ตัวกรองผลการค้นหา
เสมอบ่าเสมอไหล่
หมายถึงว. เทียบเท่ากัน, เท่าเทียมกัน, เช่น เขาพยายามสร้างฐานะจนเสมอบ่าเสมอไหล่กับญาติพี่น้อง, เทียมบ่าเทียมไหล่ หรือ เทียมหน้าเทียมตา ก็ว่า.
ค่าเสมอภาค
หมายถึงน. มูลค่าหรือราคาของหุ้น หรือหลักทรัพย์อื่นตามที่ตราไว้; มูลค่าแลกเปลี่ยนของหน่วยเงินตราสกุลหนึ่ง ที่เทียบเท่ากับมูลค่าแลกเปลี่ยนของหน่วยเงินตราอีกสกุลหนึ่ง. (อ. par value).
หาตัวจับยาก
หมายถึง(สำ) ว. เก่งมาก, หาคนเทียบเท่าได้ยาก, เช่น เขาเป็นคนเรียนเก่งหาตัวจับยาก เขาเล่นการพนันเก่งหาตัวจับยาก.
เกลือ
หมายถึง[เกฺลือ] น. วัตถุที่มีรสเค็ม ใช้ประกอบอาหารเป็นต้น โดยทั่วไปได้มาจากนํ้าทะเล, เกลือสมุทร ก็เรียก; (วิทยา) สารประกอบซึ่งประกอบด้วยโลหะหรือหมู่ธาตุที่เทียบเท่าโลหะกับอนุมูลกรด.
เกลือกรด
หมายถึง(เคมี) น. เกลือที่เกิดขึ้นโดยธาตุไฮโดรเจนชนิดที่แปรสภาพเป็นไอออนได้ ซึ่งมีอยู่ในโมเลกุลของกรด ถูกโลหะหรือหมู่ธาตุที่เทียบเท่าโลหะเข้ามาแทนที่ไม่หมด เช่น โซเดียมไฮโดรเจนซัลเฟต (NaHSO4). (อ. acid salt).
เกลือปรกติ
หมายถึง(เคมี) น. เกลือที่เกิดขึ้นโดยธาตุไฮโดรเจนชนิดที่แปรสภาพเป็นไอออนได้ ซึ่งมีอยู่ในโมเลกุลของกรดถูกโลหะหรือหมู่ธาตุที่เทียบเท่าโลหะเข้ามาแทนที่จนหมดสิ้น เช่น โซเดียมซัลเฟต (Na2SO4). (อ. normal salt).
ทบวง
หมายถึง[ทะ-] (กฎ) น. ส่วนราชการในราชการบริหารส่วนกลาง ซึ่งโดยสภาพและปริมาณของงานไม่เหมาะสมที่จะตั้งเป็นกระทรวง อาจสังกัดหรือไม่สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรีหรือกระทรวงก็ได้; ส่วนราชการในราชการบริหารส่วนกลางที่มีฐานะเทียบเท่ากระทรวง แต่เรียกชื่อว่า ทบวง เช่น ทบวงมหาวิทยาลัย.
โรงงาน
หมายถึง(กฎ) น. อาคาร สถานที่ หรือยานพาหนะที่ใช้เครื่องจักร มีกำลังรวมตั้งแต่ ๕ แรงม้าหรือกำลังเทียบเท่าตั้งแต่ ๕ แรงม้าขึ้นไป หรือใช้คนงานตั้งแต่ ๗ คนขึ้นไปโดยใช้เครื่องจักรหรือไม่ก็ตามสำหรับทำ ผลิต ประกอบบรรจุ ซ่อม ซ่อมบำรุง ทดสอบ ปรับปรุง แปรสภาพ ลำเลียง เก็บรักษา หรือทำลายสิ่งใด ๆ ทั้งนี้ตามประเภทหรือชนิดของโรงงานที่กำหนดในกฎกระทรวง.
คณ,คณ-,คณะ
หมายถึง[คะนะ-] น. หมู่, พวก, (ซึ่งแยกมาจากส่วนใหญ่); กลุ่มคนผู้ร่วมกันเพื่อการอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น คณะกรรมการ คณะสงฆ์ คณะนักท่องเที่ยว; หน่วยงานในมหาวิทยาลัยหรือสถาบันที่เทียบเท่าซึ่งรวมภาควิชาต่าง ๆ ที่จัดการเรียนการสอนวิชาในสายเดียวกัน เช่น คณะนิติศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์; กลุ่มคำที่จัดให้มีลักษณะเป็นไปตามแบบรูปของร้อยกรองแต่ละประเภท ประกอบด้วยบท บาท วรรค และคำ ตามจำนวนที่กำหนด, หลักเกณฑ์ที่ใช้ในการแต่งฉันท์วรรณพฤติ มี ๘ คณะ คือ ช คณะ ต คณะ น คณะ ภ คณะ ม คณะ ย คณะ ร คณะ ส คณะ แต่ละคณะมี ๓ คำ หรือ ๓ พยางค์ โดยถือครุและลหุเป็นหลัก. (ป., ส.).