ตัวกรองผลการค้นหา
สารทุกข์สุกดิบ
หมายถึง(ปาก) น. ข่าวคราวความเป็นไปหรือความเป็นอยู่ เช่น ไม่พบกันมานาน เพื่อน ๆ ต่างก็ถามสารทุกข์สุกดิบซึ่งกันและกัน.
สุก
หมายถึงก. พ้นจากห่าม เช่น ผลไม้สุก, เปลี่ยนสภาพจากดิบด้วยกรรมวิธีต่าง ๆ อย่างต้ม ผัด ย่าง เป็นต้น เช่น ต้มไก่สุกแล้ว ย่างเนื้อให้สุก, ถึงระยะที่ได้ที่หรือแก่จัดแล้ว เช่น ข้าวในนาสุกเกี่ยวได้แล้ว ฝีสุกจนแตก ต้อสุกผ่าได้แล้ว, โดยปริยายหมายถึงอาการที่คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น ร้อนจนเนื้อตัวจะสุกแล้ว ถูกเขาต้มจนสุก, เรียกชายที่บวชเป็นพระภิกษุและสึกแล้วว่า คนสุก; ปลั่งเป็นมันแวววาว เช่น ทองเนื้อสุกดี.
สุก,สุก-,สุก-
หมายถึง[สุกกะ-] ว. ขาว, สว่าง, สะอาด, ดี, เช่น สุกธรรม. (ป. สุกฺก).
หมายถึงก. เดินจบพ้นกระดานไปแล้ว (ใช้แก่การเล่นดวด).
สุก ๆ ดิบ ๆ
หมายถึงว. ยังไม่สุกทั่วกัน เช่น หุงข้าวสุก ๆ ดิบ ๆ.
สุกดิบ
หมายถึงว. เรียกวันเตรียมงาน ซึ่งเป็นวันก่อนถึงกำหนดวันงานพิธี ๑ วันว่า วันสุกดิบ.
สุกปลั่ง
หมายถึงว. สุกใสเป็นมันแวววาว เช่น ทองสุกปลั่ง ขัดถาดทองเหลืองเสียสุกปลั่ง.
สุกรม
หมายถึง[สุกฺรม] น. ชื่อต้นไม้ขนาดใหญ่ ใบรี ผลเมื่อสุกสีแดง ใช้ทำยา. (พจน. ๒๔๙๓).
ข้าวสุก
หมายถึงน. ข้าวที่หุงสุกแล้ว, ข้าวสวย ก็เรียก.
น้ำสุก
หมายถึงน. นํ้าที่ต้มแล้ว.
บงสุกูลิก
หมายถึงน. ผู้ใช้ผ้าบังสุกุลเป็นวัตร, เป็นชื่อธุดงค์ประการหนึ่งของภิกษุผู้ใช้ผ้าเฉพาะที่เก็บได้จากกองฝุ่นกองหยากเยื่อมาทำเป็นเครื่องนุ่งห่ม คือ ไม่ใช้ผ้าที่ชาวบ้านถวาย. (ป. ปํสุกูลิก).
บังสุกูลิก
หมายถึง(แบบ) น. ผู้ใช้ผ้าบังสุกุลเป็นวัตร, เป็นชื่อธุดงค์ประการหนึ่งของภิกษุผู้ใช้ผ้าเฉพาะที่เก็บได้จากกองฝุ่นกองหยากเยื่อมาทำเครื่องนุ่งห่ม คือไม่ใช้ผ้าที่ชาวบ้านถวาย. (ป. ปํสุกูลิก).