ตัวกรองผลการค้นหา
ภาคยานุวัติ
หมายถึง[พากคะยานุวัด] (การทูต) น. การเข้าเป็นภาคีในสัญญาหลายฝ่ายหรือพหุภาคี หรือในสนธิสัญญาระหว่างชาติ. (อ. accession).
องคชาต
หมายถึง[องคะ-] น. อวัยวะสืบพันธุ์ของชาย. (ป., ส. องฺคชาต ว่า อวัยวะสืบพันธุ์ของชายหญิง).
ร้องสอด
หมายถึง(กฎ) ก. การที่บุคคลภายนอกซึ่งมิใช่คู่ความยื่นคำร้องต่อศาลด้วยความสมัครใจของตนเองขอเข้ามาเป็นคู่ความ หรือบุคคลที่ถูกหมายเรียกให้เข้ามาในคดี.
คณบดี
หมายถึง[คะนะบอดี] น. หัวหน้าคณะในมหาวิทยาลัยหรือในสถาบันที่เทียบเท่า. (ป., ส. คณ + ปติ).
คฤโฆษ
หมายถึง[คะรึโคด] (กลอน) ก. กึกก้อง, ดังลั่น, เช่น คฤโฆษกลองฆ้องเคล้า คลี่ดูริย. (ยวนพ่าย).
คฤหบดี
หมายถึง[คะรึหะบอดี] น. ชายที่เป็นเจ้าบ้าน, ผู้มีอันจะกินซึ่งเป็นเจ้าบ้าน, คหบดี ก็ว่า. (ส. คฺฤหปตี; ป. คหปติ).
ปิงคล,ปิงคล-,ปิงคละ
หมายถึง[-คะละ] น. ชื่อตระกูลช้างสีแสด. ว. สีแสด, สีนํ้าตาล. (ป., ส.).
โกร่งกร่าง
หมายถึง[โกฺร่งกฺร่าง] ว. โครมคราม เช่น นางอมิตดาก็โกรธโกร่งกร่างกระทืบเท้า. (ม. ร่ายยาว ชูชก).
ภังค,ภังค-,ภังคะ
หมายถึง[-คะ-] น. การแตก, การทำลาย; ความยับเยินล่มจม. (ป., ส.); ผ้าชนิดหนึ่งทอด้วยของหลายสิ่งเช่นผ้าด้ายแกมไหม.
ภาษาแบบแผน
หมายถึงน. ภาษาที่ถือเป็นแบบฉบับที่จะต้องใช้เป็นแบบเดียวกันในโอกาสอย่างเดียวกัน เช่น คำกราบบังคมทูลพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ขึ้นต้นว่า “ขอเดชะ...” และลงท้ายว่า “ควรมิควรแล้วแต่จะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ขอเดชะ ข้าพระพุทธเจ้า...”, ภาษาที่ใช้เป็นทางการในโอกาสสำคัญ หรือใช้แก่บุคคลสำคัญ หรือบุคคลสำคัญเป็นผู้ใช้ เช่น คำประกาศเกียรติคุณในการประสาทปริญญาบัตรกิตติมศักดิ์ คำปราศรัยของนายกรัฐมนตรีในวันขึ้นปีใหม่, ภาษาระดับพิธีการ ก็เรียก.
คมน,คมน-,คมน์
หมายถึง[คะมะนะ-, คมมะนะ-, คม] (แบบ) น. การไป, การถึง, มักใช้ประสมกับคำอื่น เช่น สรณคมน์ คมนาการ. (ป.).
โมฆ,โมฆ-,โมฆะ
หมายถึง[โมคะ-] ว. เปล่า, ว่าง; ไม่มีประโยชน์, ไม่มีผล, เช่น สัญญาเป็นโมฆะ; (กฎ) เสียเปล่า ไม่มีผลบังคับหรือผูกพันตามกฎหมาย. (ป., ส.).