ค้นเจอ 208 รายการ

บังคับลหุ

หมายถึงน. กฎเกณฑ์ของการประพันธ์ที่บัญญัติให้ใช้พยางค์ที่มีเสียงเบา คือ พยางค์ที่ประกอบด้วยสระเสียงสั้นที่ไม่มีตัวสะกด เช่น จะ ติ แพะ.

มุติ

หมายถึง[มุ-ติ] น. ความรู้สึก, ความเห็น, ความเข้าใจ. (ป.).

ว่า

หมายถึงก. พูด, บอก, เช่น เขาว่า ที่นี่ฝนตกทุกวัน; ดุ เช่น อย่าเอะอะไป เดี๋ยวครูว่าเอา, ติ เช่น ดีแต่ว่าเขา; ดุด่าว่ากล่าว เช่น ว่าไม่ได้ ก็เลี้ยงไม่ได้; ร้อง เช่น ว่าเพลง; จ้าง, ตกลงให้ทำการสิ่งใดสิ่งหนึ่งโดยให้ค่าจ้าง, เช่น ไปว่าขนมมาเลี้ยงแขก, ว่าจ้าง ก็ว่า; ใช้เป็นสันธานเชื่อมประโยค เช่น พูดว่า คิดว่า หมายความว่า มีความเห็นว่า. (ปาก) ก. เป็นคำใช้แทนกริยาอื่นบางคำได้ เป็นต้นว่าใช้แทนคำว่า กิน เช่น ว่าเสียเรียบ ว่าเสียเต็มคราบ ใช้แทนคำว่า ทำ เช่น ว่าเสียเอง.

สถิติ

หมายถึง[สะ-] น. หลักฐานที่รวบรวมเอาไว้เป็นตัวเลขสำหรับเปรียบเทียบหรือใช้อ้างอิง เช่น สถิติในการส่งสินค้าออกปีนี้สูงกว่าปีที่แล้ว. (ส. สฺถิติ; ป. ติ).

ติละ

หมายถึง(แบบ) น. พืชงา, เมล็ดงา. (ป., ส.).

นิติ

หมายถึง[นิ-ติ, นิด] น. นีติ, กฎหมาย, กฎปฏิบัติ, แบบแผน, เยี่ยงอย่าง, ขนบธรรมเนียม, ประเพณี, วิธีปกครอง, เครื่องแนะนำ, อุบายอันดี. (ป., ส. นีติ).

ติณ,ติณ-

หมายถึง[ติน, ตินะ-, ตินนะ-] น. หญ้า. (ป.).

ติก,ติก-,ติกะ

หมายถึง[ติกะ-] (แบบ) น. หมวด ๓ คือ ที่รวมวัตถุหรือธรรมะอย่างละ ๓. (ป.).

ประติ,ประติ-

หมายถึงเป็นคำสันสกฤตใช้เหมือน ปฏิ. (ดูคำที่มี ปฏิ หรือ ประติ นำหน้า).

อัชฌัตติก,อัชฌัตติก-

หมายถึง[อัดชัดติกะ-] ว. ภายใน, เฉพาะตัว, ส่วนตัว, เช่น อัชฌัตติกปัญญา. (ป.).

มรณันติก,มรณันติก-

หมายถึง[มะระนันติกะ-] ว. มีความตายเป็นที่สุด. (ป. มรณ + อนฺติก).

ติตถะ

หมายถึง[ติด-] (แบบ) น. ดิตถ์, ท่านํ้า. (ป.).

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ