ค้นเจอ 54 รายการ

เบญจศก

หมายถึงน. เรียกปีจุลศักราชที่ลงท้ายด้วยเลข ๕ เช่น ปีกุน เบญจศก จุลศักราช ๑๓๔๕.

สัปตศก

หมายถึงน. เรียกปีจุลศักราชที่ลงท้ายด้วยเลข ๗ เช่น ปีฉลู สัปตศก จุลศักราช ๑๓๔๗. (ส.).

พ่ะย่ะค่ะ

หมายถึงว. คำรับหรือคำลงท้ายที่ผู้ชายใช้เพ็ดทูลพระราชวงศ์ที่ดำรงพระยศเจ้าฟ้า.

คะ

หมายถึงว. คำลงท้ายที่ผู้หญิงใช้ต่อจากคำถามหรือคำแสดงความสงสัยเพื่อแสดงความสุภาพ เช่น อะไรคะ กระมังคะ, คำลงท้ายที่ผู้หญิงใช้ต่อจากคำ ซิ นะ เพื่อแสดงความสุภาพ เช่น เชิญซิคะ ไปนะคะ.

นพศก

หมายถึง[นบพะ-] น. เรียกปีจุลศักราชที่ลงท้ายด้วยเลข ๙ เช่น ปีเถาะ นพศก จุลศักราช ๑๓๔๙.

ค่ะ

หมายถึงว. คำรับที่ผู้หญิงใช้อย่างเดียวกับ จ้ะ, คำลงท้ายที่ผู้หญิงใช้ในการบอกให้ทราบอย่างสุภาพ เช่น ไปค่ะ ไม่ไปค่ะ.

เอกศก

หมายถึง[เอกกะ-] น. เรียกปีจุลศักราชที่ลงท้ายด้วยเลข ๑ เช่น ปีมะแมเอกศก จุลศักราช ๑๓๔๑.

ฉศก

หมายถึง[ฉอสก] น. เรียกปีจุลศักราชที่ลงท้ายด้วยเลข ๖ เช่น ปีชวด ฉศก จุลศักราช ๑๓๔๖.

ปัจฉิมลิขิต

หมายถึง[ปัดฉิม-] น. “เขียนภายหลัง” คือหนังสือที่เขียนเพิ่มเติมลงท้ายเมื่อเซ็นชื่อแล้ว, ใช้อักษรย่อว่า ป.ล.

เทอญ

หมายถึง[เทิน] ว. เถิด (ใช้เป็นคำลงท้ายข้อความที่แสดงความมุ่งหมายให้เป็นดังนั้นดังนี้, มักใช้ในการให้ศีลให้พร).

ศก

หมายถึงน. ระบบการคำนวณนับเวลาเรียงลำดับกันเป็นปี ๆ โดยถือเอาเหตุการณ์ใดเหตุการณ์หนึ่งเป็นจุดเริ่มต้น ดังในคำว่า รัตนโกสินทรศก ซึ่งถือเอาปีเริ่มสร้างกรุงรัตนโกสินทร์เป็นจุดเริ่มต้น, บางทีก็ใช้เป็นคำย่อของศักราช เช่น พุทธศก คริสต์ศก; คำเรียกปีหนึ่ง ๆ ของจุลศักราช เพื่อให้ทราบว่าเป็นปีที่ลงท้ายด้วย ๑ ๒ ... หรือ ๐ เช่น ถ้าลงท้ายด้วย ๑ เรียกว่า เอกศก ลงท้ายด้วย ๒ เรียกว่า โทศก ... ลงท้ายด้วย ๐ เรียกว่า สัมฤทธิศก; (ปาก) ปี เช่น ศกนี้ ศกหน้า วันเถลิงศก. (ส.).

ขอเดชะ

หมายถึงน. คำขึ้นต้นและคำลงท้ายในการกราบบังคมทูลพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระบรมราชินีนาถ

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ