ตัวกรองผลการค้นหา
ปาณก,ปาณก-
หมายถึง[-นะกะ-] น. หนอน, สัตว์มีชีวิต. (ป.).
หมวด วิเศษณ์
อุปาณ,อุปาณ-
หมายถึง[อุปานะ-] ว. เปรียบเทียบ เช่น อุปาณวาจา ว่า การกล่าวเปรียบเทียบ. (ปาเลกัว).
บิณฑ,บิณฑ-
หมายถึง[บินทะ-] (แบบ) น. ก้อนข้าว. (ป., ส. ปิณฺฑ).
พณ,ฯพณฯ
หมายถึง[พะนะท่าน] น. คำนำหน้าชื่อหรือตำแหน่งข้าราชการผู้ใหญ่ชั้นรัฐมนตรี เอกอัครราชทูต เป็นต้น. (ย่อมาจากคำ พณหัว พณหัวเจ้า พณหัวเจ้าท่าน).
มรณ,มรณ-,มรณ์,มรณะ
หมายถึง[มอระนะ-, มะระนะ-, มอน, มอระนะ] น. ความตาย, การตาย. (ป., ส.). ก. ตาย.
วิจาร,วิจารณ,วิจารณ-,วิจารณ์
หมายถึง[วิจาน, วิจาระนะ-, วิจาน] ก. ให้คำตัดสินสิ่งที่เป็นศิลปกรรมหรือวรรณกรรมเป็นต้น โดยผู้มีความรู้ควรเชื่อถือได้ ว่ามีค่าความงามความไพเราะดีอย่างไร หรือมีข้อขาดตกบกพร่องอย่างไรบ้าง เช่น เขาวิจารณ์ว่า หนังสือเล่มนี้แสดงปัญหาสังคมในปัจจุบันได้ดีมากสมควรได้รับรางวัล, ติชม, มักใช้เต็มคำว่า วิพากษ์วิจารณ์ เช่น คนดูหนังวิพากษ์วิจารณ์ว่า หนังเรื่องนี้ดำเนินเรื่องช้าทำให้คนดูเบื่อ.
ลูกขุน ณ ศาลา
หมายถึง(โบ) น. คณะข้าราชการชั้นสูงฝ่ายธุรการ ซึ่งมีตำแหน่งต่าง ๆ มีเสนาบดีเป็นต้น รวมกันเรียกว่า ลูกขุน ณ ศาลา.
ไอริณ
หมายถึงเกลือสินเธาว์
อาปณ,อาปณ-,อาปณะ
หมายถึง[-ปะนะ-] น. ตลาด, ร้านขายของ. (ป., ส.).
เบาราณ
หมายถึง(แบบ) ว. โบราณ. (ส. เปาราณ; ป. ปุราณ, โปราณ).
เจริญสมณธรรม
หมายถึงก. บำเพ็ญสมณธรรม.
ลูกขุน ณ ศาลหลวง
หมายถึง(โบ) น. คณะข้าราชการชั้นสูงฝ่ายตุลาการ ซึ่งรวมกันเรียกว่า ลูกขุน ณ ศาลหลวง มีหน้าที่พิพากษาคดีอย่างศาลยุติธรรม แต่มิได้เป็นผู้พิจารณาคดี เพราะมีตระลาการที่จะพิจารณาคดีแล้วขอคำตัดสินจากลูกขุน ณ ศาลหลวงอีกชั้นหนึ่ง, กฎหมายตราสามดวงมักใช้ว่า ลูกขุน ณ สานหลวง.