ตัวกรองผลการค้นหา
วสันตดิลก
หมายถึง[วะสันตะดิหฺลก] น. ชื่อฉันท์อย่างหนึ่ง บาทหนึ่งมี ๑๔ คำ เช่น ช่อฟ้าก็เฟื้อยกลจะฟัด ดลฟากทิฆัมพร บราลีพิไลพิศบวร นภศูลสล้างลอย. (อิลราช). (ป., ส. วสนฺตติลก).
ฝ่ายค้าน
หมายถึงน. ฝ่ายที่แสดงความเห็นโต้แย้งความเห็นของฝ่ายเสนอในการโต้วาที, ตรงข้ามกับ ฝ่ายเสนอ, สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของพรรคที่ไม่ได้ร่วมเป็นรัฐบาล ซึ่งทำหน้าที่ค้านรัฐบาลในรัฐสภา, โดยปริยายหมายถึงผู้ที่มีความเห็นโต้แย้งกับผู้อื่น เช่น เรื่องนี้แม้ใครจะเห็นด้วยก็ตาม แต่ฉันขอเป็นฝ่ายค้าน.
สดับ
หมายถึง[สะดับ] ก. ตั้งใจฟัง เช่น สดับพระธรรมเทศนา, มักใช้เข้าคู่กับคำตรับฟัง เป็น สดับตรับฟัง; (วรรณ) ได้ยิน เช่น ถึงแม้ว่าจะสนิทนิทรา ก็ผวาเมื่อสดับศัพท์เสียงพี่. (วิวาหพระสมุท). (ข. สฎาบ่).
เสวนะ,เสวนา
หมายถึง[เสวะ-] ก. คบ เช่น ควรเสวนากับบัณฑิต ไม่ควรเสวนากับคนพาล, (ปาก) พูดจากัน เช่น หมู่นี้พวกเราไม่ค่อยได้พบปะเสวนากันเลย. น. การสนทนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน เช่น กลุ่มวรรณกรรมจัดเสวนาเรื่องสุนทรภู่. (ป.).
แฝด
หมายถึงว. เป็นคู่ (ใช้เรียกลูกที่เกิดจากท้องแม่เดียวกัน ในระยะเวลาเดียวกันหรือใกล้กัน) เช่น มีลูกแฝด, โดยอนุโลมเรียกลูกที่เกิดจากท้องแม่คนเดียวกันแม้เกินกว่า ๒ คนก็ได้ เช่น แฝด ๓ แฝด ๖, ติดกันเป็นคู่ เช่น มะม่วงแฝด ผลไม้แฝด.
วลี
หมายถึง[วะลี] น. แถว, รอย, รอยย่น (ที่หน้า). (ป., ส.); (ไว) กลุ่มคำที่เรียงติดต่อกันเป็นระเบียบและมีกระแสความเป็นที่หมายรู้กันได้ แต่ยังไม่เป็นประโยคสมบูรณ์ เช่น หนูแหวนแขนอ่อน เวลาดึกดื่นเที่ยงคืน ทางเดินเข้าสวนมะพร้าว.
กดเหลือง
หมายถึงน. ชื่อปลาน้ำจืดชนิด Mystus nemurus ในวงศ์ Bagriidae ไม่มีเกล็ด หัวแบน หนวดยาวถึงครีบก้น ข้างลำตัวสีเหลือง ด้านหลังสีน้ำตาลดำ มีชุกชุมทั่วไปแม้ในเขตน้ำกร่อยใกล้ปากแม่น้ำ, กดขาว หรือ ชงโลง ก็เรียก.
ภูตคาม
หมายถึง[พูตะ-] น. พืชพันธุ์อันอยู่กับที่ มี ๕ ชนิด คือ พืชที่เกิดจากเหง้า ๑ ที่เกิดจากต้น ๑ ที่เกิดจากข้อ ๑ ที่เกิดจากยอด ๑ และที่เกิดจากเมล็ด ๑, คู่กับ พืชคาม คือ พืชพันธุ์ที่แม้จะถูกพรากจากที่แล้ว ก็ยังจะเป็นได้อีก. (ป.; ส. ภูตคฺราม ว่า สิ่งทั้งปวง, สิ่งที่เกิดแล้วทั้งปวง).
ปาราชิก
หมายถึงน. ชื่ออาบัติหนักที่สุดในพระวินัย เมื่อภิกษุล่วงละเมิดแม้เพียงข้อใดข้อหนึ่งต้องขาดจากความเป็นภิกษุทันที บวชเป็นภิกษุอีกไม่ได้ มี ๔ ข้อ คือ ๑. เสพเมถุน ๒. ลักทรัพย์ ๓. ฆ่ามนุษย์ ๔. อวดอุตริมนุสธรรม. ว. ผู้ละเมิดอาบัติปาราชิก เช่น พระปาราชิก. (ป.).
หาก
หมายถึงก. โบราณใช้เป็นกริยาช่วยหมายความว่า พึง, ควร, เช่น “อันไตรโลกย์หากบูชา” = อันไตรโลกย์พึงบูชา. ว. จาก, แยกออกไปอีกส่วนหนึ่ง, เช่น ออกหาก ต่างหาก. สัน. ถ้า, แม้, เช่น หากเธอมาฉันก็จะรอ; เผอิญ เช่น หากอักนิฏฐ์พรหมฉ้วย พี่ไว้จึงคง. (ตำนานเรื่องศรีปราชญ์), หากเดชพระจอมจุมพลป้องบไภยันต์. (บุณโณวาท).
กฤษฎา,กฤษฎา,กฤษฎาญ,กฤษฎาญชลิต,กฤษฎาญชลี,กฤษฎาญชวลิตวา,กฤษฎาญชวลิศ,กฤษฎาญชวเลศ,กฤษฎาญชุลี
หมายถึง[กฺริดสะดา, -ดาน, -ดานชะลิด, -ดานชะลี, -ดานชะวะลิดตะวา, -ดานชะวะลิด, -ดานชะวะเลด, -ดานชุลี] (โบ; กลอน) แผลงมาจาก กฤดาญชลี เช่น ถวายอภิวันทกฤษฎาญกฤษฎาการกราบเกล้า. (ม. คำหลวง มัทรี; ฉกษัตริย์), กฤษฎาญชลิตไหว้. (มาลัยคำหลวง), กฤษฎาญชลียะยุ่งแล. (ม. คำหลวง ทศพร), อันว่ากฤษฎาญชวลิตวา. (มาลัยคำหลวง), อนนว่าเจ้าสากลกฤษฎาญชวลิศท่านธแล้ว. (ม. คำหลวง ทานกัณฑ์), ถวายกฤษฎาญชวเลศ ทูลแถลงเหตุนุสนธ์. (เพชรมงกุฎ), กฤษฎาญชุลีน้อม. (ฉันทลักษณ์).
นวกภูมิ
หมายถึง[นะวะกะพูม] น. ขั้นหรือชั้นแห่งผู้ใหม่, ในคณะสงฆ์หมายถึงภิกษุที่มีพรรษาต่ำกว่า ๕, ภิกษุจัดเป็น ๓ ชั้น ชั้นต้น คือ นวกภูมิ (ชั้นใหม่), ชั้นกลาง คือ มัชฌิมภูมิ มีพรรษาตั้งแต่ ๕ ถึง ๙, และ ชั้นสูง คือ เถรภูมิ (ชั้นพระเถระ) มีพรรษาตั้งแต่ ๑๐ ขึ้นไป. (ป.).