ตัวกรองผลการค้นหา
ศาสนีย,ศาสนีย-,ศาสนีย์
หมายถึง[สาสะนียะ-, สาสะนี] ว. สมควรจะสั่งสอน. (ส.).
ลูกนอกคอก
หมายถึงน. ลูกที่ประพฤติไม่ตรงตามที่พ่อแม่สั่งสอน หรือตามธรรมเนียมประเพณีของบรรพบุรุษ.
สีซอให้ควายฟัง
หมายถึง(สำ) ก. สั่งสอนแนะนำคนโง่มักไม่ได้ผล เสียเวลาเปล่า.
อาจริยวาท
หมายถึงน. ลัทธิที่ถือตามคติที่อาจารย์ได้สั่งสอนสืบ ๆ กันมา, มหายาน หรือ อุตรนิกาย ก็ว่า.
แสนเข็น
หมายถึงว. ยากแก่การที่จะอบรมสั่งสอนให้ดีได้ เช่น เด็กคนนี้ดื้อแสนเข็น.
เด็กเมื่อวานซืน
หมายถึง(สำ) น. คำกล่าวเชิงดูหมิ่นหรือเชิงสั่งสอนว่า มีความรู้หรือมีประสบการณ์น้อย.
สะเก็ดตีนเมรุ
หมายถึง(ปาก) ก. เลวมาก, ไม่มีค่า, เช่น เขาเป็นพวกสะเก็ดตีนเมรุ จะอบรมสั่งสอนอย่างไรก็ไม่ได้ดี.
ประศาสน์
หมายถึง[ปฺระสาด] น. การแนะนำ, การสั่งสอน; การปกครอง, การงำเมือง, การสั่ง. (ส. ปฺรศาสน; ป. ปสาสน).
ปัจเจกพุทธะ
หมายถึง[ปัดเจกกะ-] น. ชื่อพระพุทธเจ้าพวกหนึ่งที่ตรัสรู้เฉพาะตัว มิได้สั่งสอนผู้อื่น. (ป.).
ครู
หมายถึง[คฺรู] น. ผู้สั่งสอนศิษย์, ผู้ถ่ายทอดความรู้ให้แก่ศิษย์. (ป. ครุ, คุรุ; ส. คุรุ).
เวไนย
หมายถึงน. ผู้ควรแนะนำสั่งสอน, ผู้พึงดัดได้สอนได้, ใช้ว่า เวนย ก็มี เช่น จะให้เวนยชาติทั้งปวงได้. (นันโท). (ป. เวเนยฺย).
สอนลูกให้เป็นโจร
หมายถึง(สำ) ก. ไม่ว่ากล่าวอบรมสั่งสอนลูกให้เป็นคนดี เมื่อลูกไปลักขโมยของใครมาได้กลับชมเชยว่าเก่ง ในที่สุดลูกก็กลายเป็นโจร.