ตัวกรองผลการค้นหา
สีหม่น
หมายถึง(ศิลปะ) น. สีที่เจือสีดำเพื่อลดประกายสดใสให้คล้ำลง อย่างสีแดงเจือสีดำ เป็นสีแดงเลือดหมู.
เขี้ยวเนื้อ
หมายถึงน. ชื่อไม้ต้นขนาดกลางชนิด Lagerstroemia undulata Koehne var. subangulata Craib ในวงศ์ Lythraceae ช่อดอกเรียวแหลม ดอกเล็ก สีชมพูคล้ำ.
โพทะเล
หมายถึงน. ชื่อไม้ต้นชนิด Thespesia populnea (L.) Sol. ex Corrêa ในวงศ์ Malvaceae ขึ้นริมนํ้า ใบคล้ายใบโพปราสาท ดอกสีเหลือง โคนกลีบดอกด้านในสีม่วงคล้ำ รากใช้ทำยาได้.
ทองหลาง
หมายถึงน. ชื่อไม้ต้นหลายชนิดในสกุล Erythrina วงศ์ Leguminosae เช่น ทองหลางป่า [E. subumbrans (Hassk.) Merr.], ทองหลางลาย หรือ ทองเผือก (E. variegata L.), ทองหลางนํ้า หรือ ทองโหลง (E. fusca Lour.) ดอกออกเป็นช่อสีแดงคล้ำ.
กลึงกล่อม
หมายถึง[-กฺล่อม] น. ชื่อไม้พุ่มกึ่งไม้ต้นชนิด Polyalthia suberosa (Roxb.) Thwaites ในวงศ์ Annonaceae ใบเดี่ยว เรียงสลับ ดอกเดี่ยว กลีบเลี้ยงด้านบนมีขน กลีบดอกสีเหลืองคล้ำ ผลเป็นกลุ่ม เมื่อสุกสีแดง.
ไข้ผื่น
หมายถึงน. ไข้ที่มีผื่นและการเปลี่ยนแปลงอย่างอื่นทางผิวหนัง มีลักษณะอาการและความรุนแรงต่าง ๆ กัน ตั้งแต่เป็นเม็ดเล็ก ๆ เหมือนหัวเข็มหมุด จนถึงปื้นใหญ่ ๆ ในรายที่รุนแรงมากอาจมีเลือดออกใต้ผิวหนังบริเวณผื่นหรือปื้น และผิวหนังจะเปลี่ยนเป็นสีคล้ำ, ไข้กาฬ หรือ ไข้ส่า ก็เรียก. (อ. exanthematous fever).
กาฬพฤกษ์
หมายถึงน. ชื่อไม้ต้นชนิด Cassia grandis L.f. ในวงศ์ Leguminosae ลำต้นดำ ใบอ่อนสีแดง ดอกเล็ก สีแดงคล้ำแล้วเปลี่ยนเป็นสีชมพูอมส้ม ฝักใหญ่อ้วนสั้น ผิวขรุขระ ด้านข้างมีสัน เป็นพรรณไม้ที่นำเข้ามาปลูก.
หนามแดง
หมายถึงน. (๑) ชื่อไม้เถาเนื้อแข็งชนิด Maytenus marcanii Ding Hou ในวงศ์ Celastraceae ใช้ทำยาได้. (๒) ชื่อไม้พุ่มชนิด Carissa carandas L. ในวงศ์ Apocynaceae ดอกสีขาว หลอดดอกสีชมพู กลิ่นหอม ผลสีขาว สุกสีแดงคล้ำ กินได้, มะนาวไม่รู้โห่ ก็เรียก.
เหนี่ยง
หมายถึง[เหฺนี่ยง] น. ชื่อด้วงปีกแข็งชนิด Hydrophilus bilineatus ในวงศ์ Hydrophilidae ลำตัวรูปไข่ แบนเล็กน้อย ตัวยาวประมาณ ๓.๕ เซนติเมตร กว้างประมาณ ๑.๕ เซนติเมตร สีดำตลอดตัว มีหนามแหลมที่ด้านล่างของอกยาวยื่นไปถึงส่วนท้อง อาศัยอยู่ตามแหล่งนํ้าต่าง ๆ, โดยปริยายใช้เรียกผู้ที่มีผิวดำคล้ำโดยธรรมชาติหรือเพราะถูกแดดถูกลมมากว่า ตัวดำเป็นเหนี่ยง.
ค้าว
หมายถึงน. ชื่อปลานํ้าจืดในวงศ์ Siluridae ไม่มีเกล็ด รูปร่างคล้ายปลาคางเบือนซึ่งอยู่ในวงศ์เดียวกัน แต่มีขนาดใหญ่กว่า คือ ยาวได้ถึง ๑-๑.๕ เมตร หัวแหลม ปากกว้าง ฟันแหลมคม ครีบหลังตั้งเด่น ตัวยาวเรียวไปทางหาง แบนข้าง ในประเทศไทยมี ๒ ชนิด คือ ค้าวขาว (Wallagonia attu) และ ค้าวดำ คูน ทุกอีชุก อีทุก หรือ อีทุบ (W. miostoma) ซึ่งมีหนวดยาวกว่าชนิดแรก ลำตัวและครีบสีดำคล้ำ, ทั้ง ๒ ชนิด เค้า ก็เรียก.
รากกล้วย
หมายถึงน. ชื่อปลาน้ำจืดชนิด Gyrinocheilus aymoneri และชนิด G. pennocki ในวงศ์ Gyrinocheilidae มีหัวยาว ลำตัวยาวเพรียว ที่สำคัญคือมีปากซึ่งใช้ดูดเกาะติดกับวัตถุใต้น้ำได้ดี ไม่มีหนวด พื้นลำตัวสีน้ำตาลคล้ำ ข้างตัวมีจุดดำเรียงสลับกันตามยาวอยู่ ๒ แถว พบทั่วไปตามลำธาร บนภูเขา และที่ลุ่ม กินสาหร่ายและพืชน้ำอื่น ๆ ขนาดยาวได้ถึง ๒๘ เซนติเมตร, ผึ้ง น้ำผึ้ง ลูกผึ้ง หรือ สร้อยน้ำผึ้ง ก็เรียก.