสากลางสำหรับชักใบ กลางลำมีเก๋ง ท้ายเรือมีบาหลีรูปกลมและมีแคร่รอบบาหลีท้าย หัวเรือไม่เจาะรูสมอ; เรือต่อชนิดหนึ่งหัวท้ายทู่อย่างเรือที่ใช้หนุนเรือนแพ.

เรือกำปั่น

หมายถึงน. เรือเดินทะเลขนาดใหญ่ชนิดหนึ่ง หัวเรือเรียวแหลม ท้ายเรือมนและราบในระดับเดียวกับหัวเรือ, ถ้ามีเสายาวยื่นออกไปสำหรับผูกสายใบ มีเสากระโดง ๓ เสา มีใบ เรียกว่า เรือกำปั่นใบ, ถ้าเสากระโดงตรงกลางไม่มีปล่องไฟโดยใช้เดินด้วยกำลังเครื่องจักรไอน้ำ เรียกว่า เรือกำปั่นไฟ.

กระโดง

หมายถึงน. ใบเรือ เช่น เสากระโดง คือ เสาใบเรือ; ส่วนที่อยู่บนหลังปลาบางชนิด เช่น ปลากัด ปลาฉลาม มีลักษณะเป็นแผ่นตั้งคล้ายใบเรือ. (ข. โกฺฎง ว่า ใบเรือ).

กว่า

หมายถึง[กฺว่า] ว. เกิน เช่น กว่าบาท; เป็นคำใช้เปรียบเทียบในการประมาณ เช่น มากกว่า น้อยกว่า ดีกว่า, ย่อมพลกว่าพลแกว่น. (ม. คำหลวง มหาราช). บ. เลยไป, พ้นไป. สัน. ก่อน, ยังไม่ทัน, เช่น กว่าถั่วจะสุกงาก็ไหม้, มักใช้เข้าคู่กับคำ จะ...ก็ เป็น กว่าจะ...ก็ หรือ กว่า...จะ...ก็, โบราณใช้ว่า ยิ่ง ก็มี เช่น ใจกว่าห้วงอรรณพ. (ม. คำหลวง นครกัณฑ์); ใช้เป็นกริยาว่า ไปจาก ก็มี เช่น แทบทางที่จะกว่า. (ม. คำหลวง จุลพน), ผิออกนางธจะกว่า. (ม. คำหลวง กุมาร); ใช้เป็นวิเศษณ์ว่า จากไป ก็มี เช่น ลํ๋ตายหายกว่า. (จารึกสยาม).

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ