ค้นเจอ 52 รายการ

มัชฌิมยาม

หมายถึง[มัดชิมะ-, มัดชิมมะ-] น. ยามกลาง, ในบาลีแบ่งคืนเป็น ๓ ยาม กำหนดยามละ ๔ ชั่วโมง เรียกว่า ปฐมยาม มัชฌิมยาม ปัจฉิมยาม มัชฌิมยาม กำหนดเวลาตั้งแต่ ๔ ทุ่ม หรือ ๒๒ นาฬิกา ถึงตี ๒ หรือ ๒ นาฬิกา. (ป.).

กลองเพล

หมายถึง[-เพน] น. กลองทัดขนาดใหญ่ใช้ตีเป็นสัญญาณบอกเวลา ๑๑ นาฬิกา เพื่อภิกษุสามเณรจะได้ฉันเพล.

โมงโมง,โมง

หมายถึงน. วิธีนับเวลาตามประเพณีในเวลากลางวัน, ถ้าเป็นเวลาก่อนเที่ยงวัน ตั้งแต่ ๗ นาฬิกา ถึง ๑๑ นาฬิกา เรียกว่า โมงเช้า ถึง ๕ โมงเช้า, ถ้าเป็น ๑๒ นาฬิกา นิยมเรียกว่า เที่ยงวัน, ถ้าหลังเที่ยงวัน ตั้งแต่ ๑๓ นาฬิกา ถึง ๑๗ นาฬิกา เรียกว่า บ่ายโมง ถึง บ่าย ๕ โมง, ถ้า ๑๘ นาฬิกา นิยมเรียกว่า ๖ โมงเย็น หรือ ยํ่าคํ่า.

เย็น

หมายถึงน. เวลาใกล้คํ่า ประมาณ ๑๖-๑๘ นาฬิกา.

เรือน

หมายถึงน. สิ่งปลูกสร้างที่ยกพื้นและกั้นฝา มีหลังคาคลุม สำหรับเป็นที่อยู่, ที่อยู่; ชื่อหนึ่งของดาวฤกษ์อาศเลษา มี ๕ ดวง ดาวนกอยู่ในปล่อง หรือ ดาวอสิเลสะ ก็เรียก; ทรวดทรง เช่น เรือนผม, ที่รับเพชรพลอย เช่น เรือนแหวน; จำนวน เช่น เงินเรือนหมื่น ราคาเรือนแสน; ลักษณนามใช้เรียกนาฬิกา เช่น นาฬิกาเรือนหนึ่ง นาฬิกา ๒ เรือน.

ตั้งนาฬิกาปลุก

หมายถึงก. ตั้งเวลาให้นาฬิกาปลุกตามที่ต้องการ.

ตั้งนาฬิกา

หมายถึงก. เทียบนาฬิกาให้ตรงเวลา.

สายทิ้ง

หมายถึงน. สายที่ห้อยโยงกับนาฬิกาพกหรือกำไลเป็นต้น.

สะสม

หมายถึงก. สั่งสม, รวบรวมให้เพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ, เช่น เขาสะสมนาฬิกาเป็นงานอดิเรก.

สายใย

หมายถึงน. โลหะเส้นเล็ก ๆ ขดเป็นวงในเครื่องนาฬิกาชนิดที่ไม่มีลูกตุ้ม ทำให้เกิดแรงเหวี่ยง บังคับให้นาฬิกาเดินเที่ยงตรง, โดยปริยายหมายถึงความผูกพัน เช่น สายใยแห่งความรักระหว่างแม่กับลูก.

นาฬิกาแดด

หมายถึงน. นาฬิกาชนิดหนึ่ง อาศัยเงาไม้หรือเงาแผ่นโลหะเป็นต้นที่ปรากฏบนหน้าปัด.

เม็ดมะยม

หมายถึงน. ปุ่มสำหรับตั้งเวลาหรือบางทีก็ใช้ไขลานนาฬิกาข้อมือหรือนาฬิกาพกด้วย; ปุ่มมีลักษณะเป็นพู ๆ โดยรอบคล้ายลูกมะยม สำหรับมือจับปิดเปิดประตูตู้หรือลิ้นชัก.

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ