ค้นเจอ 38 รายการ

กลดพระสุเมรุ

หมายถึงน. ท่ารำละครท่าหนึ่ง อยู่ในอันดับว่า สารถีชักรถ กลดพระสุเมรุ ตระเวนเวหา. (ฟ้อน).

ครุ

หมายถึง[คะรุ] น. ครู. (ป. ครุ, คุรุ, ว่า ครู; ส. คุรุ ว่า ครู).

จารุ

หมายถึง(แบบ) น. ทองคำ. ว. งาม, น่ารัก, สม, เหมาะ. (ป., ส.).

นหารุ

หมายถึง[นะหารุ] (แบบ) น. เส้น, เอ็น. (ป.; ส. สฺนายุ).

นาคเกี่ยว,นาคเกี้ยว,นาคเกี่ยวพระสุเมรุ

หมายถึงน. ชื่อเพลงไทยทำนองหนึ่ง.

ม่านเมรุ

หมายถึงน. ม่านที่แขวนห้อยไว้ที่เสาเมรุทั้ง ๔ ด้าน.

ยารุ

หมายถึงน. ยาถ่ายอย่างแรง.

สะเก็ดตีนเมรุ

หมายถึง(ปาก) ก. เลวมาก, ไม่มีค่า, เช่น เขาเป็นพวกสะเก็ดตีนเมรุ จะอบรมสั่งสอนอย่างไรก็ไม่ได้ดี.

ครุ

หมายถึง[คฺรุ] น. ภาชนะสานชนิดหนึ่ง รูปกลม ๆ เหมือนกะลาตัด ยาชัน มีหูหิ้ว ใช้ตักน้ำ.

ดรุ

หมายถึง[ดะรุ] (แบบ) น. ต้นไม้. (ป., ส. ตรุ).

ตรุ

หมายถึง[ตฺรุ] น. ที่ขังคน, ตะราง, เรือนจำนักโทษ, คุก.

ตีนกา,ตีนกา,ตีนครุ

หมายถึง[-คฺรุ] น. ชื่อเครื่องหมายรูปดังนี้ + สำหรับบอกจำนวนเงิน เส้นดิ่งข้างบนเป็นหลักชั่ง เส้นดิ่งข้างล่างเป็นหลักไพ มุมบนด้านซ้ายเป็นหลักตำลึง มุมบนด้านขวาเป็นหลักบาท มุมล่างด้านซ้ายเป็นหลักเฟื้อง มุมล่างด้านขวาเป็นหลักสลึง เช่น อ่านว่า ๕ ชั่ง ๔ ตำลึง ๓ บาท ๒ สลึง ๑ เฟื้อง ๒ ไพ, เฉพาะจำนวนตำลึง บาท สลึง เฟื้อง อาจเขียนย่อแต่เพียงมุมใดมุมหนึ่งที่ต้องการก็ได้ เช่น = ๔ ตำลึง = ๓ บาท = ๒ สลึง = ๑ เฟื้อง, ปัจจุบัน แพทย์แผนโบราณยังใช้เครื่องหมายตีนกาหรือตีนครุเป็นมาตราชั่งเฉพาะที่เกี่ยวกับเครื่องยาเท่านั้น.

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ