ตัวกรองผลการค้นหา
โดร
หมายถึง[โดน] (กลอน; ตัดมาจาก ข. พิโดร) ก. หอม, กลิ่นหอมที่ฟุ้งไป; โดยปริยายหมายถึงดอกไม้ เช่น กระทึงทอง ลำดวนโดร รสอ่อน พี่แม่. (กำสรวล).
ซื้อหน้า
หมายถึงก. เสนอหน้า, สำแดงตัวออกมาให้เห็น, เช่น ครั้นตอบพี่มึงถึงแต้ม อีแสนแนมซื้อหน้าเข้ามาสู้. (ไกรทอง); กู้หน้า เช่น ยอมเสียเงินเพื่อซื้อหน้า.
พิศ
หมายถึง[พิด] ว. ยี่สิบ. น. เรียกเหรียญทองครั้งรัชกาลที่ ๔ ชนิดหนึ่ง มีค่าเท่ากับ ๑ ใน ๒๐ ของชั่ง = ๔ บาท ว่า ทองพิศ. (ส. วึศ; ป. วีส).
สายสูตร
หมายถึงน. เชือกหนังที่ผูกช้างให้เดินตามกัน; เส้นด้ายที่เจ้านายหรือสมเด็จพระสังฆราชจับโยงไปเพื่อกระทำกิจกรรมทางศาสนา เช่น ยกช่อฟ้าหรือเททองหล่อพระพุทธรูปเป็นต้น.
เบ้า
หมายถึงน. ดินหรือโลหะปั้นเป็นรูปคล้ายถ้วยสำหรับหลอมหรือผสมโลหะบางชนิด เช่นทอง เงิน, โดยปริยายหมายถึงสิ่งที่มีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น เบ้าหัวไหล่ เบ้าขนมครก.
หีบเชิงชาย
หมายถึงน. หีบศพพระราชทานสำหรับพระครูสัญญาบัตร ข้าราชการชั้นสัญญาบัตรขั้นต้นเป็นต้น เชิงชายทั้ง ๔ ด้านแกะสลักเป็นลายปิดทองประดับกระจก.
อรุณ
หมายถึงน. เวลาใกล้พระอาทิตย์จะขึ้น มี ๒ ระยะ คือ มีแสงขาวเรื่อ ๆ (แสงเงิน) และแสงแดงเรื่อ ๆ (แสงทอง), เวลายํ่ารุ่ง. (ป., ส.).
ฉัยยา
หมายถึง(กลอน) น. ผู้หญิง, นางผู้มีโฉมงาม, เขียนเป็น ไฉยา ก็มี เช่น เมื่อนั้น นางรจนาไฉยา แลเห็นสมเด็จพระมารดา กัลยาออกมารับทันที. (บทละครสังข์ทอง). (ดู ชายา ๒).
ไฉยา
หมายถึง(กลอน) น. ผู้หญิง, นางผู้มีโฉมงาม, เช่น เมื่อนั้น นางรจนาไฉยา แลเห็นสมเด็จพระมารดา กัลยาออกมารับทันที. (บทละครสังข์ทอง), เขียนเป็น ฉัยยา ก็มี. (ดู ชายา ๒).
นาก
หมายถึงน. โลหะผสมชนิดหนึ่ง โดยเอาทองคำ เงิน กับทองแดงผสมเข้าด้วยกัน นิยมใช้ทำรูปพรรณต่าง ๆ. ว. เรียกสีอย่างสีทองปนแดง เช่น ชมพู่สีนาก.
วอดวาย
หมายถึงก. หมดไป, สิ้นไป, เช่น บ้านเรือนถูกไฟไหม้วอดวายแล้ว, วอด ก็ว่า; (วรรณ) ตาย เช่น ถึงสุราพารอดไม่วอดวาย ไม่ใกล้กรายแกล้งเมินก็เกินไป. (นิ. ภูเขาทอง).
กุศราช
หมายถึง[กุดสะหฺราด, กุดสะราด] น. ผ้าโบราณชนิดหนึ่ง มีดอกคล้ายผ้าลาย เนื้อหยาบหนา เช่น คลี่ผ้ากุศราชออกคาดพุง. (สังข์ทอง).