ตัวกรองผลการค้นหา
ทาสทาน
หมายถึง[ทาดสะ-] น. ทานอย่างเลว คือ อาการที่โยนให้หรือให้โดยไม่เต็มใจ. (ป., ส.).
ฉันทานุมัติ
หมายถึง[ฉันทานุมัด] น. ความเห็นชอบตามโดยความพอใจ, การได้รับมอบหมายด้วยความเต็มใจ. (ป. ฉนฺท + อนุมติ).
รับเคราะห์
หมายถึงก. รับเอาเคราะห์ร้ายของผู้อื่นมาเป็นของตนจะโดยเต็มใจหรือไม่ก็ตาม เช่น ลูกน้องรับเคราะห์แทนเจ้านาย.
เสียสละ
หมายถึงก. ให้โดยยินยอม, ให้ด้วยความเต็มใจ, เช่น ทหารเสียสละชีวิตเพื่อปกป้องเอกราชของชาติ พ่อแม่เสียสละทุกสิ่งทุกอย่างได้เพื่อลูก.
เสียหน่อย
หมายถึงคำประกอบท้ายกริยา แสดงความอ้อนวอนหรือความไม่เต็มใจเป็นต้น เช่น กินเสียหน่อยนะ ไปงานเขาเสียหน่อย ทำเสียหน่อย.
รู้เต็มอก
หมายถึงก. รู้ความเป็นไปอย่างดี แต่ไม่อาจพูดออกมาได้ เช่น รู้เต็มอกว่าเขาไม่ซื่อสัตย์ แต่ก็บอกใครไม่ได้, รู้อยู่แก่ใจ รู้อยู่เต็มใจ หรือ รู้อยู่เต็มอก ก็ว่า.
ยัดเยียด
หมายถึงก. เบียดกันแน่น, แออัดกันแน่น, เช่น คนเบียดเสียดยัดเยียดกัน; ขืนหรือแค่นให้โดยผู้รับไม่เต็มใจรับ เช่น ยัดเยียดขายให้, เยียดยัด ก็ว่า, ใช้เพียง ยัด คำเดียวก็มี.
กระบิดกระบวน
หมายถึงน. ชั้นเชิง เช่น ทำจริตกระบิดกระบวนสะบิ้งสะบัด. (ม. ร่ายยาว ชูชก), กระเบ็ดกระบวน ก็ใช้. ก. แกล้งทำชั้นเชิงเหมือนไม่เต็มใจ เช่น อย่ากระบิดกระบวนนักเลย.
แต่,แต่,แต่ว่า
หมายถึงสัน. เชื่อมความให้กลับกัน ให้ยิ่งหย่อนกว่ากัน หรือให้แย้งกัน เช่น นํ้าขึ้นแต่ลมลง นาย ก รักลูกก็จริงอยู่ แต่นาย ข ยังรักมากกว่า นาย ก กินข้าว แต่นาย ข นอน; ตาม เช่น ให้กินแต่เต็มใจ. (ม. คำหลวง มหาราช).
พรากผู้เยาว์
หมายถึง(กฎ) น. ชื่อความผิดอาญาฐานพาเอาผู้เยาว์ที่มีอายุเกิน ๑๕ ปี แต่ยังไม่เกิน ๑๘ ปีไปเสียจากบิดามารดา ผู้ปกครอง หรือผู้ดูแล โดยผู้เยาว์นั้นไม่เต็มใจไปด้วย.
รับใช้
หมายถึงก. รับว่าจะใช้เงินให้; คอยปรนนิบัติพ่อแม่ครูอาจารย์เป็นต้นด้วยความเต็มใจ เช่น ลูกรับใช้พ่อแม่ ศิษย์รับใช้ครู, ปฏิบัติหน้าที่ตามที่นายหรือผู้มีอำนาจเหนือสั่งหรือใช้ เช่น พลทหารอยู่รับใช้ผู้บังคับบัญชา.
ปวารณา
หมายถึง[ปะวาระนา] ก. ยอมให้ภิกษุสามเณรขอหรือเรียกร้องเอาได้ เช่น ขอของจากผู้ปวารณา ใบปวารณา; บอกยอมให้ใช้ได้ด้วยความเต็มใจ เช่น ขอปวารณาจะใช้อะไรก็บอก; พิธีกรรมทางศาสนายอมให้สงฆ์ว่ากล่าวตักเตือนได้ ทำในวันขึ้น ๑๕ คํ่า เดือน ๑๑ ซึ่งเป็นวันออกพรรษา, เรียกวันออกพรรษาว่า วันปวารณา หรือ วันมหาปวารณา. (ป.).