ค้นเจอ 27 รายการ

อุโบสถ

หมายถึง[อุโบสด] น. เรียกสถานที่ที่พระสงฆ์ประชุมกันทำสังฆกรรมเช่นสวดพระปาติโมกข์ อุปสมบท ว่า โรงอุโบสถ หรือ อุโบสถ, เรียกย่อว่า โบสถ์; (ปาก) เรียกวันพระว่า วันอุโบสถ; เรียกการแสดงพระปาติโมกข์ของพระสงฆ์ทุก ๆ กึ่งเดือน คือ ในวันขึ้น ๑๕ ค่ำ และวันแรม ๑๕ ค่ำ หรือวันแรม ๑๔ ค่ำ ในเดือนขาด ว่า การทำอุโบสถ; เรียกการรักษาศีล ๘ ของคฤหัสถ์ว่า การรักษาอุโบสถ. (ป. อุโปสถ; ส. อุโปษธ, อุปวสถ).

พลบค่ำ

หมายถึงน. เวลาย่ำค่ำ, เวลาโพล้เพล้, เวลาเข้าไต้เข้าไฟ, พลบ ก็ว่า.

อมาวสี,อมาวสุ,อมาวาสี

หมายถึงน. วันดับ, วันที่พระจันทร์และพระอาทิตย์ร่วมราศีและองศาเดียวกัน ตรงกับแรม ๑๕ ค่ำหรือแรม ๑๔ ค่ำในเดือนขาด. (ป.).

แรม

หมายถึงน. ส่วนของเดือนจันทรคติที่พระจันทร์เริ่มมืดจนถึงมืด คือ ตั้งแต่แรมค่ำหนึ่งไปถึงแรม ๑๔ ค่ำในเดือนขาด หรือถึงแรม ๑๕ ค่ำในเดือนเต็ม เรียกว่า ข้างแรม; ช่วงระยะเวลานานนับเดือนนับปี ในคำว่า แรมเดือน แรมปี. ก. ค้างคืน เช่น พักแรม.

ครึ่งซีก

หมายถึงว. ครึ่งหนึ่ง เช่น มะพร้าวครึ่งซีก, (ปาก) ครึ่งดวง, เรียกดวงจันทร์ในวัน ๘ ค่ำว่า พระจันทร์ครึ่งซีก.

พลบ

หมายถึง[พฺลบ] น. เวลายํ่าคํ่า, เวลาโพล้เพล้, เวลาเข้าไต้เข้าไฟ, เช่น ตะวันชิงพลบ, พลบค่ำ ก็ว่า, ในบทกลอนแผลงเป็น พระลบ ก็มี.

สลัว,สลัว ๆ

หมายถึง[สะหฺลัว] ว. ไม่แจ่ม, ไม่กระจ่าง, เช่น ในห้องมีแสงสลัวมองเห็นได้ราง ๆ ใกล้ค่ำมีแสงสลัว ๆ.

จรล่ำ,จรหล่ำ

หมายถึง[จอระหฺล่ำ] (กลอน) ก. เที่ยวไปนาน, ไปช้า, เช่น ในเมื่อชีชูชกเถ้ามหลกอการ ไปแวนนานจรล่ำแล. (ม. คำหลวง ชูชก), เท่าว่าทางไกลจรล่ำ วันนี้ค่ำสองนางเมือ. (ลอ.), คิดใดคืนมาค่ำ อยู่จรหล่ำต่อกลางคืน. (ม. คำหลวง มัทรี).

เคี่ยวเข็ญ

หมายถึงก. บีบบังคับ, บีบคั้นให้ได้รับความลำบาก เช่น เคี่ยวเข็ญเย็นค่ำกรำไป ตามวิสัยเชิงเช่นผู้เป็นนาย. (พระราชนิพนธ์ ร. ๖); บังคับให้ทำงานให้มากขึ้น เช่น เคี่ยวเข็ญให้ขยันหมั่นเพียรในการเล่าเรียน.

ปฐมยาม

หมายถึง[ปะถมมะ-] น. ยามต้น, ในบาลีแบ่งคืนออกเป็น ๓ ยาม กำหนดยามละ ๔ ชั่วโมง เรียกว่า ปฐมยาม มัชฌิมยาม และปัจฉิมยาม ปฐมยามกำหนดเวลาตั้งแต่ย่ำค่ำ หรือ ๑๘ นาฬิกา ถึง ๔ ทุ่ม หรือ ๒๒ นาฬิกา. (ป.).

หน

หมายถึงน. ทาง, ทิศ, เช่น หนเหนือ หนใต้; ครั้ง, คราว, เช่น กี่หน; ที่, สถานที่, เช่น ถึงยามค่ำน้ำค้างลงพร่างพร้อย น้องจะลอยลมบนไปหนใด. (นิราศอิเหนา), มักใช้เข้าคู่กับคำ แห่ง เป็น แห่งหน เช่น ไม่รู้ว่าเวลานี้เขาอยู่แห่งหนตำบลใด.

วัน

หมายถึงน. ระยะเวลา ๒๔ ชั่วโมง ตั้งแต่ยํ่ารุ่งถึงยํ่ารุ่ง หรือตั้งแต่เที่ยงคืนถึงเที่ยงคืน เช่น วันเฉลิมพระชนมพรรษาหยุดราชการ ๑ วัน, ระยะเวลา ๑๒ ชั่วโมง ตั้งแต่ย่ำรุ่งถึงย่ำค่ำ เรียกว่า กลางวัน, มักเรียกสั้น ๆ ว่า วัน, ระยะเวลา ๑๒ ชั่วโมง ตั้งแต่ย่ำค่ำถึงย่ำรุ่ง เรียกว่า กลางคืน, มักเรียกสั้น ๆ ว่า คืน, เช่น เขาไปสัมมนาที่พัทยา ๒ วัน ๑ คืน, ช่วงเวลากลางวัน เช่น เช้าขึ้นมาก็รีบไปทำงานทุกวัน; (กฎ) เวลาทำการตามที่ได้กำหนดขึ้นโดยกฎหมาย คำสั่งศาล หรือระเบียบข้อบังคับ หรือเวลาทำการตามปรกติของกิจการนั้นแล้วแต่กรณี (ใช้ในทางคดีความ ในทางราชการ หรือทางธุรกิจการค้าและการอุตสาหกรรม).

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ