ตัวกรองผลการค้นหา
จิตกาธาน
หมายถึง[จิดตะ-] น. เชิงตะกอน (สำหรับเจ้านาย), (ราชา) พระจิตกาธาน. (ป., ส. จิตก + อาธาน).
วิจิตรบรรจง
หมายถึง[-จิดบันจง] ว. ลักษณะที่ตั้งอกตั้งใจทำอย่างประณีตงดงาม เช่น กวีนิพนธ์บทนี้แต่งอย่างวิจิตรบรรจง.
อาจิณ
หมายถึง[-จิน] ว. เป็นปรกติ, ติดเป็นนิสัย, เสมอ ๆ, เนือง ๆ. (ป. อาจิณฺณ; ส. อาจิรฺณ).
วิจิตรรจนา
หมายถึง[-จิดรดจะนา] ว. งามอย่างประณีตละเอียดซับซ้อน เช่น มาลัยพวงนี้เขาตั้งใจร้อยอย่างวิจิตรรจนา.
อาจิณ-
หมายถึง[-จินนะ-] ว. เป็นปรกติ, ติดเป็นนิสัย, เสมอ ๆ, เนือง ๆ. (ป. อาจิณฺณ; ส. อาจิรฺณ).
เขี้ยวแก้ว
หมายถึงน. เขี้ยวของพระพุทธเจ้า เรียกว่า พระเขี้ยวแก้ว; เขี้ยวของงูพิษ อยู่บริเวณส่วนหน้าของขากรรไกรบน มีขนาดใหญ่และยาว เช่น งูจงอาง งูเห่า งูเขียวหางไหม้, ถ้าอยู่บริเวณท้ายขากรรไกรบน เรียกว่า เขี้ยวแก้วใน หรือ เขี้ยวแก้วใต้ตา เช่น งูปล้องทอง งูเขียวหัวจิ้งจก; เขี้ยวที่งอกอยู่กลางเพดานปากของหนุมาน.
พิสดาร
หมายถึง[พิดสะดาน] ว. กว้างขวาง, ละเอียดลออ (ใช้แก่เนื้อความ) เช่น ประวัติศาสตร์ฉบับพิสดาร มีความพิสดารดังนี้; (ปาก) แปลกพิลึก เช่น เล่นพิสดาร. (ส. วิสฺตาร; ป. วิตฺถาร).
ทองปราย
หมายถึง(โบ) น. ปืนโบราณชนิดหนึ่ง เช่น ล้วนถือทองปรายทุกคน. (รามเกียรติ์ ร. ๑).
ไม่มีปี่มีกลอง,ไม่มีปี่มีขลุ่ย
หมายถึง(สำ) ก. ไม่มีเค้า เช่น การที่เจ็บนั้นก็ไม่มีปี่มีกลอง. (พระราชหัตถเลขา ร. ๗).
วัณณะ
หมายถึง(แบบ) น. สี, ผิว; ชนิด, อย่าง. (ป.; ส. วรฺณ). (ดู วรรณ-, วรรณะ).
วางวาย
หมายถึงก. ตาย เช่น นรชาติวางวาย มลายสิ้นทั้งอินทรีย์. (กฤษณา), วายวาง ก็ว่า.
สู
หมายถึง(วรรณ) ว. อาย เช่น มาเดียวเปลี่ยวอกอ้า อายสู. (ตะเลงพ่าย).