ตัวกรองผลการค้นหา
ซักฟอก
หมายถึงก. ชำระให้หมดมลทิน; ซักถามให้ได้ความจะแจ้ง.
รัชกะ
หมายถึงน. รชกะ, คนย้อมผ้า, คนซักผ้า. (ป., ส.).
จีวรกรรม
หมายถึง(แบบ) น. การเตรียมจีวรเพื่อเดินทาง เช่น ซัก สุ ย้อม. (ส.; ป. จีวรกมฺม).
รชกะ
หมายถึง[ระชะกะ] น. คนย้อมผ้า, คนซักผ้า. (ป., ส.).
ผ้าห้อยหอ
หมายถึง(โบ) น. ผ้าซึ่งเจ้าบ่าวนุ่งในพิธีซัดนํ้าแต่งงานแล้วผลัดพาดไว้ที่เรือนหอ มีของมีค่าอยู่ในนั้นเพื่อเป็นรางวัลผู้เอาไปซัก.
ถามติง
หมายถึง(กฎ) ก. การที่คู่ความฝ่ายที่อ้างพยานซักถามพยานอีกครั้งหนึ่ง เมื่อคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งถามค้านพยานเสร็จแล้ว.
ถามปากคำ
หมายถึง(กฎ) ก. ซักถามเพื่อให้บุคคลให้การ โดยพนักงานสอบสวนหรือพนักงานอัยการ เช่น ถามปากคำพยาน ถามปากคำผู้ต้องหา, (ปาก) สอบปากคำ.
สอบปากคำ
หมายถึงก. ซักถามเพื่อให้บุคคลให้การโดยพนักงานสอบสวนหรือพนักงานอัยการ เช่น สอบปากคำพยาน สอบปากคำผู้ต้องหา, กฎหมายใช้ว่า ถามปากคำ.
อนุโยค
หมายถึงก. ซักถาม, ซักไซ้. ว. เรียกคำที่ผู้ถูกถามย้อนถามผู้ถามว่า คำอนุโยค. (ป., ส.).
นำ
หมายถึงก. ไปข้างหน้า เช่น นำขบวน นำเสด็จ, ออกหน้า เช่น วิ่งนำ, เริ่มต้นโดยมีผู้อื่นหรือสิ่งอื่นตามหรือทำตาม เช่น นำสวด นำวิ่ง, พา เช่น นำเที่ยว นำไป นำมา. ว. อาการที่ซักหรือถามเป็นเชิงแนะไปในตัว ในคำว่า ซักนำ ถามนำ.
ลงคราม
หมายถึงก. เอาผ้าขาวที่ซักแล้วชุบลงในน้ำผสมครามอ่อน ๆ ก่อนนำขึ้นตาก เพื่อให้ผ้าขาวนวลเมื่อแห้งแล้ว.
หมักหมม
หมายถึงก. ทิ้งไว้ให้คั่งค้างอยู่มาก ๆ เช่น เขาชอบหมักหมมงานไว้เสมอ. ว. ที่ทิ้งไว้ให้คั่งค้างอยู่มาก ๆ เช่น เสื้อผ้าใช้แล้วก็ทิ้งหมักหมมไว้ ไม่รู้จักเก็บไปซักเสียที.