ตัวกรองผลการค้นหา
เลือกสรร
หมายถึงก. พิจารณาคัดเอาแต่ที่ดี ๆ เช่น เลือกสรรถ้อยคำมาใช้ให้เหมาะสม.
สรรพางค์
หมายถึง[สันระพาง] น. ทั้งตัว, ทั่วตัว, มักใช้เข้าคู่กับคำ กาย เป็น สรรพางค์กาย เช่น เจ็บปวดทั่วสรรพางค์กาย, สารพางค์ ก็ว่า. (ส. สรฺวางฺค).
สรรเพชุดาญาณ
หมายถึงน. ญาณหรือปัญญาที่รู้ทุกสิ่ง หมายเอาญาณของพระพุทธเจ้า. (ส. สรฺวชฺาน; ป. สพฺพญฺญุตาณ).
อุปสรรค
หมายถึง[อุปะสัก, อุบปะสัก] น. เครื่องขัดข้อง, ความขัดข้อง, เครื่องขัดขวาง. (ส. อุปสรฺค; ป. อุปสคฺค); คำสำหรับใช้เติมข้างหน้าคำนามหรือคำกริยาที่เป็นรูปคำบาลีหรือสันสกฤตให้มีความหมายแผกเพี้ยนไปจากเดิม หรือมีความหมายตรงข้ามกับความหมายเดิมเป็นต้น และถือเป็นคำเดียวกับคำนามหรือคำกริยานั้น เพราะตามปรกติจะไม่ใช้ตามลำพัง เช่น วัฒน์ = เจริญ อภิวัฒน์ = เจริญยิ่ง ปักษ์ = ฝ่ายปฏิปักษ์ = ฝ่ายตรงข้าม, ข้าศึก, ศัตรู.
เสกสรรปั้นเรื่อง
หมายถึงก. แต่งเรื่องขึ้นมาโดยจะมีความจริงหรือไม่ก็ได้เพื่อให้เข้าใจผิด เช่น คนคนนี้ช่างเสกสรรปั้นเรื่องมาเล่าให้ผู้ใหญ่ผิดใจกันอยู่เสมอ.
ประวิสรรชนีย์
หมายถึง[ปฺระวิสันชะนี] ก. ใส่เครื่องหมายวิสรรชนีย์.
มัตสรรย์
หมายถึง[มัดสัน] น. ความตระหนี่; ความริษยา. (ส. มาตฺสรฺย; ป. มจฺฉริย).
วิสรรชนีย์
หมายถึง[วิสันชะนี] น. เครื่องหมายสระรูปดังนี้ ะ ใช้ประหลังอักษร. (ส. วิสรฺชนีย).
สรรพ,สรรพ-
หมายถึง[สับ, สับพะ-] ว. ทุกสิ่ง, ทั้งปวง, ทั้งหมด, เช่น พร้อมสรรพ งามสรรพ เสร็จสรรพ สรรพสิ่ง สรรพสินค้า. (ส. สรฺว; ป. สพฺพ).
สรรเพชญ
หมายถึง(แบบ) น. ผู้รู้ทุกสิ่งทุกอย่าง, ผู้รู้ทั่ว, พระนามของพระพุทธเจ้า, สรรพัชญ ก็เรียก. (ส. สรฺวชฺ; ป. สพฺพญฺญู).
สรรวง
หมายถึง[สฺระรวง] (กลอน) น. สรวง.
เสกสรร
หมายถึง[-สัน] ก. เลือกทำหรือพูดเอาเอง เช่น เขามีเงินมีทอง จะเสกสรรอะไรก็ทำได้.