ค้นเจอ 339 รายการ

เจตสิก

หมายถึง[เจตะ-, เจดตะ-] น. อารมณ์ที่เกิดกับใจ. ว. เป็นไปในจิต เช่น สุขหรือทุกข์ที่เกิดในจิต. (ป.; ส. ไจตสิก).

ไตรวิชชา

หมายถึง[-วิดชา] น. วิชชา ๓ คือ วิชชาระลึกชาติหนหลังได้ ๑ วิชชารู้ความตายความเกิดของคนและสัตว์ ๑ วิชชารู้ในทางทำให้สิ้นกิเลส ๑.

กสิณ

หมายถึง[กะสิน] น. สมถกรรมฐานหมวดหนึ่งว่าด้วยอารมณ์ที่กำหนดธาตุ ๔ คือ ปฐวี (ดิน) อาโป (นํ้า) เตโช (ไฟ) วาโย (ลม), ว่าด้วยวรรณะ (สี) ๔ คือ นีล (สีเขียว) ปีต (สีเหลือง) โลหิต (สีแดง) โอทาต (สีขาว), ว่าด้วยอากาศ (ที่ว่าง) และ อาโลก (แสงสว่าง) รวมเป็น ๑๐ อย่าง. (ป.).

ธาตุมมิสสา

หมายถึง[ทาตุมมิดสา] น. ชื่อฉันท์วรรณพฤติ กำหนดด้วย ๓ คณะ คือ ม ภ ต คณะ กับลงท้ายเป็นครุอีก ๒ พยางค์ (ตามแบบว่า ธาตุมฺมิสฺสา ยติ สา มฺภา ตคา โค) ตัวอย่างว่า จักสำแดงมิตร สุจริตจิตนามขนาน บัญญัติคือสมาน สุขทุขเสมอประดุจกัน. (ชุมนุมตำรากลอน).

จังกูด

หมายถึงน. เครื่องถือท้ายเรือ คล้ายหางเสือ ทำด้วยไม้เป็นแผ่นใหญ่ รูปร่างคล้ายพาย มีด้ามยาว, จะกูด หรือ ตะกูด ก็เรียก. (ข. จงฺกูต).

ขู่เข็ญ

หมายถึงก. ทำให้กลัวโดยบังคับ; (กฎ) แสดงกิริยาหรือวาจาให้ผู้อื่นต้องกลัวว่าจะเป็นอันตรายต่อชีวิต ร่างกาย เสรีภาพ ชื่อเสียง หรือทรัพย์สินของผู้นั้น หรือของบุคคลที่สาม.

บาต

หมายถึงก. ตก, ตกไป, มักใช้ประกอบหลังคำอื่น เช่น อสนีบาต = การตกแห่งสายฟ้า คือ ฟ้าผ่า, อุกกาบาต = การตกแห่งคบเพลิง คือ แสงสว่างที่ตกลงมาจากอากาศ. (ป. ปาต).

ธรรมคุณ

หมายถึงน. ชื่อบทแสดงคุณของพระธรรม มีบาลีขึ้นต้นว่า สฺวากฺขาโต และลงท้ายว่า ปจฺจตฺตํ เวทิตพฺโพ วิญฺญูหิ. (ส.; ป. ธมฺมคุณ).

เชอ

หมายถึงก. เป็นคำใช้เข้าคู่กับคำ บำเรอ เช่น อันว่าอมิตดาก็อยู่บำเรอเชอภักดิ์. (ม. คำหลวง ชูชก), จำนำบำเรอเชอถนอม. (สรรพสิทธิ์).

เซลลูลอยด์

หมายถึงน. สารประกอบประเภทเทอร์โมพลาสติกชนิดหนึ่ง ทำได้จากปฏิกิริยาของเซลลูโลสไนเทรต การบูร และเอทิลแอลกอฮอล์ ลักษณะเป็นของแข็ง ติดไฟง่ายมาก. (อ. celluloid).

ภุชงคประยาต

หมายถึง[พุชงคะ-] น. ชื่อฉันท์แบบหนึ่งมี ๑๒ คำ แบ่งเป็น ๒ วรรค มีลหุต้นวรรคและกลางวรรค. (ส.; ป. ภุชงฺคปฺปยาต).

อนุมูล

หมายถึงน. หมู่ธาตุซึ่งเมื่อเข้าสู่ปฏิกิริยาเคมีแล้ว ทั้งหมู่จะเข้าทำปฏิกิริยาด้วยกัน โดยไม่แตกแยกออกจากกัน เช่น อนุมูลไฮดรอกซิล (-OH) อนุมูลไนเทรต (-NO3). (อ. radical, radicle).

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ