ตัวกรองผลการค้นหา
กระแต่ง,-กระแต่ง
หมายถึงใช้เข้าคู่กับคำ กระต่อง เป็น กระต่องกระแต่ง.
กระทัน,-กระทัน
หมายถึงใช้เข้าคู่กับคำ กระทด เป็น กระทดกระทัน.
กระป่ำ
หมายถึงว. เป็นปุ่มป่ำ เช่น บนเขากระป่ำ. (ม. คำหลวง กุมาร), มักใช้เข้าคู่กับคำ กระปุ่ม เป็น กระปุ่มกระป่ำ.
กระแปด,-กระแปด
หมายถึงใช้เข้าคู่กับคำ กระปอด เป็น กระปอดกระแปด.
กระฟาย,-กระฟาย
หมายถึงใช้เข้าคู่กับคำ กระฟูม เป็น กระฟูมกระฟาย.
กระเมี้ยน,-กระเมี้ยน
หมายถึงใช้เข้าคู่กับคำ กระมิด เป็น กระมิดกระเมี้ยน.
กระเลือก
หมายถึง[-เหฺลือก] (กลอน; แผลงมาจาก เกลือก) ก. เหลือก, ใช้เข้าคู่กับคำ กระลับ เป็น กระลับกระเลือก.
กระเสียน,-กระเสียน
หมายถึง(โบ) ว. ใช้เข้าคู่กับคำ กระเบียด เป็น กระเบียดกระเสียน หมายความว่า อาการที่คนพูดจาเสียดสีด้วยถ้อยคำต่าง ๆ หรือกดขี่เบียดเบียน. (ปรัดเล).
กระหยิ่ม
หมายถึงก. กริ่ม คือ ครึ้มใจ, ภูมิใจ, อิ่มใจ, มักใช้เข้าคู่กับคำ ยิ้มย่อง เป็น กระหยิ่มยิ้มย่อง. (แผลงมาจาก ขยิ่ม).
กราย
หมายถึง[กฺราย] ก. เคลื่อนไหวอย่างมีท่าทาง, เดินอย่างมีท่าที, เช่น ห่มเสื้อกรายดาบง่า. (ลอ), ลอยชายกรายแขนเข้าในห้อง. (คาวี); เดินเฉียดเข้าไปใกล้ ๆ, เดินเฉียดใกล้เข้าไปอย่างไม่มีคารวะ, เช่น เดินกรายศีรษะ, ใช้เข้าคู่กับคำ กรีด กรุย และ กล้ำ เป็น กรีดกราย กรุยกราย และ กล้ำกราย.
กลางค่ำ
หมายถึง(โบ; กลอน) น. เวลากลางคืน, ใช้เข้าคู่กับคำ กลางคืน เป็น กลางคํ่ากลางคืน. (ดู คํ่า).
กล่ำ
หมายถึง[กฺลํ่า] น. ชื่อมาตราเงินโบราณ ๒ กล่อม เท่ากับ ๑ กลํ่า คือ อัฐ, ๒ กลํ่า เป็น ๑ ไพ. (กลํ่า ได้แก่ มะกลํ่าตาช้าง, กล่อม ได้แก่ มะกลํ่าตาหนู).