ตัวกรองผลการค้นหา
ลายน้ำทอง
หมายถึงน. ลายหรือรูปภาพซึ่งเขียนเส้นทองบนพื้นสีหรือเขียนสีบนพื้นทองบนเครื่องกระเบื้อง เช่นจาน ชาม กระโถน.
ลายเส้น
หมายถึงน. รูปภาพที่เขียนขึ้นด้วยเส้นดินสอหรือเส้นปากกา จะเป็นสีหรือขาวดำก็ได้, วิธีเขียนภาพโดยใช้เส้นดินสอหรือเส้นปากกา.
สินเทา
หมายถึงน. พื้นที่ว่างซึ่งกันไว้เป็นพื้นหลังของรูปภาพเพื่อแบ่งภาพเป็นตอน ๆ โดยเขียนล้อมด้วยเส้นแผลงหรือด้วยเส้นฮ่อเป็นต้น มักเขียนในงานจิตรกรรมฝาผนัง.
โคมเวียน
หมายถึงน. โคมชนิดที่มีที่ครอบหมุนได้ บนที่ครอบเขียนรูปภาพลำดับเรื่องในพระพุทธศาสนาเช่นมหาเวสสันดรชาดก เมื่อจุดไฟแล้วที่ครอบจะหมุนไปช้า ๆ ทำให้รูปภาพบนที่ครอบหมุนเวียนตามไปด้วย ใช้เป็นเครื่องตั้งดูเล่นตามงานในเทศกาลต่าง ๆ เช่น งานเทศน์มหาชาติ งานออกเมรุ; ชื่อเพลงโยนกลองในบทปี่พาทย์ทำนองหนึ่ง.
ลงเลขลงยันต์
หมายถึงก. เขียน สักหรือแกะสลักตารางหรือลายเส้นเป็นตัวเลข อักขระ หรือรูปภาพลงบนแผ่นผ้า ผิวหนัง ไม้ โลหะ เป็นต้น พร้อมกับร่ายเวทมนตร์คาถากำกับ ถือว่าเป็นของขลัง.
หนังกลางวัน
หมายถึงน. การมหรสพอย่างหนึ่ง ใช้หนังสลักเป็นรูปภาพคล้ายหนังใหญ่ แต่ระบายสีต่าง ๆ เชิดหน้าจอ แสดงในเวลากลางวัน ใช้ปี่พาทย์และเกราะบรรเลงประกอบ ผู้เชิดกับผู้พากย์เป็นคนละคน.
หนังใหญ่
หมายถึงน. การมหรสพอย่างหนึ่ง ใช้หนังสลักเป็นรูปภาพขนาดใหญ่กว่าหนังตะลุงมาก คีบด้วยไม้ตับ ๒ อันสำหรับจับเชิด เชิดได้ทั้งหลังจอและหน้าจอ ใช้ปี่พาทย์และเกราะบรรเลงประกอบ ผู้เชิดกับผู้พากย์เป็นคนละคนกัน.
สลัก
หมายถึง[สะหฺลัก] ก. ทำให้เป็นลวดลายหรือรูปภาพด้วยวิธีใช้สิ่วสกัด ตัด ตอก ดุน เป็นต้น เช่น สลักไม้ สลักลูกนิมิต หรือใช้สิ่งอื่นขูด ขีด ให้เป็นตัวหนังสือเป็นต้น เช่น สลักชื่อบนหีบบุหรี่. (เทียบ ม. selak).
แขนะ
หมายถึง[ขะแหฺนะ] (โบ) ก. แกะ, สลัก, เจาะ. น. กรรมวิธีในการสร้างงานประติมากรรมตกแต่ง หรือวิธีการทางช่างจุลศิลป์ประเภทหนึ่ง โดยใช้สมุกปั้นเป็นลวดลายหรือรูปภาพติดเข้ากับพื้นไม้หรือพื้นกระดาษ เช่น ปั้นหน้ายักษ์หน้าลิงติดลงบนกะโหลกปิดกระดาษทำเป็นหัวโขน, กระแหนะ ก็ว่า.
วาด
หมายถึงก. เขียนหรือลากเส้นเป็นลวดลายหรือรูปภาพ เช่น วาดภาพดอกไม้ วาดภาพทิวทัศน์, เขียนเป็นลายเส้น เช่น วาดภาพลายไทย, โดยปริยายหมายถึงสิ่งที่คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น วาดวิมานในอากาศเสียสวยหรู วาดโครงการในอนาคต; ทอดแขนหรือกรายแขนอย่างอ่อนช้อยในการฟ้อนรำ.
หนังตะลุง
หมายถึงน. การมหรสพอย่างหนึ่ง ใช้หนังสลักเป็นรูปภาพขนาดเล็ก คีบด้วยไม้ตับอันเดียว เชิดภายในโรงให้แสงไฟส่องผ่านตัวหนังสร้างเงาให้ปรากฏบนจอผ้าขาวหน้าโรง ใช้ปี่ กลอง และฆ้องคู่บรรเลงประกอบ ผู้เชิดเป็นผู้พากย์.
กระแหนะ
หมายถึง[-แหฺนะ] น. ลายปูนปิดทอง. ก. แตะ, เติม; ว่าเปรียบเปรย; กรรมวิธีในการสร้างงานประติมากรรมตกแต่ง หรือวิธีการช่างจุลศิลป์ประเภทหนึ่ง โดยใช้สมุกปั้นเป็นลวดลายหรือรูปภาพติดเข้ากับพื้นไม้หรือพื้นกระดาษ เช่น ปั้นหน้ายักษ์หน้าลิงติดลงบนกะโหลกปิดกระดาษทำเป็นหัวโขน, แขนะ ก็ว่า.