ค้นเจอ 258 รายการ

ตานเหลือง

หมายถึงน. ชื่อไม้พุ่มหรือไม้ต้นชนิด Ochna integerrima (Lour.) Merr. ในวงศ์ Ochnaceae ขึ้นในป่าเบญจพรรณแล้ง เปลือกสีนํ้าตาลแก่ ดอกสีเหลือง ออกเป็นช่อสั้น ดอกบานเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ ๒ เซนติเมตร กลิ่นหอมอ่อน ผลัดใบขณะมีดอก, กำลังช้างสาร ช้างน้าว หรือ ตานนกกด ก็เรียก.

พื้น

หมายถึงน. ส่วนราบด้านหน้า ด้านนอก หรือด้านบนของสิ่งที่เป็นผืนเป็นแผ่น เช่น พื้นเรือน พื้นดิน พื้นรองเท้า; ฐาน เช่น พื้นถนนทรุด; แถบ, แถว, ถิ่น, เช่น คนพื้นนี้; ทั่วไป, โดยมาก, เช่น ถิ่นนี้ทำสวนครัวกันเป็นพื้น; เรียกผ้านุ่งที่มีสีและลักษณะยืนตัวไม่มีดอกดวงลวดลายว่า ผ้าพื้น.

กล้วยไม้

หมายถึงน. (๑) ชื่อพรรณไม้หลายชนิดหลายสกุลในวงศ์ Orchidaceae ลักษณะต้น ใบ และช่อดอกต่าง ๆ กัน บางชนิดเกาะตามต้นไม้และหิน บางชนิดขึ้นอยู่บนพื้นดิน บางชนิดมีดอกงาม บางชนิดมีกลิ่นหอม, พายัพเรียก เอื้อง. (๒) (ถิ่น-ปักษ์ใต้) ต้นจุกโรหินี. (ดู จุกโรหินี).

จม

หมายถึงก. หายลงไปหรืออยู่ใต้ผิวพื้น เช่น จมนํ้า จมดิน, โดยปริยายหมายความว่า เข้าลึก เช่น จมมีด จมเขี้ยว, หมกตัวหรือฝังตัวอยู่ เช่น จมอยู่ในห้องหนังสือ จมเลือด, ถอนทุนไม่ขึ้น เช่น ทุนจม, ยุบตัวลง เช่น สะบักจม; เรียกลวดลายที่ไม่เด่นว่า ลายจม. (ปาก) ว. มาก เช่น วันนี้มีการบ้านจมเลย.

ชุบ

หมายถึงก. เอาสิ่งใดสิ่งหนึ่งจุ่มลงไปในนํ้าหรือของเหลวอื่น ๆ เพื่อให้เปียก ให้กล้า ให้แข็ง เป็นต้น เช่น ชุบมือ ชุบมีด ชุบแป้ง, เอาสิ่งใดสิ่งหนึ่งจุ่มลงไปในสารละลายเพื่อให้โลหะในสารละลายติดสิ่งที่ชุบ เช่น ชุบทอง ชุบโครเมียม; (โบ) เขียนหนังสือด้วยหมึกเป็นต้น.

ผ่า

หมายถึงก. ทำให้แยกออกจากกันตามยาวด้วยมีดหรือขวานอย่างผ่าฟืน, โดยปริยายหมายถึงกิริยาที่ทำให้แยกออก เช่น ผ่าฝี ผ่าปากม้า; แหวกเข้าไป เช่น ผ่าเข้าไป; ฟาดฟันลงไป; (ปาก) ทำสิ่งที่ไม่น่าจะทำหรือในลักษณะที่ไม่ควรจะเป็นเช่นนั้น เช่น วิ่งผ่าเข้าไปกลางวง แทนที่จะเล่นกันอยู่ข้างล่าง ผ่าขึ้นไปอยู่บนยอดไม้.

เจียนหมาก

หมายถึงก. ผ่าหมากดิบสดตามยาวเป็นซีก ๆ แล้วใช้มีดเล็กปอกเปลือกชั้นนอกตรงกลางผล ลอกเปลือกถกขึ้นไปเกือบถึงด้านขั้วผล แล้วเจียนเปลือกชั้นในให้ขาดจากเนื้อหมาก แกะเอาเนื้อที่ติดกับเปลือกนอกออกมากินกับพลูที่บ้ายปูน หรือตากให้แห้งเพื่อเก็บไว้กินได้นาน ๆ.

รำ

หมายถึงก. แสดงท่าเคลื่อนไหวโดยมีลีลาและแบบท่าเข้ากับจังหวะเพลงร้องหรือเพลงดนตรี เช่น รำฉุยฉายพราหมณ์ รำกฤดาภินิหาร รำสีนวล, ถ้าถืออาวุธประกอบก็เรียกชื่อตามอาวุธที่ถือ เช่น รำดาบ รำทวน รำกริช, ถ้าถือสิ่งของใดประกอบก็เรียกชื่อตามสิ่งของนั้น เช่น รำพัด รำดอกไม้เงินดอกไม้ทอง, อาการที่แสดงท่าคล้ายคลึงเช่นนั้น, ฟ้อน.

ละคร

หมายถึง[-คอน] น. การแสดงประเภทหนึ่ง ผู้แสดงเรียกว่า ตัวละคร มีเวทีหรือสถานที่ใช้ในการแสดง มีบทให้ตัวละครแสดงตามเนื้อเรื่อง โดยมากมีดนตรีประกอบ มีลักษณะแตกต่างกันออกไปหลายชนิด; การเล่นที่ใช้สัตว์เป็นตัวแสดง เช่น ละครลิง ละครสัตว์, โดยปริยายหมายถึงความเป็นไปของชีวิต เช่น ละครชีวิต โลกคือละครโรงใหญ่.

เสียบ

หมายถึงก. แทงคาไว้ เช่น เอาไม้แหลมเสียบปลา เอามีดเสียบพุง, เอาของดันลงบนปลายสิ่งที่แหลม ๆ เช่น เอากระดาษเสียบบนที่เสียบกระดาษ, เหน็บ เช่น เอาจดหมายเสียบไว้ที่ประตู; ยืนตัวแข็งทื่อต่อหน้าผู้ใหญ่เป็นการแสดงกิริยาไม่อ่อนน้อม เรียกว่า ยืนเสียบ.

ประกาย

หมายถึงน. แสงที่เห็นกระเด็นกระจายออกจากวัตถุที่ลุกเป็นไฟ เช่น ประกายลูกไฟ, แสงที่เห็นกระเด็นกระจายออกจากของแข็งบางอย่างที่กระทบกันอย่างแรง เช่น ดาบกระทบกันเป็นประกาย ตีเหล็กไฟเป็นประกาย, ความแวววาวที่เหลี่ยมเพชรเป็นต้นกระทบแสง, แสงแปลบปลาบอย่างแสงฟ้าแลบ, โดยปริยายหมายถึงแสงที่มีลักษณะที่คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น ตาเป็นประกาย, แสงสะท้อนจากสิ่งที่เป็นมันเป็นเงา เช่น ประกายแสงจากกระเบื้องหลังคาโบสถ์. (แผลงมาจาก ผกาย).

เพลง

หมายถึง[เพฺลง] น. สำเนียงขับร้อง, ทำนองดนตรี, กระบวนวิธีรำดาบรำทวนเป็นต้น, ชื่อการร้องแก้กัน มีชื่อต่าง ๆ เช่น เพลงปรบไก่ เพลงฉ่อย; โดยปริยายหมายถึง แบบอย่าง เช่น ต่างกันไปคนละเพลง. (พระราชหัตถเลขา ร. ๕ ถึงสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส), ชั้นเชิง เช่น ร้อยภาษามาสู่เคยรู้เพลง. (อภัย).

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ