ค้นเจอ 57 รายการ

ตระง่อง

หมายถึง[ตฺระ-] ก. จ้อง, คอยดู, (โบ) ในบทร้อยกรองใช้ว่า กระหง่อง กระหน่อง ตระหง่อง หรือ ตระหน่อง ก็มี.

ตระชัก

หมายถึง[ตฺระ-] ว. เย็น, บางทีใช้ ตระจัก ตามเสียงเขมร. (ข. ตฺรชาก่).

ตระดก

หมายถึง[ตฺระ-] (กลอน) ก. หวาด, ผวา, สะดุ้ง, ตกใจ.

ตระเตรียม

หมายถึง[ตฺระเตฺรียม] ก. จัดแจงไว้ให้เรียบร้อย, โบราณใช้ว่า กระเกรียม.

ตระบอง

หมายถึง[ตฺระ-] น. ตะบอง เช่น ครั้นพ้นขึ้นมาเปนเปรตถือตระบองเหลกลุกเปนเปลวเพลิง. (สามดวง), กระบอง ก็ว่า.

ตระลาการ

หมายถึง[ตฺระ-] (โบ) น. ตำแหน่งพนักงานศาลผู้มีหน้าที่ชำระเอาความเท็จจริง.

ตระเวน

หมายถึง[ตฺระ-] ก. ไปทั่ว ๆ รอบบริเวณ เช่น ตระเวนป่า พาตระเวนไปทั้งวัน, เที่ยวตรวจตรา เช่น พลตระเวน, พาไปทั่ว ๆ เพื่อประจาน ในความว่า นำนักโทษตระเวนไปทั่วเมือง, ใช้ว่า กระเวน ตะเวน หรือ ทะเวน ก็มี.

ตระหง่อง,ตระหน่อง

หมายถึง[ตฺระ-] (โบ; กลอน) ก. จ้อง, คอยดู, เช่น ตาเรียมตระหง่องตั้ง ตาเรือ แม่ฮา. (ทวาทศมาส), เขียนเป็น ตรง่อง ก็มี เช่น อันว่าพระมหาสัตวก็ต้งงตาแลตรง่อง ซึ่งช้นนช่องมรรคา ที่มีผู้จะมาน้นน โสดแล. (ม. คำหลวง กุมาร), กระหง่อง หรือ กระหน่อง ก็ใช้.

ตระหง่าน

หมายถึง[ตฺระหฺง่าน] ว. สูงเด่นเป็นสง่า.

ตระอาล

หมายถึง[ตฺระอาน] (กลอน) ว. หวั่นไหว เช่น พยงแผ่นดินบตระอาล. (ม. คำหลวง กุมาร). (ข. ตรฺอาล ว่า ยินดี, สบายใจ).

ตระ

หมายถึง[ตฺระ] น. แถบ, แปลง, (ใช้แก่ที่).

ตระทรวง

หมายถึง[ตฺระซวง] (โบ) น. กระทรวง. (สามดวง).

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ