ตัวกรองผลการค้นหา
แบ็บ
หมายถึงว. อาการที่นอนอยู่กับที่ ลุกไม่ไหว ในลักษณะที่หมดกำลังหรือเจ็บป่วยมีอาการเพียบเป็นต้น ในคำว่า นอนแบ็บ.
แซ่ว
หมายถึงว. อาการที่นอนนิ่งอยู่กับที่เคลื่อนไหวไปไหนไม่ได้ในลักษณะที่หมดกำลังหรือเจ็บป่วยเป็นต้น ในคำว่า นอนแซ่ว, แอ้วแซ่ว ก็ว่า.
ค่าทดแทน
หมายถึง(กฎ) น. เงินที่จ่ายให้แก่ลูกจ้างหรือผู้มีสิทธิ สำหรับการประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยหรือสูญหายของลูกจ้าง.
แอ้วแซ่ว
หมายถึงว. อาการที่นอนนิ่งอยู่กับที่เคลื่อนไหวไปไหนไม่ได้ในลักษณะที่หมดกำลังหรือเจ็บป่วยเป็นต้น ในคำว่า นอนแอ้วแซ่ว, แซ่ว ก็ว่า.
มหาดเล็กรายงาน
หมายถึง(โบ) น. มหาดเล็กซึ่งมีหน้าที่รายงานการสร้างวัดหรือคนเจ็บป่วยเป็นต้น; ชื่อตำแหน่งราชการชั้นฝึกหัดในหัวเมือง.
โต๊ะครึม
หมายถึง(ถิ่น-ปักษ์ใต้) น. การละเล่นบูชาครูหมอตายายเพื่อให้มาเข้าทรงเมื่อมีคนเจ็บไข้ได้ป่วย เพราะเชื่อว่าการป่วยนั้นเกิดจากตายายที่ล่วงลับไปแล้วมาทำโทษ.
ตุ๊กตาล้มลุก
หมายถึงน. ตุ๊กตาไม่มีขา ฐานโค้ง มีโลหะถ่วงอยู่ข้างในฐานเมื่อผลักให้ล้มแล้วจะกลับตั้งขึ้นมาได้เอง, โดยปริยายหมายถึงคนเจ็บไข้ที่ไม่ค่อยมีกำลังวังชา ประเดี๋ยวล้มนอน ประเดี๋ยวลุกนั่ง.
สิ้นกรรม,สิ้นกรรมสิ้นเวร,สิ้นเวร,สิ้นเวรสิ้นกรรม
หมายถึงก. สิ้นสุดในการที่ต้องรับทุกข์อีกต่อไป เช่น เมื่อเขามีชีวิตอยู่ มีภาระมากหรือเจ็บป่วยทรมาน ตายไปก็ถือว่าสิ้นเวรสิ้นกรรม, หมดกรรม หมดกรรมหมดเวร หมดเวร หรือ หมดเวรหมดกรรม ก็ว่า; (ปาก) ตาย.
ผอก
หมายถึงน. การกินข้าว; ข้าวที่กิน; ภาชนะที่อาจสวมหรือใส่สิ่งอื่นได้, ปลอก; ปลาหรือกุ้งประสมตำกับเกลือ. (ถิ่น-อีสาน) ก. ใช้ข้าวสุกเป็นเครื่องมือในการเชื้อเชิญผีออกจากคนที่กำลังเจ็บป่วยเพื่อให้หาย.
เสียกบาล
หมายถึงน. กรรมวิธีเซ่นผีโดยเอาเครื่องเซ่นพร้อมตุ๊กตาดินปั้นเป็นต้นใส่กระบะกาบกล้วยไปทิ้งที่ทางสามแพร่งหรือลอยน้ำ เพื่อมิให้ผีร้ายมานำตัวเด็กที่เจ็บป่วยไป, เรียกตุ๊กตาที่ใช้ในการนี้ว่า ตุ๊กตาเสียกบาล.
หัวแข็ง
หมายถึงว. แข็งแรงทนทานไม่ใคร่เจ็บไข้ (มักใช้แก่เด็ก) เช่น เด็กคนนี้หัวแข็ง ตากฝนเป็นชั่วโมงก็ไม่เป็นอะไรเลย; กระด้าง, ว่ายาก, เช่น เขาเป็นคนหัวแข็ง ผู้ใหญ่พูดเท่าไรก็ไม่ยอมเชื่อฟัง, ตรงข้ามกับ หัวอ่อน. ก. ไม่ยอมอ่อนตาม เช่น เขาหัวแข็งจริง ๆ ชี้แจงเท่าไรก็ไม่ยอมเปลี่ยนความคิด.
ติดเชื้อ
หมายถึงก. รับเชื้อโรคเข้าสู่ร่างกาย และเชื้อนั้นเจริญในร่างกาย มักแสดงอาการเจ็บป่วย เช่น เขาติดเชื้อมาจากผู้อื่น; (ปาก) รับเอานิสัยหรือพฤติกรรมบางอย่างของคนที่อยู่รอบข้างเป็นต้นมาใช้หรือเป็นแบบอย่าง เช่น เขาติดเชื้อพูดคำหยาบมาจากเพื่อน. ว. ลักษณะของโรคที่รับเชื้อมาจากผู้อื่นหรือสิ่งอื่น, เรียกโรคที่มีลักษณะเช่นนั้นว่า โรคติดเชื้อ.