ตัวกรองผลการค้นหา
ส
หมายถึงพยัญชนะตัวที่ ๔๐ เป็นพวกอักษรสูง ใช้ได้ทั้งเป็นพยัญชนะตัวต้นและตัวสะกดในแม่กดในคำที่มาจากภาษาบาลีและสันสกฤตเป็นต้น เช่น สวย สงสาร สวิตช์ รส สัมผัส สวิส.
ชาติ,ชาติ,ชาติ-,ชาติ-
หมายถึง[ชาด, ชาติ-, ชาดติ-] น. รส เช่น ไม่เป็นรสไม่เป็นชาติ.
ต้มกะทิ
หมายถึงน. ชื่อแกงอย่างหนึ่ง ใช้เนื้อเค็ม หรือปลาแห้ง หรือปลาสลิด เป็นต้น ต้มในนํ้ากะทิ ใส่หัวหอมกับส้มมะขาม มี ๓ รส เปรี้ยว เค็ม หวาน; เรียกผักชนิดต่าง ๆ ที่ต้มกับกะทิ สำหรับกินกับน้ำพริกกะปิ ว่า ผักต้มกะทิ.
เบญจกามคุณ
หมายถึงน. เครื่องผูกอันบุคคลพึงใคร่ ๕ คือ รูป เสียง กลิ่น รส และสิ่งที่ถูกต้องด้วยกาย. (ป. ปญฺจกามคุณ).
โยคะ
หมายถึงน. การทำจิตใจให้สงบ, การที่จิตไม่รับรู้อารมณ์ คือ รูป เสียง กลิ่น รส และสัมผัสต่าง ๆ, วิธีการควบคุมร่างกายและจิตใจได้อย่างสมบูรณ์โดยการทำจิตให้เป็นสมาธิ.
รูปธรรม
หมายถึง[รูบปะทำ] น. สิ่งที่รู้ได้ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย อันได้แก่ รูป เสียง กลิ่น รส และสิ่งที่สามารถสัมผัสได้ด้วยกาย, คู่กับ นามธรรม คือสิ่งที่รู้ได้เฉพาะทางใจเท่านั้น; สิ่งที่สามารถแสดงออกมาให้ปรากฏเป็นจริงเป็นจังมิใช่เป็นเพียงทฤษฎีเท่านั้น, สิ่งที่สามารถปฏิบัติได้, เช่น ต้องทำโครงการพัฒนาชนบทให้เป็นรูปธรรมด้วยการจัดให้มีนํ้ากินนํ้าใช้เป็นต้น. (ป.).
อายตนะ
หมายถึง[-ยะตะนะ] น. เครื่องรู้และสิ่งที่รู้ เช่น ตาเป็นเครื่องรู้ รูปเป็นสิ่งที่รู้, ในพระพุทธศาสนาหมายถึง จักษุ โสต ฆาน ชิวหา กาย ใจ เรียกว่า อายตนะภายใน เป็นเครื่องติดต่อกับอายตนะภายนอก คือ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์. (ป., ส.).
เผ็ด
หมายถึงว. มีรสอย่างรสพริก.
เครื่องปรุงรส
หมายถึงน. สิ่งที่ใช้ปรุงแต่งรสอาหาร เช่น น้ำตาล น้ำปลา เกลือ.
ขม
หมายถึงว. รสอย่างหนึ่งอย่างรสสะเดาหรือบอระเพ็ด.
ทิพยรส
หมายถึงน. รสทิพย์, รสเลิศ.
รู้รส
หมายถึงก. รู้สึกถึงผลที่ได้รับ (มักใช้ในทางไม่ดี) เช่น ถ้าเด็กดื้อต้องตีเสียบ้าง จะได้รู้รสไม้เรียว ฉันเพิ่งรู้รสความหิว.