ค้นเจอ 22 รายการ

เพิดเพ้ย

หมายถึงก. เย้ยหยัน; ร้องเฮ้ย (ใช้เป็นคำขับไล่ให้หนีไป).

พยักยิ้ม

หมายถึงก. แสดงกิริยาพยักพเยิดพร้อมทั้งยิ้มอยู่ในหน้าเป็นเชิงเย้ยหยัน.

ยิ้ม

หมายถึงก. แสดงให้ปรากฏว่าชอบใจ เยาะเย้ย หรือเกลียดชัง เป็นต้น ด้วยริมฝีปากและใบหน้า.

บริหาส

หมายถึง[บอริหาด] (แบบ) ก. หัวเราะ, ร่าเริง, เยาะเย้ย. (ป., ส. ปริหาส).

แสยะ

หมายถึง[สะแหฺยะ] ก. อาการของปากที่แบะออก แสดงให้รู้ว่า เกลียด เกลียดกลัว เยาะเย้ย หรือ ดูแคลน.

โผะ

หมายถึงว. เสียงที่หมอและควาญช้างร้องเมื่อทำพิธีบำรูงาช้าง เป็นการเยาะเย้ยเมื่อรำท่าต่าง ๆ แล้ว.

งามแงะ

หมายถึง(กลอน) ว. งามน่าดู เช่น เจ้าเย้ยเยาะว่าเงาะไม่งามแงะ แฮะแฮะว่าเล่นหรือว่าจริง. (สังข์ทอง).

โห่

หมายถึงอ. เสียงที่เปล่งออกมาดังเช่นนั้น เป็นเสียงนำเพื่อแสดงความพร้อมเพรียงในการรื่นเริงหรือการมงคลเป็นต้น. ก. ทำเสียงเช่นนั้น; โดยปริยายหมายความว่า เย้ยให้ โดยทำเสียงเช่นนั้น.

สุดท้ายปลายโต่ง

หมายถึง(ปาก) ว. หลังสุด, ท้ายสุด, (มักใช้ในเชิงตำหนิหรือเย้ยหยัน), เช่น ทำไมมาเสียสุดท้ายปลายโต่ง ไหนเคยคุยว่าเก่ง ทำไมถึงสอบได้ที่สุดท้ายปลายโต่ง.

กราว

หมายถึง[กฺราว] น. ชื่อเพลงหน้าพาทย์ ใช้ในเวลายกทัพหรือแสดงอาการร่าเริง, ครั้นมีเพลงกราวอื่น ๆ ด้วย เพลงนี้เรียกว่า กราวใน, ต่อนี้ทำบทเชิด, ถ้ามีการพากย์ เช่น พากย์รถก่อนยกทัพออก ทำเพลงกราวในหยุด หมายความว่าสุดเจรจาแล้วใช้กราวในพอหยุดป้องหน้าแล้วจึงพากย์, สำหรับบทของมนุษย์ ลิง หรือเทวดา เปลี่ยนเป็น กราวนอก ใช้เป็นเพลงประจำกัณฑ์มหาราช ในเวลามีเทศน์มหาชาติ และเรียกว่า กราวเขน ก็ได้ เพราะเมื่อยกกองทัพ พวกเขนออกก่อน, ถ้าเกี่ยวกับการรำเยาะเย้ยใช้เพลง กราวรำ, อาณัติสัญญาณลาโรงก็ใช้เพลงนี้, เมื่อประสมลูกฆ้องมอญเป็น กราวรำมอญ, นอกนี้ถ้าประสมลูกฆ้องใน ๑๒ ภาษา ก็มีชื่อตามภาษานั้น ๆ คือ กราวกระแซ เจือไปข้างเพลงลาว ๆ, กราวเขมร มีเนื้อร้องเป็นเพลงเขมร, กราวจีน ทำในเวลาเข้าเฝ้าหรือเดินเล่นหรือเล่นสนุกกัน ทำนองเป็นเพลงจีน ๒ ชั้น.

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ