ตัวกรองผลการค้นหา
ป
หมายถึงพยัญชนะตัวที่ ๒๗ เป็นพวกอักษรกลาง เป็นตัวสะกดในแม่กบในคำที่มาจากภาษาบาลีและสันสกฤตเป็นต้น เช่น บาป เนปจูน, ตัว ป ที่ขึ้นต้นของคำหรือพยางค์ในภาษาบาลีและสันสกฤตมักแผลงมาเป็นตัว บ ในภาษาไทย เช่น ปท ปิตา เป็น บท บิดา.
คห,คห-
หมายถึง[คะหะ-] (แบบ) น. เรือน, ใช้เป็นคำหน้าสมาส เช่น คหกรรม. (ป.).
ชันตาฆระ
หมายถึง[ชันตาคะระ] (แบบ) น. เรือนไฟ, ห้องสำหรับรมไฟเพื่อให้เหงื่อออก. (ป.).
เข้าตา
หมายถึงก. เห็นว่าดีและพอใจ เช่น เข้าตากรรมการ.
อาโลกกสิณ
หมายถึง[-โลกะกะสิน] น. การเจริญสมถกรรมฐานโดยตั้งใจเพ่งแสงสว่างเป็นอารมณ์. (ป.).
ประ,ประ-,ประ-
หมายถึง[ปฺระ] ใช้เติมหน้าคำอื่นเพื่อให้คำหนักแน่นขึ้น เช่น ชิด เป็น ประชิด, ท้วง เป็น ประท้วง; คำที่แผลงมาจาก ผ เช่น ผทม เป็น ประทม แล้วแผลง ประ เป็น บรร เช่น ประทม เป็น บรรทม.
ปริ,ปริ-,ปริ-
หมายถึง[ปะริ-] เป็นอุปสรรคในภาษาบาลีและสันสกฤต, ใช้นำหน้าศัพท์อื่นแปลว่า รอบ เช่น ปริมณฑล.
ปโย,ปโย-
หมายถึงน. นํ้านม, นํ้า. (ป., ส. ปย), ที่เป็น ปโย เพราะเข้าสมาสกับศัพท์ที่มีพยัญชนะตัวหน้าเป็นอักษรตํ่าหรือตัว ห ดังตัวอย่างต่อไปนี้
ประตาป
หมายถึงน. ประดาป.
ปาป,ปาป-
หมายถึง[ปาปะ-] น. บาป. (ป., ส.).
ถูป,ถูป-
หมายถึง[ถูปะ-] (แบบ) น. เจดีย์ซึ่งก่อไว้สำหรับบรรจุของควรบูชา มีกระดูกของบุคคลที่นับถือเป็นต้น. (ป.).
หมูแฮม
หมายถึงน. ขาหลังของหมูแช่น้ำเกลือแล้วรมควัน, แฮม ก็ว่า.