ค้นเจอ 312 รายการ

แล้วแต่

หมายถึงว. ตามแต่, สุดแต่, สุดแท้แต่, (ใช้ในลักษณะที่ยกอำนาจการตัดสินขั้นสุดท้ายให้แก่ผู้ใดหรือสิ่งใดเป็นต้น) เช่น แล้วแต่บุญกรรม แล้วแต่สถานการณ์ แล้วแต่กรณี แล้วแต่คณะรัฐมนตรีจะพิจารณาอนุมัติหรือไม่.

พฤนท์

หมายถึง[พฺรึน ถ้าสัมผัสกับ อิ อ่านเป็น พฺริน] น. กอง, หมู่, จำนวนมาก. (ส. วฺฤนฺท); สังขยาจำนวนสูงเท่ากับโกฏิยกกำลัง ๗ หรือ ๑ มีศูนย์ ๔๙ ตัว. (ส. วฺฤนฺท; ป. พินฺทุ).

ลับแล

หมายถึงน. เครื่องกั้นหรือบังตา เป็นแผงรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีขาตั้งขนาบ ๒ ข้าง ยกย้ายได้ มักตั้งต่อช่องประตูเข้าไป บังตาคนภายนอกไม่ให้เห็นภายใน; ชื่อเมืองที่เร้นลับ ถือกันว่าจะพบได้ก็แต่โดยบังเอิญ ถ้าตั้งใจไปไม่พบ.

ข่ม

หมายถึงก. ใช้กำลังกดลงไม่ให้เผยอขึ้น; สานลายด้วยการใช้เส้นตอกเป็นต้นที่เป็นเส้นสานขัดทับอยู่ข้างบนเส้นตอกที่เป็นเส้นยืน ตรงข้ามกับคำ ยก คือ ใช้เส้นสานลอดใต้เส้นยืน เช่น ยก ๒ ข่ม ๒; โดยปริยายหมายความว่า แสดงกิริยาวาจาให้เห็นว่าเหนือกว่า หรือทำให้อีกฝ่ายหนึ่งรู้สึกว่าด้อยกว่า เช่น แต่งตัวข่มเพื่อน พูดข่ม, บังคับ เช่น ข่มใจ ข่มอารมณ์; ครอบ.

กรง

หมายถึง[กฺรง] น. สิ่งที่ทำเป็นซี่ ๆ สำหรับขังนกเป็นต้น ตั้งอยู่กับที่หรือยกไปได้; ในบทกลอนใช้หมายความว่า เปล ก็มี เช่น ถนอมในพระกรงทอง. (เห่กล่อม). (เทียบมลายู กุรง; ข. ทฺรุง).

คุณบท

หมายถึง[คุนนะ-] น. กลบทโบราณชนิดหนึ่ง ตัวอย่างว่า “เดชกุศลผล ตนข้าแปล แก้คัมภีร์ ที่ชาดก, ยกจากอรรถ จัดปัญญาส ชาติโพธิสัตว์ คัดประจง”. (ศิริวิบุลกิตติ).

กำลัง

หมายถึงน. (คณิต) เลขชี้กำลังที่เขียนลงบนจำนวนจริง เช่น ๕๒ อ่านว่า ๕ ยกกำลัง ๒ ๗ อ่านว่า ๗ ยกกำลัง ; (ฟิสิกส์) จำนวนงานที่สิ่งใดสิ่งหนึ่งกระทำได้โดยสมํ่าเสมอในหนึ่งหน่วยเวลา เขียนเป็นความสัมพันธ์ได้ คือ กำลังเท่ากับ , อัตราของการทำงาน ก็เรียก; ขนาดของของกลมที่วัดโดยรอบ เช่น ช้างมีกำลัง (วัดรอบอก) เท่านั้นนิ้ว เท่านี้นิ้ว, ไม้มีกำลัง (วัดรอบลำต้น) เท่านั้นนิ้ว เท่านี้นิ้ว.

อู่ลอย

หมายถึงน. อู่ซ่อมเรือชนิดหนึ่ง ลักษณะคล้ายแพ เคลื่อนที่ได้ และสามารถปรับระดับให้จมหรือลอยอยู่ในระดับลึกที่ต้องการ เมื่อนำเรือเข้าอู่แล้ว ปรับระดับอู่ให้ลอยตัวยกเรือขึ้นพ้นนํ้าเพื่อซ่อมท้องเรือภายนอก.

โผลกเผลก

หมายถึง[โผฺลกเผฺลก] ว. กะโผลกกะเผลก, อาการเดินไม่ปรกติ คือยกขาข้างหนึ่งไม่ได้ระดับกับอีกข้างหนึ่งอย่างคนขาพิการเดิน, อาการที่เดินไปด้วยความลำบากหรือเคลื่อนไปบนพื้นที่ที่ขรุขระลุ่ม ๆ ดอน ๆ, โขยกเขยก ก็ว่า

กอบ

หมายถึงก. เอามือ ๒ ข้างรวบสิ่งของเข้ามาจนนิ้วก้อยของมือชิดกันแล้วยกขึ้น. น. เรียกของที่กอบขึ้นครั้งหนึ่ง ๆ ว่า กอบหนึ่ง ๆ, ลักษณนามเรียกปริมาณของของที่กอบขึ้นมาเช่นนั้น เช่น ทรายกอบหนึ่ง ข้าวสาร ๒ กอบ.

บุคลาธิษฐาน

หมายถึง[บุกคะลาทิดถาน, บุกคะลาทิดสะถาน] ว. มีบุคคลเป็นที่ตั้ง, ที่ยกคนหรือสิ่งที่เป็นรูปธรรมอื่น ๆ ขึ้นมาเป็นหลักในการอธิบาย เช่น เปรียบกิเลสเหมือนพญามาร, คู่กับ ธรรมาธิษฐาน.

ห้ามสมุทร

หมายถึงน. ชื่อพระพุทธรูปปางหนึ่ง อยู่ในพระอิริยาบถยืน พระหัตถ์ทั้ง ๒ ข้างยกเสมอพระอุระ ตั้งฝ่าพระหัตถ์ยื่นออกไปข้างหน้า เป็นกิริยาห้าม ที่สร้างเป็นแบบพระทรงเครื่องก็มี.

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ