ตัวกรองผลการค้นหา
สงบเสงี่ยม
หมายถึงก. ระงับกิริยาวาจาด้วยความสุภาพเรียบร้อย เช่น เวลาอยู่ต่อหน้าผู้ใหญ่ต้องสงบเสงี่ยมเจียมตัว.
ดับลม
หมายถึงก. ทำให้ลมในท้องระงับไปชั่วคราว, โดยปริยายหมายความว่า กินพอประทังความหิว.
ปลดหนี้
หมายถึง(กฎ) ก. การที่เจ้าหนี้ยกหนี้ให้แก่ลูกหนี้ อันเป็นเหตุให้หนี้นั้นเป็นอันระงับสิ้นไป.
เอกสารสิทธิ
หมายถึง[เอกกะสานสิด] (กฎ) น. เอกสารที่เป็นหลักฐานแห่งการก่อ เปลี่ยนแปลง โอน สงวน หรือระงับซึ่งสิทธิ.
ประนีประนอมยอมความ
หมายถึง(กฎ) น. ชื่อสัญญาซึ่งผู้เป็นคู่สัญญาทั้ง ๒ ฝ่าย ระงับข้อพิพาทอันใดอันหนึ่งซึ่งมีอยู่หรือจะมีขึ้นนั้นให้เสร็จไปด้วยต่างยอมผ่อนผันให้แก่กัน.
สติวินัย
หมายถึงน. วิธีระงับอนุวาทาธิกรณ์ของสงฆ์โดยไม่ต้องพิจารณา เพียงแต่สวดกรรมวาจาประกาศความไม่มีโทษของจำเลยไว้ซึ่งเรียกว่า ให้สติวินัย แล้วยกฟ้องของโจทก์เสีย. (ป.).
นิติกรรม
หมายถึง(กฎ) น. การใด ๆ อันทำลงโดยชอบด้วยกฎหมายและด้วยใจสมัคร มุ่งโดยตรงต่อการผูกนิติสัมพันธ์ขึ้นระหว่างบุคคล เพื่อจะก่อ เปลี่ยนแปลง โอน สงวน หรือระงับซึ่งสิทธิ.
นครบาล
หมายถึง[นะคอนบาน] น. (เลิก) ผู้มีหน้าที่ในการปกครองนครหลวง; ชื่อทบวงการเมืองระดับกระทรวงในสมัยก่อน คือ กระทรวงนครบาล ซึ่งมีหน้าที่ปกครองเขตนครหลวง; เรียกตำรวจที่มีหน้าที่ระวังและระงับเหตุการณ์ทางอาญาในกรุงเทพมหานครว่า ตำรวจนครบาล.
แอสไพริน
หมายถึงน. สารประกอบอินทรีย์ชนิดหนึ่ง มีสูตร CH3COO·C6H4·COOH ชื่อทางเคมี คือ acetylsalicylic acid ลักษณะเป็นของแข็งสีขาว หลอมละลายที่ ๑๓๓ °ซ. ใช้ในทางการแพทย์เป็นยาลดไข้และระงับปวด. (อ. aspirin).
รื้อ
หมายถึงก. แยกออกหรือถอดออกเป็นต้นจากสิ่งที่เป็นรูปแล้วให้เสียความเป็นกลุ่มก้อนของรูปเดิม เช่น รื้อบ้าน รื้อหลังคา รื้อข้าวของกระจุยกระจาย; เอาขึ้นมาใหม่ เช่น รื้อเรื่องราวที่ระงับไว้ขึ้นมาพิจารณาใหม่ รื้อเรื่องเดิมขึ้นมาเขียนใหม่; ขนออก เช่น รื้อสัตว์จากวัฏสงสาร.
เวร
หมายถึงน. ความพยาบาท, ความปองร้าย, บาป, เช่นเวรย่อมระงับด้วยการไม่จองเวร; คำแสดงความรู้สึกเดือดร้อนเพราะกรรมหรือชะตากรรมของตนในอดีต เช่นเวรของฉันแท้ ๆ ทำเงินเดือนหายไปทั้งเดือน, กรรมเวร หรือ เวรกรรม ก็ว่า. (ป.; ส. ไวร).
ก่อน
หมายถึงว. เดิม, เริ่ม, ลำดับแรก, เช่น แต่ก่อน, ถ้าใช้ประกอบหลังคำนามบอกเวลา หมายความว่า ล่วงมาแล้ว เช่น วันก่อน เดือนก่อน, ถ้าใช้ประกอบหน้าคำนามบอกเวลา หมายความว่า ยังไม่มาถึง เช่น ก่อนเที่ยง, ใช้ประกอบหลังคำกริยา บางกรณีหมายความว่า ให้ระงับยับยั้งไว้ชั่วคราว เช่น หยุดก่อน รอก่อน, บางกรณีหมายความว่า ล่วงหน้า เช่น ไปก่อน.