ตัวกรองผลการค้นหา
เปรตวิษัย,เปรตวิสัย
หมายถึง[เปฺรดตะ-] น. ภูมิหรือกำเนิดแห่งเปรต, เปตวิสัย ก็ใช้. (ส. ไปตฺรฺย + วิษย; ป. เปตฺติวิสย).
มักฏกะ
หมายถึง[มักกะตะกะ] (แบบ) น. แมงมุม. (ป. มกฺกฏก; ส. มรฺกฏก).
เศวต,เศวต-
หมายถึง[สะเหฺวด, สะเหฺวดตะ-] น. สีขาว. (ส.; ป. เสต).
อุตดม,อุตตมะ,อุตม,อุตม-
หมายถึง[อุดดม, อุดตะมะ-] ว. สูงสุด, ยิ่ง, เลิศ, มากมาย, บริบูรณ์. (ป., ส. อุตฺตม).
กตเวทิตา
หมายถึง[กะตะ-] น. ความเป็นผู้ประกาศคุณท่าน, ความเป็นผู้สนองคุณท่าน, เป็นคำคู่กันกับ กตัญญุตา. (ป.).
สถาปัตยกรรมศาสตร์
หมายถึง[สะถาปัดตะยะกำมะสาด] น. วิชาว่าด้วยการออกแบบงานก่อสร้างที่ประกอบด้วยศิลปลักษณะ.
เหมันต,เหมันต-,เหมันต์
หมายถึง[เหมันตะ-] น. ฤดูหนาว ในคำว่า ฤดูเหมันต์, เหมันตฤดู ก็ว่า. (ป., ส.).
จิตกาธาน
หมายถึง[จิดตะ-] น. เชิงตะกอน (สำหรับเจ้านาย), (ราชา) พระจิตกาธาน. (ป., ส. จิตก + อาธาน).
นัฏ,นัฏกะ
หมายถึง[นัด, นัดตะกะ] (แบบ) น. ผู้ฟ้อนรำ. (ป., ส. นฏฺฏ, นฏฺฏก).
ประทุษฏจิต,ประทุษฐจิต
หมายถึง[ปฺระทุดตะจิด, ปฺระทุดถะจิด] น. จิตร้าย, จิตโกรธ.
เจื่อน
หมายถึงก. เข้าหน้าไม่สนิทเพราะห่างเหินไปนาน เช่น หมู่นี้เขาเจื่อนไป, เจิ่น ก็ว่า; วางหน้าไม่สนิทเพราะกระดากอายเนื่องจากถูกจับผิดได้เป็นต้น เช่น หน้าเขาเจื่อนไป, เรียกหน้าที่มีลักษณะเช่นนั้นว่า หน้าเจื่อน.
คลา
หมายถึง[คฺลา] (กลอน) ก. เดิน, เคลื่อน, เช่น พาชีขี่คล่องคล้อย ควรคลา. (โลกนิติ); คลาด เช่น อายแก่ราชาคลา ยศแท้. (โลกนิติ).