ตัวกรองผลการค้นหา
ท่องสื่อ
หมายถึงน. ตำแหน่งล่ามจีนครั้งโบราณ เช่น ขุนพจนาพิจิตร ท่องสื่อใหญ่. (พงศ. ร. ๓). (เทียบ จ. ท่อง ว่า ติดต่อ, สื่อ ว่า ธุระ, การงาน).
สัมฤทธิ,สัมฤทธิ-,สัมฤทธิ์
หมายถึง[สำริดทิ-, สำริด] น. ความสำเร็จ ในคำว่า สัมฤทธิผล; โลหะเจือชนิดหนึ่ง ส่วนใหญ่ประกอบด้วยทองแดงกับดีบุก, ทองสัมฤทธิ์ หรือ ทองบรอนซ์ ก็เรียก, โบราณเขียนว่า สำริด. (ส. สมฺฤทฺธิ; ป. สมิทฺธิ).
สุรัสวดี
หมายถึง[-รัดสะวะดี] น. สรัสวดี; ชื่อกรมในสมัยโบราณมีหน้าที่เกี่ยวกับการรวบรวมบัญชีเลกหรือชายฉกรรจ์, เรียกเต็มว่า กรมพระสุรัสวดี.
เสนากุฎ
หมายถึง[เส-นากุด] น. เสื้อทหารสมัยโบราณ พิมพ์เป็นลายสี รูปสิงห์ขบที่หน้าอกและต้นแขน สำหรับแต่งเข้ากระบวนแห่ของหลวง.
โบราณวัตถุ
หมายถึง[โบรานนะวัดถุ, โบรานวัดถุ] น. สิ่งของโบราณที่เคลื่อนที่ได้ เช่น พระพุทธรูป เทวรูป ศิลาจารึก มีอายุเก่ากว่า ๑๐๐ ปีขึ้นไป; (กฎ) สังหาริมทรัพย์ที่เป็นของโบราณไม่ว่าจะเป็นสิ่งประดิษฐ์ หรือเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ หรือที่เป็นส่วนหนึ่งส่วนใดของโบราณสถาน ซากมนุษย์ หรือซากสัตว์ ซึ่งโดยอายุหรือโดยลักษณะแห่งการประดิษฐ์หรือโดยหลักฐานเกี่ยวกับประวัติของสังหาริมทรัพย์นั้นเป็นประโยชน์ในทางศิลปะ ประวัติศาสตร์ หรือโบราณคดี.
กระชุก
หมายถึงน. ภาชนะสานรูปกลมสูง สำหรับบรรจุของเช่นนุ่นหรือถ่าน, กระชุ ก็ว่า; อัตราตวงของโบราณ มีพิกัดเท่ากับ ๕ สัด, และ ๔ กระชุก เป็น ๑ ตะลอง.
จุบจิบ
หมายถึงว. อาการที่กินพร่ำเพรื่อทีละเล็กทีละน้อย, บางทีใช้เข้าคู่กับคำ กิน เป็น กินจุบกินจิบ, โบราณใช้ว่า กระจุบกระจิบ ก็มี.
ใจมือ
หมายถึงน. มาตราตวงตามวิธีประเพณีของไทยโบราณ ๑๕๐ เมล็ดข้าว = ๑ ใจมือ ๔ ใจมือ = ๑ กำมือ และ ๘ กำมือ = ๑ จังออน; กลางฝ่ามือ.
ลมตะกัง
หมายถึงน. ชื่อโรคลมชนิดหนึ่ง ตามตำราแพทย์แผนโบราณว่าทำให้มีอาการปวดหัวเวลาเช้า ๆ ปวดกระบอกตา เมื่อเห็นแดดจะลืมตาไม่ขึ้น, ลมปะกัง ก็ว่า.
ล่วม
หมายถึงน. เครื่องสำหรับใส่หมากพลูบุหรี่ ส่วนมากทำด้วยผ้า มีใบปก เป็นของใช้โบราณ แต่ที่ทำด้วยโลหะก็มี, ถ้าเป็นของเจ้านาย เรียกว่า พระล่วม, สำหรับใส่ยา เรียกว่า ล่วมยา.
สูญ
หมายถึงก. ทำให้หายสิ้นไป เช่น คนโบราณใช้ปูนแดงสูญฝี, หายไป เช่น ทรัพย์สมบัติสูญไปในกองเพลิง. ว. ที่หมดไป ในคำว่า หนี้สูญ. (ป. สุญฺ; ส. ศูนฺย).
เขม่น
หมายถึง[ขะเหฺม่น] ก. อาการที่กล้ามเนื้อกระตุกเต้นเบา ๆ ขึ้นเอง ตามความเชื่อโบราณถือว่าเป็นนิมิตบอกเหตุร้ายหรือดีได้, กระเหม่น ก็ว่า; (ปาก) รู้สึกไม่ชอบหน้า หรือไม่พอใจ.